แจ้งความประสงค์ขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามกฎหมายว่าด้วยภาษีอากร


ข้อควรรู้เกี่ยวกับการหักลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย

ตามประมวลรัษฎากร กำหนดให้การหักลดหย่อนภาษีดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยได้ตามที่จ่ายไปจริง เป็นจำนวนเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท โดยมีเงื่อนไขหลักๆ ดังต่อไปนี้
  • ต้องเป็นการกู้ยืมจากสถาบันการเงินที่ประกอบกิจการภายในราชอาณาจักรไทยเท่านั้น
  • เป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมตามสัญญากู้ยืมเงินเพื่อซื้อ อาคาร อาคารพร้อมที่ดิน หรือห้องชุดในอาคารชุด หรือเพื่อสร้างอาคารใช้อยู่อาศัยบนที่ดินของตนเองหรือบนที่ดินที่ตนเองมีสิทธิครอบครอง
  • ทรัพย์สินที่กู้ต้องใช้เป็นหลักประกันในการกู้ (จำนอง)
  • หากมีการกู้สำหรับที่อยู่อาศัยมากกว่า 1 แห่ง สามารถใช้ลดหย่อนได้ทุกแห่งแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
  • กรณีที่เป็นการกู้ร่วมกันหลายคน ให้แบ่งดอกเบี้ยคนละเท่าๆ กันแต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
 

ทำไมต้องแจ้งความประสงค์ให้ธนาคารนำส่งและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินกู้ยืมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยต่อกรมสรรพากร

สำหรับการกู้ยืมเงินที่ได้เริ่มทำสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป ผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อธนาคาร เพื่อให้ธนาคารนำส่งและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องตามสัญญากู้ยืมเงินต่อกรมสรรพากร เพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิขอหักลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมสรรพากรกำหนด

สามารถศึกษาจากประกาศกรมสรรพากรได้ที่ link1 link2 เพื่อสิทธิประโยชน์ของท่านในการใช้สิทธิขอหักลดหย่อนภาษีตามประกาศกรมสรรพากร ท่านจะต้องแจ้งความประสงค์แก่ธนาคารในการนำส่งและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับ ดอกเบี้ยเงินกู้ยืม และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องตามสัญญากู้ยืมเงินต่อกรมสรรพากร ทั้งนี้ การแจ้งความประสงค์ดังกล่าวจะเริ่มมีผลตั้งแต่ปีภาษี 2564 เป็นต้นไป จนกว่าท่าน จะได้แจ้งเพิกถอนความยินยอมมายังธนาคารผ่านช่องทาง และเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด
False
คำถามที่พบบ่อย
คำถามเกี่ยวกับการแจ้งความประสงค์การให้สิทธิ การหักลดหย่อน/การยกเว้นภาษี สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ยืม
ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 396 ฉบับที่ 397 และฉบับที่ 398
 
ธนาคารยังคงออก ล.ย. 02 ให้ลูกค้าเพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีได้ โดยลูกค้าสามารถดาวน์โหลดได้ด้วยตนเองตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2565 เป็นต้นไป ที่ คลิก ทั้งนี้ สัญญากู้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป การที่ผู้เสียภาษีจะใช้สิทธิลดหย่อนได้นั้น จะต้องแจ้งความประสงค์แก่ธนาคารเพื่อให้นำส่งข้อมูลแก่กรมสรรพากร ดังนั้นกรณีผู้กู้ที่ไม่ลงนามแจ้งความประสงค์ หรือเคยให้แต่ขอเพิกถอนภายหลังนั้น หลักฐานที่เป็น ล.ย. 02 จะไม่สามารถนำมาใช้หลักฐานประกอบการใช้สิทธิลดหย่อนได้อีก
ไม่จำเป็น โดยการขอลดหย่อนภาษี สามารถทำได้ 2 กรณี คือ
1. มีเงินได้มาแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ต่อธนาคาร เพื่อให้ธนาคารนำส่งข้อมูลต่อกรมสรรพากรตามขั้นตอนเดียวกันกับลูกค้าที่ทำสัญญาตั้งแต่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
2. ผู้มีเงินได้ใช้หลักฐานหนังสือรับรองดอกเบี้ยเงินกู้ยืม (ล.ย. 02) จากธนาคาร ตามเดิม
 
สัญญากู้ที่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป
1. กรณีเป็นการกู้ร่วม เช่น มีผู้กู้ร่วม 2 ราย ได้แก่ นาย A และ B โดยนาย A แจ้งความประสงค์แก่ธนาคารในการนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร แต่นาย B ไม่แจ้งความประสงค์นั้น ธนาคารจะสามารถส่งข้อมูลรายละเอียดของผู้กู้ร่วมเฉพาะนาย A ซึ่งแจ้งความประสงค์แก่ธนาคาร ดังนั้น นาย B จะไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนกับกรมสรรพากรได้
2. กรณีผู้กู้ไม่แจ้งความประสงค์แก่ธนาคารนั้นสามารถทำได้ หากผู้กู้ไม่ประสงค์ใช้สิทธิลดหย่อน โดยธนาคารจะนำส่งข้อมูลเฉพาะรายผู้กู้ที่แจ้งความประสงค์แก่ธนาคาร

สัญญากู้ที่เกิดก่อนวันที่ 1 มกราคม 2564 ผู้กู้ร่วมที่ไม่แจ้งความประสงค์ ยังสามารถใช้ ล.ย.02 เป็นหลักฐานในการใช้สิทธิลดหย่อนได้ตามปกติ
ทั้งนี้สิทธิลดหย่อนของผู้กู้หลักและผู้กู้ร่วมรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท โดยต้องแบ่งสัดส่วนสิทธิลดหย่อนของผู้กู้ทุกท่านให้เท่ากัน
การแจ้งความประสงค์ 1 ครั้ง ธนาคารจะให้ระบุ 1 หมายเลขบัญชีเงินกู้ ดังนั้นกรณีลูกค้ามีหลายสัญญากู้จำเป็นจะต้องแจ้งความประสงค์ทุกสัญญากู้ที่ได้เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นต้นไป หรือกรณีเคยแจ้งความประสงค์ครั้งหนึ่ง แล้วภายหลังกู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยเพิ่มอีก ก็จำเป็นจะต้องมาแจ้งความประสงค์สำหรับสัญญาเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น จึงจะสามารถสามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ทุกสัญญาเงินกู้ ทั้งนี้รวมกันแล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาท
 
หากลูกค้าต้องการเพิกถอนการแจ้งความประสงค์ สามารถดำเนินการได้ด้วยตนเองโดย คลิกที่นี่
กู้สามารถใช้สิทธิลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยที่จ่ายในปี 2564 หากได้แจ้งความประสงค์ต่อธนาคาร เพื่อให้ธนาคารนำส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร โดยกรมสรรพากรไม่ได้มีกำหนดเวลาว่าผู้กู้ต้องแจ้งความประสงค์ต่อธนาคารภายในเมื่อใด หากแต่ผู้กู้จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนสำหรับดอกเบี้ยที่จ่ายในปี 2564 ได้ก็ต่อเมื่อกรมสรรพากรได้รับข้อมูลจากธนาคาร
ลูกค้าสามารถยื่นเรื่องต่อกรมสรรพากรได้หลังวันที่ 7 มกราคม 2565 เป็นต้นไป
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา