ระบบการกักเก็บพลังงาน กุญแจสำคัญสู่โลกพลังงานในอนาคต

ระบบการกักเก็บพลังงาน กุญแจสำคัญสู่โลกพลังงานในอนาคต

By Krungsri Plearn Plearn
ตลาดพลังงานกำลังเผชิญกับความท้าทายเรื่องความไม่สมดุลของอุปสงค์และอุปทานในหลากหลายมิติ ทั้งในมิติของเวลา สถานที่ รูปแบบ และคุณภาพ ซึ่งความไม่สมดุลเหล่านี้มักนำไปสู่ความต้องการแหล่งพลังงานเกินความจำเป็น ทั้งนี้ ระบบการกักเก็บพลังงาน (Energy Storage System: ESS) ถูกมองว่าสามารถช่วยแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลในตลาดพลังงานได้ด้วยคุณสมบัติที่สามารถกักเก็บพลังงาน เพิ่มคุณภาพพลังงานก่อนปล่อยออกมา และช่วยกระจายพลังงานให้เหมาะกับความต้องการในสถานที่และเวลาที่ต่างกันได้ ตัวอย่างเช่น ครัวเรือนสามารถใช้ ESS กักเก็บพลังงานไฟฟ้าจากแผงโซลาร์เซลล์ซึ่งผลิตไฟฟ้าได้มากในช่วงเวลากลางวันเพื่อนำไปใช้ในช่วงเวลากลางคืน หรือผู้ผลิตไฟฟ้าใช้ตัวกักเก็บประจุในการเพิ่มคุณภาพของไฟฟ้าก่อนปล่อยออกมาเพื่อให้กระแสไฟฟ้าที่ปล่อยออกมามีแรงดันสมดุลเหมาะสำหรับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ

อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานมาใช้ในเชิงพาณิชย์จะมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัย 5 ประการ คือ การเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะต่อการใช้งาน ความคุ้มค่า การพัฒนาเทคโนโลยี ความยืดหยุ่นในการใช้งาน และความเชื่อมโยงในอุตสาหกรรม นอกจากนี้ ส่วนต่างระหว่างค่าไฟฟ้าในช่วงพีคและช่วงปกติ รูปแบบการใช้พลังงาน และนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐก็เป็นปัจจัยที่มีผลต่อระยะเวลาที่ ESS จะถูกนำมาใช้เชิงพาณิชย์เช่นกัน
ทั้งนี้ วิจัยกรุงศรีมองว่า เทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานในปัจจุบันมีประโยชน์ต่อผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่ต้องการความมั่นคงทางพลังงาน โดยจะมีการใช้อย่างแพร่หลายภายใน 5 ปีข้างหน้า ขณะที่การใช้ ESS ในครัวเรือนและการนำมาใช้ในรถยนต์ไฟฟ้ายังมีข้อจำกัด อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีที่ดีขึ้นและราคาที่ถูกลงจะช่วยลดระยะเวลาคุ้มทุน ส่งผลให้การนำ ESS มาใช้ในระดับครัวเรือนและใช้กับรถยนต์ไฟฟ้ามีความเป็นไปได้มากขึ้นในอีก 5-10 ปีข้างหน้า
ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่
  • ESS สามารถเพิ่มความมั่นคงและเสถียรภาพด้านพลังงานให้ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่ได้ และยังช่วยเพิ่มโอกาสการใช้พลังงานทางเลือกมากขึ้น
  • คาดว่าผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดใหญ่จะนำ ESS มาใช้มากขึ้นในระยะเวลาอันสั้น
ระดับครัวเรือน
  • จากราคาของแบตเตอรี่ในปัจจุบัน ระยะเวลาคุ้มทุนของการติดตั้ง ESS นานถึง 20 ปี
  • ขณะที่แบตเตอรี่ส่วนใหญ่ในท้องตลาดเริ่มเสื่อมสภาพก่อนหน้านั้น
การใช้แบตเตอรี่ในรถไฟฟ้า
  • จุดคุ้มทุนของการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอยู่ที่ราว 7-9 ปี ซึ่งใกล้เคียงกับระยะเวลาเฉลี่ยในการใช้รถยนต์
  • อย่างไรก็ตาม รถยนต์ไฟฟ้าส่วนใหญ่ยังไม่สามารถแข่งขันกับรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์สันดาปได้ในแง่ของระยะทางในการวิ่ง
การพัฒนาเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานไม่เพียงให้ประโยชน์แก่อุตสาหกรรมการกักเก็บพลังงานเท่านั้น อุตสาหกรรมต่อเนื่องอื่นๆ รวมถึงสวัสดิการสังคมก็จะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน เนื่องจาก ESS จะเปลี่ยนวิธีการได้มาและใช้ไปของพลังงาน ซึ่งก่อให้เกิดความสมดุลของอุปสงค์และอุปทานของการใช้พลังงานมากขึ้น การพัฒนาเทคโนโลยีการกักเก็บพลังงานจึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะเปลี่ยนแนวทางการใช้พลังงานในอนาคต
ติดตามอ่านฉบับเต็มได้ง่าย คลิก
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow