ก่อนตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง
รอบรู้เรื่องบ้าน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

ก่อนตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง

icon-access-time Posted On 25 กรกฎาคม 2565
by Krungsri The COACH
“กู้ร่วม” หนึ่งในอีกทางเลือกสำหรับคนที่อยากขอสินเชื่อบ้าน แต่อยากมีคู่หูในการกู้ ซึ่งสำหรับใครที่ยังไม่รู้จักว่ากู้ร่วมคืออะไร? หรือใครที่ยังคงสงสัยก่อนเราจะตัดสินใจกู้ร่วมเราต้องรู้อะไรบ้าง? บทความนี้มีคำตอบ
 

ก่อนอื่นเลยเรามาทำความรู้จักความหมายของกู้ร่วมกันก่อน

กู้ร่วม คือ การที่เรามีคนร่วมกู้ร่วมสินเชื่อเพื่อซื้อบ้าน หรือสินเชื่อกู้เงิน โดยจำเป็นจะต้องร่วมกันตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 3 คน ภายใต้สัญญาข้อตกลงการกู้ในฉบับเดียวกัน โดยเฉพาะอาชีพอิสระอย่างฟรีแลนซ์จะนิยมการกู้ร่วม เพราะการกู้ร่วมจะช่วยให้การอนุมัติง่ายและวงเงินเพิ่มขึ้นอีกด้วย
 
ก่อนตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง
 

กู้ร่วมกับใครได้บ้าง?


ส่วนใหญ่ที่เราคุ้นเคยกัน ก็จะต้องเป็นคนในครอบครัวที่มีนามสกุลเดียวกัน อย่างเช่น พ่อแม่พี่น้องหรือคู่รักสามีภรรยาที่แต่งงานกันแล้ว แต่หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่รู้ว่า ในตอนนี้ถ้าใช้นามสกุลคนละนามสกุลก็สามารถกู้ร่วมได้ ซึ่งเราจะเห็นได้บ่อยขึ้นกับกลุ่มที่เป็นญาติพี่น้อง คู่รัก โดยในกลุ่มคู่รัก LGBTQ+ ก็สามารถกู้ร่วมกันได้แล้วนะ

สำหรับ LGBTQ+ ที่กำลังมองหาสินเชื่อบ้าน เราอยากแนะนำ ให้คลิกเพื่อดูรายละเอียดกับ สินเชื่อบ้านจากธนาคารกรุงศรี สำหรับ “คู่เพื่อน” ที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน

อย่างไรก็ตามการกู้ร่วมนั้นก็สามารถเพิ่มโอกาสกู้ผ่านหรือได้วงเงินกู้เพิ่มขึ้นโดยการกู้ร่วมซื้อบ้านจะทำให้เรามีภาระหนี้สินคนละครึ่ง หรือมีสัดส่วนที่เท่า ๆ กัน แต่หากว่าหนึ่งในผู้กู้ของเราไม่ชำระเงินที่กู้ร่วมซื้อบ้านได้ตามกำหนด เร และผู้กู้คนอื่นในสัญญาจะต้องรับผิดชอบหนี้แทน ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นจริง ๆ เราสามารถเลือกที่จะครอบครองบ้านเอาไว้แต่เพียงผู้เดียว หรือแบ่งสัดส่วนออกเป็นตามที่ตกลงกันในผู้กู้ร่วมได้นั่นเอง
 
ก่อนตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง
 

อ่านมาถึงตรงนี้หลาย ๆ คนคงคิดว่าการกู้ร่วมก็มีทั้งสองมิติให้เรามอง เพราะฉะนั้น เรามารู้ข้อดี ข้อควรระวังกันไว้ก่อนตัดสินใจกู้ร่วม

 
ข้อดีของการกู้ร่วม ข้อควรระวังของการกู้ร่วม
  • ขออนุมัติสินเชื่อกู้ซื้อบ้านได้ง่ายมากขึ้น หากเรามีสุขภาพการเงินที่ดี การกู้ร่วมก็จะช่วยทำให้มีความน่าเชื่อถือ และอนุมัติผ่านได้ง่ายมากขึ้นด้วย
  • อาจเกิดการผิดใจกันระหว่างสัญญาได้ เช่น เกิดการเลิกรากันระหว่างคู่รัก ซึ่งหากไม่อยากรับผิดชอบร่วมกันต่อ จะทำให้ภาระทั้งหมดตกเป็นของอีกฝ่ายได้ และเมื่อเกิดกรณีแบบนี้เราอาจจำเป็นต้องถอนการกู้ร่วม ยิ่งหากตกลงกันไม่ได้ก็จำเป็นต้องขายบ้านทิ้งในที่สุด
  • ได้วงเงินที่สูงขึ้น เราจะได้วงเงินที่สูงขึ้น หรือคิดง่าย ๆ หากเราอยากได้บ้านที่ราคาหลังละ 5,000,000 บาท แต่ถ้าหากฐานเงินเดือนของเรายังไม่สูงพอตามที่ธนาคารกำหนด ซึ่งการที่ธนาคารจะอนุมัติวงเงินให้ง่ายขึ้นนั้นก็ต้องอาศัยการกู้ร่วมซื้อบ้าน
  • สิทธิการลดหย่อนภาษีจะถูกหารเฉลี่ย ซึ่งปกติเราจะสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท แต่ถ้าเรากู้ร่วมเกิน 2 คน ค่าลดหย่อนก็จะถูกหารไปด้วย ตัวอย่างเช่น ค่าลดหย่อน 100,000 บาท เราจะต้องนำมาหารครึ่ง จึงเหลือเพียงคนละ 50,000 บาท เท่านั้น
  • ไม่ต้องแบกภาระหนี้คนเดียว เพราะการกู้ร่วมเท่ากับว่าเรามีคนช่วยผ่อนชำระหนี้ โดยส่วนใหญ่แล้วการกู้ปกติจะสามารถทำให้เราผ่อนได้นานสุดเพียง 30 ปี เท่านั้น แต่หากเราตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้านแล้ว ระยะเวลาในการผ่อนกับจำนวนเงินผ่อนชำระ ก็จะยืดหยุ่นในการใช้จ่ายของเราไปด้วย
  • มีผลต่อการขายหรือโอนได้ ด้วยเป็นการกู้ร่วมซื้อบ้านกัน หากมีใครสักคนต้องการขายหรือโอน จะต้องได้รับความยินยอมจากอีกคนด้วย ยิ่งในเงื่อนไขนี้ หากผู้กู้ร่วมเกิดผิดใจ ก็จะไม่สามารถทำได้ หากผู้ร่วมกู้อีกฝ่ายไม่ให้ความยินยอม
และอีกหนึ่งเรื่องราวของการกู้ร่วมที่ทุกท่านรู้ไว้ไม่เสียหาย หากเกิดเหตุการณ์ผิดใจกับคู่กู้ร่วม หรือด้วยสาเหตุอื่น ๆ ที่ไม่สามารถกู้ร่วมกันต่อไปอีกได้ เราควรแก้ปัญหาเหล่านั้นอย่างไร?
 
ก่อนตัดสินใจกู้ร่วมซื้อบ้าน ต้องรู้อะไรบ้าง
 

ดังนั้นเราจะแบ่งออกเป็น “3 วิธีแก้ปัญหาเมื่อถึงเวลาเลิกรากู้ร่วม”

 

1. ถอนชื่อสัญญาผู้กู้ร่วม

เมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านั้นขึ้นมาจริง ๆ สิ่งที่เราควรทำคือรีบติดต่อธนาคาร และทำการตกลงกับคู่กู้ร่วมของเราให้ชัดเจนว่าใครจะเป็นคนถือสินเชื่อต่อไป พร้อมทั้งนี้เราจะต้องแจ้งความประสงค์ขอถอนชื่อกู้ร่วมออกด้วยกัน หลังจากนั้นธนาคารจะประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของผู้กู้ที่รับช่วงต่อว่าสามารถผ่อนชำระได้หรือไม่นั่นเอง และในส่วนของกรณีสามีภรรยาที่จดทะเบียนสมรส จำเป็นจะต้องนำใบหย่ามาแสดงต่อธนาคารเพื่อประกอบการเปลี่ยนสินเชื่อด้วย
 

2. รีไฟแนนซ์จากกู้ร่วมเป็นกู้เดี่ยว

หากว่าเราทำขั้นตอนที่ 1 ไม่สำเร็จ ธนาคารไม่ยอมอนุมัติให้เราถอนชื่อกู้ร่วม หรือการประเมินความสามารถในการผ่อนชำระของเราไม่ผ่าน เราอาจจะต้องแก้ปัญหาด้วยการรีไฟแนนซ์กับธนาคารอื่นเพื่อพิจารณาการกู้เดี่ยวนั่นเอง และขั้นตอนการประเมินการรีไฟแนนซ์เราโดยส่วนใหญ่แล้วจะถูกพิจารณาจาก
  • รายได้ของผู้กู้
  • ยอดดาวน์เราที่กู้ซื้อบ้าน
  • เช็กหนี้สินที่เราต้องชำระต่อเดือน
  • ประวัติเครดิตบูโร หรือแบล็กลิสต์
 

3. ทางออกสุดท้ายขายบ้าน

นี่เป็นทางออกสุดท้ายสำหรับใครที่ไม่ผ่านทั้ง 2 ขั้นตอนแรก หรือนี่อาจจะเป็นทางออกแรกของใครที่ต้องการอยากจะขายบ้านทันทีเมื่อทั้งคู่แยกทางจากคู่กู้ร่วม ดังนั้นเราจะต้องพูดคุยตกลงกับคู่กู้ร่วมเราให้ดีถึงการขาย เพราะโดยส่วนใหญ่หากเราต้องการขายบ้านจะมีค่าใช้จ่ายในการโอน หรือค่าตรวจบ้าน ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ในส่วนนี้เราอาจจะต้องตกลงกันให้ดีเพื่อหาตรงกลางที่ไม่ทำให้ทั้งฝ่ายรู้สึกเสียเปรียบ

ถึงแม้ว่าปัญหาเหล่านี้ไม่มีใครอยากให้เกิด เพราะเราไม่สามารถรู้อนาคตข้างหน้าว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่การที่เรารู้วิธีแก้ไขไว้ก็จะช่วยเราไปได้อีกเยอะ และนี่ก็เป็นเรื่องราวกู้ร่วมที่เราควรรู้ เพื่อไม่ให้พลาดทุกการตัดสินใจ สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้หลังจากนี้เพราะถึงแม้ว่าการกู้ร่วมจะเปรียบเสมือนมีคู่หูที่เป็นเจ้าของบ้านหลังเดียวกัน เราก็ต้องเรียนรู้ที่จะรักษากันและกันไว้ พูดคุยปรับความเข้าใจกันบ่อย ๆ และบ้านหลังนี้ก็จะอยู่เป็นคู่เจ้าของเดิมตลอดไปนั่นเอง..
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา