รายจ่ายเยอะ เอาเงินสำรองมาใช้ดีไหมนะ?
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

รายจ่ายเยอะ เอาเงินสำรองมาใช้ดีไหมนะ?

icon-access-time Posted On 04 มีนาคม 2566
by Krungsri The COACH
รายจ่ายเยอะมากเลยถ้าไปยืมเงินสำรองมาใช้จะเป็นอะไรไหมนะ?

ตอบตรงนี้เลยว่าการนำเงินสำรองฉุกเฉินมาใช้ไม่ใช่เรื่องที่ผิดเลย เพราะเงินฉุกเฉินก็คือเงินที่เรานำมาใช้ในตอนที่เราตกอยู่ในสภาวะฉุกเฉิน หรือหมุนเงินไม่ทันจริง ๆ กลับกันเราควรภูมิใจซะด้วยซ้ำที่เรายังมีเงินฉุกเฉินมาเป็นทุนสำรองในยามที่เราตกที่นั่งลำบาก แต่การนำเงินฉุกเฉิน หรือเงินอนาคต มาใช้เนี่ยตอนไหนถึงจะเกิดประโยชน์มากที่สุด และใช้แล้วต้องคืนไหม เราไปอ่านพร้อม ๆ กันเลย
 
เงินฉุกเฉินเอามาใช้ตอนไหนนะ?

เงินฉุกเฉินเอามาใช้ตอนไหนนะ?

เข้าใจนะว่าเรื่องฉุกเฉินของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่มันจะมีขอบเขตของเรื่องฉุกเฉินอยู่นะ อย่างเช่นเกิดอุบัติเหตุ ต้องรักษาตัว จ่ายค่าเทอมลูกไม่ทัน ฯลฯ ในทางกลับกันถ้าเรื่องฉุกเฉินของเราเป็นการต้องรีบซื้อกระเป๋าคอลเลคชั่นใหม่ก่อนจะ Sold Out หรือต้องไปเที่ยวที่นี่แล้วแหละคนไปเยอะกลัวตกเทรนด์ ถ้าเรื่องฉุกเฉินของเราเข้าข่ายแบบนี้ก็ไม่ถือว่าเป็นเรื่องฉุกเฉินนะ

มาดูกันว่าสถานการณ์ไหนที่นำเงินฉุกเฉินมาใช้แล้วเกิดประโยชน์ที่สุด

1. เกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน

แน่นอนว่าการเกิดอุบัติเหตุเป็นเรื่องที่เราคาดเดาอะไรไม่ได้เลยจริง ๆ อีกทั้งเมื่อเกิดอุบัติเหตุแบบนี้แล้วนั้นค่าใช้จ่ายที่จะตามมาก็ไม่ใช่น้อย ๆ เลย ไหนจะเป็นค่าประกันรถ ค่ารักษาพยาบาล หรือถ้าเราไปชนเขาก็อาจจะมีค่าทำขวัญเข้ามาอีก ในกรณีแบบนี้แหละที่จะทำให้เราต้องจ่ายเงินเป็นก้อนใหญ่ แต่ถ้าเราวางแผนการใช้ชีวิตดี ๆ มีการทำประกันรถยนต์เอาไว้บ้างก็จะไม่ต้องเสียเงินเยอะในรอบเดียว
เงินฉุกเฉินในช่วงว่างงาน

2. ช่วงว่างงาน

เงินฉุกเฉินตรงนี้ล่ะจะเข้ามาช่วยให้เราพอที่จะมีสภาพคล่องอยู่บ้างในตอนที่เรายังว่างงานอยู่ หรืออยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านของชีวิต และยิ่งบวกกับเศรษฐกิจช่วงนี้อีกด้วยการหางานในยุคสมัยนี้ก็ไม่ได้ว่าจะหาได้ข้ามคืน เพราะฉะนั้นการที่เราพอที่จะมีเงินเก็บฉุกเฉินอยู่บ้าง และควักออกมาใช้ก่อนก็ไม่ได้ผิดอะไร อีกทั้งยังสมเหตุสมผลกับเรื่องที่นำเงินมาใช้ด้วย

3. หมุนเงินไม่ทัน

ในช่วงที่ลูก ๆ ใกล้จะเปิดเทอมพ่อแม่อย่างเราก็คิดไม่ตกเลยทีเดียว เพราะไหนจะค่าเทอม ค่าอุปกรณ์การเรียนต่าง ๆ มากมาย อีกทั้งยังเจอเศรษฐกิจเงินเฟ้อ ผู้ปกครองนี่ล่ะได้รับผลกระทบแบบเต็ม ๆ เลย และก็อาจจะมีจังหวะที่อาจจะหมุนเงินไม่ทัน เงินไม่พอจ่ายค่าเทอมลูกอีก ถึงเวลาที่จะต้องควักกระเป๋ายืมเงินส่วนเงินฉุกเฉินมาใช้บ้าง แต่ค่าเทอมลูกก็ต้องจ่ายเป็นก้อนอีก ผู้ปกครองจะต้องมีเงินสำรองฉุกเฉินไว้ประมาณหนึ่งเลยล่ะ ไม่เช่นนั้นก็จะขาดสภาพคล่องไปได้

และถ้าใครกำลังมองหาสินเชื่อเงินด่วน เงินฉุกเฉิน กู้เงินออนไลน์ดี ๆ แนะนำนี่เลย สินเชื่อ Krungsri iFIN กู้ง่ายผ่านแอปฯ KMA มีบัญชีธนาคารไหนก็ยื่นกู้ได้
 
เงินฉุกเฉินใช้แล้วอย่าลืมคืน

เงินฉุกเฉินใช้แล้วอย่าลืมคืน

ในการยืมเงินสำรองฉุกเฉินมาใช้ในแต่ละครั้งเราจะต้องคำนึงไว้ในใจอยู่เสมอว่า “ยืมแล้วต้องคืน” เราต้องสร้างนิสัยส่วนนี้ขึ้นมา และทำให้เกิดเป็นความเคยชินจนสุดท้ายแล้วมันจะกลายเป็นระบบของมันเอง เมื่อใดก็ตามที่เรานำเงินออกมาใช้บางคนอาจจะชะล่าใจไปก่อนว่าเดี๋ยวค่อยคืน คำว่าเดี๋ยวนี้ล่ะทำให้เรากลุ้มใจมาหลายหนแล้ว เพราะอย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่าเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ที่จะเข้ามาในชีวิตเรานั้นมันเป็นเรื่องที่ฉุกเฉิน และเราไม่ทันตั้งตัวหรอก เพราะฉะนั้นยืมเท่าไหร่ก็ต้องคืนเท่านั้น หรือมากกว่า ไม่เช่นนั้นถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นอีก เราเองจะลำบากต้องไปหากู้หนี้ยืมสินนอกระบบกลายเป็นเรื่องใหญ่โตตามมาอีก

ตัวอย่างเช่น ยืมเงินฉุกเฉินมาใช้ก่อน 30,000 บาท พอเราผ่านช่วงฉุกเฉินมาได้แล้วก็ควรเริ่มวางแผนเก็บเงินคืนในสัดส่วนนี้ไป

สำรวจตัวเองก่อนเก็บเงินฉุกเฉิน

แต่ก่อนที่เราจะเก็บเงินฉุกเฉินเราก็ต้องมาสำรวจตัวเองซะก่อนว่าเรามีหนี้ผ่อนชำระอะไรอยู่บ้างที่ค้างคาอยู่ เพื่อที่เราจะได้วางแผนทางการเงินของเราได้อย่างแม่นยำ และไม่เกิดการผัดวันประกันพรุ่งต่อไป เริ่มจากดูที่รายจ่ายของเราก่อนเลยว่าส่วนไหนบ้างที่สามารถควบคุมได้ เช่น ค่าอินเทอร์เน็ต, ค่าไฟ, ค่าน้ำ, ค่าอาหาร ฯลฯ เราอาจจะมองดูว่าค่าเน็ตมือถือที่เราใช้อยู่ทุกเดือนนี้จำเป็นจริง ๆ ไหม เพราะกลับบ้านมาก็มี WIFI ไปออฟฟิศก็มี WIFI หรือเราอาจจะแค่ลดค่าอินเทอร์เน็ตให้ถูกลง เป็นต้น หรืออย่างค่าไฟ ก่อนออกจากบ้านทุกครั้งก็ตรวจเช็กถอดปลั๊กไฟออกให้หมด ค่าอาหารก็อาจจะลองห่อข้าวไปกินที่ออฟฟิศก็ดีนะ ลดค่ากาแฟที่ซื้อกินทุกเช้าดูไหม หลายคนอาจจะมองว่าเป็นแค่จำนวนเงินเพียงเล็กน้อยเท่านั้นแต่ถ้าเรามาคิดคำนวณดี ๆ มันก็สามารถเป็นเงินเก็บสำรองฉุกเฉินเราได้เลยนะ เหมือนอย่างที่เขากล่าวไว้ว่า “ถ้าไม่มี 1 บาท ก็ไม่ครบ 1 ล้าน”

อย่างตัวอย่างเช่น ถ้าสมมุติว่าเราเป็นพนักงานประจำ มีค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายรายเดือนแบบตายตัว รวมแล้วตกเดือนละ 10,000 บาท/เดือน เพราะฉะนั้น เราจะต้องมีเงินเก็บฉุกเฉิน 3 เท่า ของรายจ่ายตรงนี้นั้นก็คือ 30,000 บาท นั้นเอง

พอจะมองภาพกันออกบ้างแล้วใช่ไหมว่าการนำเงินฉุกเฉินมาใช้เนี่ยไม่ได้ผิดไปซะทีเดียว แต่เพียงแค่ว่าทุกครั้งที่เราหยิบยืมเงินฉุกเฉินมาใช้เนี่ยเราจะต้องคิดอยู่เสมอว่าเราจะต้องเก็บคืนให้ได้เท่าเดิมหรือไม่ก็มากกว่า เพราะสุดท้ายแล้วเงินสำรองฉุกเฉินเนี่ยจะมาเป็นเบาะรองรับเราในวันที่เราเจอเหตุการณ์ไม่คาดฝัน เช่น เกิดอุบัติเหตุ ป่วยแบบกะทันหัน หรือในช่วงที่ลูกจะเปิดเทอม และต้องรีบจ่ายค่าเทอม หรือแม้แต่ช่วงที่เราว่างงานอยู่ เงินสำรองฉุกเฉินนี้ล่ะจะมาช่วยลดความเสี่ยง ที่เราจะไปหยิบยืมเบาะคนอื่นมารองรับเราเอาไว้ในยามที่เราตกที่นั่งลำบาก
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา