เข้าใจระบบ Oracle ให้มากขึ้น ทำไม NFT Game ถึงเลือกใช้

เข้าใจระบบ Oracle ให้มากขึ้น ทำไม NFT Game ถึงเลือกใช้

By Krungsri Plearn Plearn
ถ้าพูดถึง NFT นอกเหนือรูปแบบในผลงานศิลปะแล้ว ตอนนี้กระแสของ NFT Game ยังมาแรงมาก ๆ บางคนสามารถหารายได้จากเกมเหล่านี้ได้เยอะมากต่อเดือน หลายคนอาจได้ยินชื่อเกมดัง ๆ ที่ถูกพูดถึงในโซเชียลมีเดียอย่าง CryptoMines เกมรูปแบบ Click to earn ที่ให้เราสร้างกองยานเพื่อออกเดินทางไปตีดาวต่าง ๆ เพื่อเก็บแร่ และสำหรับการสร้างกองยานเราจำเป็นต้องใช้เหรียญในเกมที่ชื่อว่า $Eternal เพื่อไปสุ่ม NFT ซึ่งนั่นจะเป็นไอเทมที่จะช่วยให้เราเล่นเกมได้นั่นเอง นี่ก็เป็นคอนเซ็ปต์คร่าว ๆ สำหรับ NFT Game แล้วหลายคนคงสงสัยแล้วว่า เหรียญภายในเกมมันจะมีราคาเกิดขึ้นมาได้อย่างไร จุดนี้แหละที่นักพัฒนา NFT Game ได้หยิบนำระบบ Oracle มาผูกเข้ากับระบบต่าง ๆ ภายในเกมโดยจะให้ราคาของเหรียญเกมอ้างอิงกับราคาค่าเงินดอลลาร์ตอนนั้นจริง ๆ แล้วระบบ Oracle มันคืออะไร? แล้วทำไม NFT Game ถึงมีการเลือกใช้ เรามาหาคำตอบกันได้เลย
รู้จักระบบ Oracle ให้มากขึ้น

รู้จักระบบ Oracle ให้มากขึ้น

สำหรับ Oracle คือ บริการที่ช่วยให้เราเชื่อมต่อ Smart Contact ที่อยู่ภายใต้เครือข่าย Blockchain เข้ากับข้อมูลจริง ๆ ที่อยู่ในโลกภายนอก และนำข้อมูลข้างนอกแลกเปลี่ยนกลับเข้ามาใน Blockchain ได้ง่ายขึ้น อธิบายง่าย ๆ คือ Oracle คือ สะพานที่เชื่อมข้อมูลนั่นเอง เพราะปกติ Blockchain และ Smart Contact ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลของโลกภายนอกได้โดยตรง ระบบ Oracle เลยเข้ามาแก้ปัญหาในจุดนี้ นอกจากนี้ระบบ Oracle ยังสามารถทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องได้
  • ตัวอย่าง นาย ก และ นาย ข ทายกันว่าใครจะชนะในรายการแข่งขันกีฬา หากมีผู้ที่ทายถูกต้องจะได้รับเงินรางวัลไป หากทั้งสองทำสัญญา และกำหนดจำนวนวงเงินไว้อย่างถูกต้องลงใน Smart Contact เมื่อรายการแข่งขันกีฬาจบเรียบร้อย ระบบ Oracle จะทำการดึงข้อมูลภายนอกเพื่อหาว่าใครกันที่เป็นผู้ชนะจากการแข่งขันกีฬาที่ผ่านมา และส่งข้อมูลนั้นไปที่ Smart Contact หลังจากนั้นระบบจะโอนเงินไปให้ผู้ที่ทายผลกีฬาถูก ซึ่งจะทำแบบนี้ไม่ได้เลยหากไม่มีระบบ Oracle มาเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานบน Smart Contact

เข้าใจ Oracle ใน NFT Game คืออะไร?

ด้วยระบบ Oracle ที่มันสามารถทำได้หลายอย่างเลยถูกนำไปใช้กับหลายธุรกิจ รวมถึงวงการ NFT Game ที่มีเกมเกิดขึ้นเหมือนดอกเห็ด เช่น Starship, Elvantis หรือ Moo monster เป็นต้น ซึ่งนำระบบ Oracle บางส่วนมาใช้ในการสร้างสมดุลราคาภายใน NFT Game อย่างเช่น
  • การ Mint หรือการสร้างข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นเหรียญ หรือผลงาน NFT หากราคาโทเคนเพิ่มขึ้น เหรียญที่ใช้ในการ Mint จะน้อยลง และถ้าราคาของโทเคนลดลง เราจะต้องเสียเหรียญในการ Mint มากขึ้น และตัวระบบ Oracle ก็มีการแจกรางวัลในเกมที่เราสามารถนำไปสร้างรายได้ ใช้การปรับสมดุลราคาแบบเดียวกันกับ Mint โทเคนนั่นเอง
เข้าใจ Oracle ใน NFT Game คืออะไร?
ลองคิดดี ๆ หากทุกเกมนำระบบ Oracle มาใช้มันก็ดีไม่ใช่หรอ แต่ระบบ Oracle มันก็มีข้อเสียที่หลายคนมองว่าอาจเป็นจุดด้อยใหญ่ ๆ เลย ยกตัวอย่าง
มี NFT Game เปิดใหม่ชื่อเกม K เปิดซื้อขายเหรียญ Kcoin = 3 ดอลลาร์ แล้วคุณมีเงินลงทุนในเกมนี้ที่ 100 ดอลลาร์ เราก็สามารถซื้อเหรียญ Kcoin ได้ถึง 100 เหรียญ เพราะมูลค่าของไอเทมใน NFT Game ออกแบบมาให้ตรึงราคาคงที่ 3 ดอลลาร์ต่อเหรียญ Kcoin 1 เหรียญ เราจะซื้อไอเทมในเกมได้มากถึง 100 ชิ้น เงินก็จะไปอยู่ในที่เดียวคือ Liquidity pool มีคนฝากเพิ่มเงินในกองก็เพิ่มขึ้น แต่ถ้ามีการขายเหรียญมันก็จะดึงเงินในกองนี้แหละไปจ่าย
หากเกมที่เราลงทุนเกิดดังขึ้นมา มีคนสนใจลงทุนเป็นจำนวนมาก อาจทำให้ 1 Kcoin มีมูลค่า = 6 ดอลลาร์ จากเดิมที่เราซื้อไอเทมได้เพียง 100 ชิ้น ตอนนี้เราสามารถซื้อได้มากขึ้นเป็น 200 ชิ้นโดยทันทีทำให้ราคาต้นทุนไอเทมเหลือเพียงแค่ 0.5 Kcoin ต่อชิ้นเท่านั้นเอง แต่ราคาไอเทมจะไม่เปลี่ยนแปลงราคาคงเดิมด้วยระบบของ Oracle
เจอแบบนี้หลายคนต้องยิ้มแน่นอนเพราะเราซื้อเหรียญไปวันแรกในราคาถูกมาก และยังซื้อไอเทมได้เพิ่มขึ้น แถมรับรางวัลในเกมตอบแทนวันละ 1 ดอลลาร์ ต่อไอเทม 1 ชิ้น แบบนี้เท่ากับว่าเราจะได้เงินเยอะขึ้นจากเหรียญ Kcoin ที่เราไปซื้อไอเทมได้มากขึ้นในราคาเท่าเดิมจากระบบของ Oracle
หากวันไหนราคาของเหรียญ 1 Kcoin = 6 ดอลลาร์ เราจะได้รับเงินรางวัลต่อชิ้นอยู่ประมาณ 0.15 Kcoin และถ้าวันต่อมามูลค่าของเหรียญตกลงไปที่ Kcoin = 3 ดอลลาร์ ที่ราคาเดิมหมายความว่าเราจะได้เงินรางวัลมากขึ้นอยู่ที่ 0.30 ต่อวันเลยทีเดียว
แต่ข้อเสียของระบบ Oracle จะเกิดขึ้นทันทีหากวันไหนเกมมีผู้ลงทุนที่มีเหรียญในครอบครองเยอะ ๆ เข้ามาปั่นมูลค่าเหรียญให้สูงเวอร์ ๆ สมมุติที่ 1 Kcoin = 100 ดอลลาร์ พอเห็นราคาสูงขึ้น นักลงทุนจะทำการเทขายเหรียญ เพื่อทุบราคา Kcoin และยิ่งมีการเทขายกันมาก เหล่านักลงทุนจะเกิดการกลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับ NFT Game ที่เราลงทุนหรือไม่ ยิ่งคนกลัว จะเกิดแรงขายที่มากขึ้น ทำให้ราคาเหรียญ Kcoin จาก 100 ดอลลาร์อาจลดลงอย่างมาก พอราคาเหรียญลดลงอย่างรวดเร็ว ระบบ Oracle จะแจกเหรียญให้กับผู้เล่นเพิ่มขึ้น เหมือนกับการที่รัฐบาลพิมพ์เงินอัดเข้าไปในระบบอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดสภาวะเงินเฟ้ออย่างรุนแรง
ในกรณีเหรียญ Kcoin ฟื้นตัวกลับมีราคาสูงขึ้นเพิ่มขึ้น เหล่าผู้เล่นที่ได้รับเหรียญปริมาณเยอะ ๆ ในครั้งก่อนจะยิ่งเทขายมากกว่าเดิม จนทำให้เงินใน Pool หมดลงจนไม่มีเงินแจกเราเพื่อเป็นรางวัลกลับมา ผลร้ายอาจแย่จนส่งผลให้ NFT Game นั้นต้องปิดตัวลงไป ซึ่งเราจะเห็นข่าวในโซเชียลมีเดียกันบ่อย ๆ กับคำว่า เกมแตกแล้ว
เข้าใจระบบ Oracle ให้มากขึ้น ทำไม NFT Game ถึงเลือกใช้
เห็นได้ว่าระบบ Oracle นั้นมีทั้งข้อดี คือ ระบบจะตรึงราคาของไอเทม และรางวัลที่เราจะได้ต่อวันให้มีมูลค่าเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้ผู้เล่นใหม่ที่อยากเข้ามาสัมผัสสามารถเข้ามาได้เลยทุกช่วงเวลา และไม่ต้องกลัวว่าเงินรางวัลจะน้อยลง หากเกมเปิดไประยะเวลานานแล้ว แต่ข้อเสีย คือ ตัวระบบที่มีการแจกเหรียญให้ผู้เล่นในกรณีมูลค่าของเหรียญลดลง บางคนอาจใช้จุดนี้ในช่วงที่ราคาเหรียญลดลง เพื่อปั๊มเหรียญแล้วเทขายทำกำไร
หากใครที่อยากลงทุนใน NFT Game อาจต้องศึกษาตัวเกมให้ถี่ถ้วนว่าเกมที่เราจะลงทุนมีระบบการทำงานอย่างไร และอีกคำแนะนำคือเราไม่ควรกู้เงิน หรือนำเงินเก็บทั้งหมดมาลงทุนใน NFT Game แบบทั้งหมดในก้อนเดียว เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินได้เหมือนกัน ขอให้เล่นเกมกันเพื่อความสนุก มีสติ ไม่อย่างนั้นเราก็ไม่ต่างจากแมลงเม่าที่บินเข้ากองไฟ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow