รีโนเวทบ้านเก่าเป็นบ้านใหม่อย่างไร ไม่ให้งบบานปลาย
รอบรู้เรื่องบ้าน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

รีโนเวทบ้านเก่าเป็นบ้านใหม่อย่างไร ไม่ให้งบบานปลาย

icon-access-time Posted On 21 ธันวาคม 2566
By Krungsri The COACH
หลาย ๆ คนคงมีแพลนต่าง ๆ ที่อยากทำมากมายในช่วงปีใหม่ที่กำลังจะมาถึงนี้ บางคนกำลังวางแผนเตรียมรีโนเวทบ้านเก่าที่เคยทรุดโทรมให้ดูสวยทันสมัยน่าอยู่มากขึ้น รวมไปถึงคำนวณค่าใช้จ่าย ๆ ที่จะต้องเตรียมพร้อมสำหรับการรีโนเวท
 
ช่างเข้ามาสำรวจหน้างานบ้านหลังจากเจ้าของกู้สินเชื่อ Home For Cash
 
ปัจจุบันการรีโนเวทบ้านเป็นที่นิยมอย่างมาก เป็นการเปลี่ยนของเก่าให้กลายเป็นของใหม่ให้สวยงาม และมีอายุการใช้งานยาวนานขึ้น ก่อนที่จะไปเจาะลึกเรื่องค่าใช้จ่ายเรามาดูข้อควรรู้ก่อนรีโนเวทบ้านกันก่อน

7 เรื่องน่ารู้ก่อนเริ่มต้นรีโนเวทบ้าน

1. สำรวจความต้องการในการรีโนเวท

เราควรสำรวจตัวเองก่อนว่าเราอยากจะซ่อมอะไรบ้าง และจะซ่อมเพื่อใช้งานอะไร เพื่อเป็นการประเมินงบในการรีโนเวทบ้านเบื้องต้น เช่น ปรับปรุงบ้าน เพราะต้องการปรับเปลี่ยนสไตล์ฟังก์ชันการใช้งานต่าง ๆ หรือต่อขยายพื้นที่ของบ้านเพื่อรองรับสมาชิกในครอบครัวที่เพิ่มขึ้น เป็นต้น
 

2. ตั้งงบประมาณในใจก่อนเริ่มปรับปรุง หรือแต่งเติม

เพื่อไม่ให้งบประมาณบานปลาย หรือเกินความสามารถในการจัดหาเงินมารีโนเวทบ้าน และการที่เราตั้งงบประมาณยังช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อวัสดุ และอุปกรณ์ไม่ให้บานปลายได้


3. ศึกษาข้อกฎหมายก่อนจะรีโนเวทบ้าน

เนื่องจากการรีโนเวทตามข้อกฎหมายจะถือเป็นการดัดแปลงอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงส่วนไหนก็ตาม ดังนั้นเจ้าของบ้านจะต้องได้รับการอนุญาตก่อนรีโนเวทบ้านได้ โดยปกติทางบริษัทรับเหมาจะให้คำแนะนำรวมไปถึงอำนวยความสะดวกในเรื่องการขออนุญาต


4. จ้างผู้เชี่ยวชาญมืออาชีพ

ทั้งนักออกแบบ และผู้รับเหมา ให้เลือกทีมงานที่มีประสบการณ์ทำงาน มีรีวิวจากลูกค้าที่หลากหลาย เพราะหากเลือกทีมงานที่ไม่มีประสบการณ์ และเห็นแก่ราคาถูก เราอาจจะถูกโกงวัสดุ หรือผู้รับเหมาทิ้งงานกลางคันได้ ซึ่งโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้มากเลยทีเดียว ดังนั้นควรเลือกหาผู้ออกแบบ หรือสถาปนิกเพื่อช่วยวางแผนรีโนเวทอย่างมีมาตรฐาน ติดต่อประสานงานกับช่าง ให้การทำงานราบรื่นมากที่สุด ตามงบที่กำหนด และเวลาที่ต้องการ


5. เตรียมที่อยู่รองรับระหว่างรีโนเวท หรือวางแผนจัดเก็บข้าวของในบ้านให้ดี

ในระหว่างรีโนเวท หากทำการปรับปรุงเยอะหลายส่วน หลายห้อง บ้านจะเต็มไปด้วยฝุ่นละออง และสีที่ยังไม่แห้ง ซึ่งหากเราไม่สามารถที่จะอยู่ในพื้นที่นั้นได้ เป็นไปได้ว่าเราอาจจะต้องเตรียมที่อยู่ชั่วคราว รอจนกว่าการรีโนเวทเสร็จจึงจะสามารถย้ายกลับเข้าไปอยู่ได้


6. อย่าลืมแจ้งเพื่อนบ้าน

ในขั้นตอนรีโนเวทบ้านอาจมีเสียงดังรบกวน เพื่อเป็นมารยาทในการอยู่ร่วมกับสังคมที่ดี และลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจตามมา เช่น การทะเลาะกัน จนถึงขั้นการไปร้องเรียนที่เขต เป็นต้น


7. เตรียมงบประมาณเผื่อไว้ 10 – 30% นำมาสำรองจ่ายฉุกเฉินได้ทัน

เพราะการรีโนเวทบ้านเต็มไปด้วยสิ่งที่ไม่คาดคิดมากมาย เพื่อป้องกันปัญหางบประมาณขาด แนะนำเตรียมงบประมาณเผื่อไว้ 10 – 30% นำมาสำรองจ่ายฉุกเฉินได้ทัน
 
หญิงสาวคำนวณเงินค่าใช้จ่ายก่อนไปกู้สินเชื่อ Home For Cash
 

ค่าใช้จ่ายในการรีโนเวทบ้าน


1. ค่าออกแบบสถาปนิก

การรีโนเวทบ้านสิ่งแรกที่คุณจะต้องจ่ายคือ แบบแปลนบ้านที่ออกแบบโดยสถาปนิก โดยราคามีการคำนวณจากพื้นที่ และขนาดบ้านเป็นหลัก และจะมีค่าสำรวจหน้างานที่สถาปนิกจะเข้ามาตรวจสอบรอบตัวบ้าน โดยมีค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งราคาขึ้นอยู่กับสถาปนิกแต่ละราย เพราะบางรายมี บริการผู้รับเหมาก่อสร้าง และวิศวกรไปด้วยในตัวแบบครบวงจร ทำให้สามารถระบุงบประมาณที่ตายตัวได้ง่าย

ตัวอย่าง ค่าสำรวจหน้างาน ตั้งแต่ 2,000 บาทขึ้นไป, ค่าออกแบบเริ่มต้นตั้งแต่ 900 บาทต่อตารางเมตร เป็นต้น


2. ค่าใช้จ่ายปรับปรุง

ได้แก่ ค่าช่างผู้รับเหมา, ค่าวัสดุอุปกรณ์รีโนเวทบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ เมื่อสถาปนิกดีไซน์แบบเรียบร้อยแล้ว ขั้นถัดไป คือ ดูรายละเอียด และประเมินราคากับผู้รับเหมา แต่ละรายก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน เช่น ผู้รับเหมาบางรายบวกค่าแรงกับวัสดุที่ใช้ก่อสร้างแล้ว บางรายบวกค่าแรงอย่างเดียว ส่วนวัสดุอุปกรณ์ เราเป็นผู้จัดหา

ดังนั้นแนะนำระหว่างการเจรจาตกลงเรื่องค่าใช้จ่ายให้ผู้รับเหมา ควรคุยกันอย่างละเอียด เพื่อป้องกันปัญหาสื่อสารไม่ตรงกันในอนาคต ส่วนราคาวัสดุที่เป็นของตกแต่ง เช่น วัสดุพื้นก็มีให้เลือกมากมายหลายแบบ หรือผนังกำแพง จะทาสีผนัง หรือจะติดเป็นวอลล์เปเปอร์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ย่อมขึ้นอยู่สไตล์ความชอบส่วนตัว คุณภาพของวัสดุ และงบประมาณที่เตรียมไว้


3. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

เช่น ค่าเช่าบ้านชั่วคราว หากเรารีโนเวทบ้านทั้งหลัง เราจำเป็นเตรียมค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วย ดังนั้นเราควรสอบถามระยะเวลากับผู้รับเหมา และอาจจะมาการเผื่อเวลาในการเช่าด้วย เพราะบางครั้งระยะเวลารีโนเวทอาจจะมีความคลาดเคลื่อนได้
 
สินเชื่อ Home For Cash ช่วยลดปัญหางบไม่พอจ่ายรีโนทบ้าน
 

4. เคล็ดลับวิธีจัดการเงินไม่ให้งบรีโนเวทบานปลาย


1. วางแผนให้ดี และพยายามทำตามแผน

การรีโนเวทบ้านที่ดีคือต้องตัดสินใจให้เด็ดขาด ไม่เปลี่ยนสเปกวัสดุกลางคัน เพราะอาจจะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น พื้นที่เราเลือกไว้ตอนแรกเป็นพื้นกระเบื้อง ภายหลังเราเลือกเป็นพื้นไม้ลามิเนต หรือพื้น SPC ซึ่งพื้นเหล่านี้ต้องการความเรียบของพื้นผิวที่เท่ากัน ดังนั้นหากเราเปลี่ยนจากพื้นกระเบื้อง เราต้องเสียค่าปรับงานผิวให้เท่ากันเพิ่มอีก เป็นต้น ดังนั้นเราจึงควรทำลิสต์วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับการรีโนเวทบ้านไว้ก่อน จากนั้นลำดับความสำคัญ และความจำเป็นของอุปกรณ์แต่ละชนิด ก็จะช่วยให้งานราบรื่น และงบไม่บานปลายด้วย


2. พิถีพิถันในการเลือกช่างหรือผู้รับเหมา

หากเป็นไปได้ควรจะเลือกจากคนที่รู้จักแนะนำมา หรือผู้รับเหมาที่มีประสบการณ์ เพราะคนเหล่านี้จะเป็นปัจจัยชี้ชะตาผลสำเร็จของงานรีโนเวทได้เลย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องตรวจสอบสภาพโครงสร้างบ้าน ระบบไฟฟ้า ระบบประปาเดิมให้ดีและรอบคอบ เพราะเมื่อปรับปรุงต่อเติมอาจเพิ่มน้ำหนักให้โครงสร้างเดิม หรือกระทบต่อตำแหน่งท่อไฟฟ้า ท่อประปาเดิม ที่จะส่งผลเสียต่อโครงสร้างโดยรวมในระยะยาว เกิดปัญหาท่อประปาแตก หรือไฟรั่วจากการทุบเจาะผนังจนเป็นอันตรายได้


3. ขยันหาข้อมูลของวัสดุที่จะใช้

ช่วงนี้อาจเหนื่อยหน่อยในการหาข้อมูลไม่ว่าจากทางอินเทอร์เน็ต หรือห้างร้านค้าที่ขายวัสดุตกแต่งบ้าน เพื่อเปรียบเทียบราคา คุณภาพ เพื่อให้ได้วัสดุถูกแต่ดี นอกจากนี้อาจคุยกับผู้รับเหมา เพราะบางครั้งผู้รับเหมาจะรู้แหล่งวัสดุราคาถูกกว่าตามท้องตลาดที่เราไปซื้อเอง อย่างไรก็ตามการเลือกสิ่งของวัสดุควรเลือกที่แข็งแรง คงทนต่อการใช้งาน เพื่อให้คงสภาพใช้งานได้ไปอีกนาน แต่ก็ต้องสอดคล้องกับงบประมาณของเราด้วย และที่สำคัญของที่ดีก็อาจจะไม่จำเป็นต้องมีราคาสูงเสมอไป แต่ต้องอาศัยการศึกษาหาข้อมูลพอสมควร


4. แบ่งจ่ายตามงวดตามงานที่เสร็จ

อย่าเก็บไข่ทั้งหมดไว้ในตะกร้าผู้รับเหมา การจ่ายเงินในการรีโนเวทบ้านก็เช่นกัน เราไม่ควรจ่ายเงินตูมเดียวทั้งหมดให้กับผู้รับเหมา ทางที่ดีเราควรแบ่งจ่ายเป็นงวด ๆ ตามชิ้นงานที่ทำเสร็จ หากผู้รับเหมาทำงานไม่ตรงตามต้องการ เราสามารถเปลี่ยนผู้รับเหมาได้ และควรจ่ายเงินก้อนสุดท้ายเมื่อเสร็จสิ้นการรีโนเวท และทุกอย่างเป็นไปตามความต้องการของเราที่ตกลงกันเอาไว้แล้วเท่านั้น
(ที่มา: https://blog.sansiri.com )

การรีโนเวทบ้านเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อการยืดอายุการใช้งานของบ้าน รวมทั้งช่วยเปลี่ยนบรรยากาศบ้านเรา ให้ได้ความรู้สึกเหมือนได้บ้านใหม่ ช่วยเติมพลังชีวิตเราได้อีกทาง และสำหรับใครที่งบประมาณที่เตรียมไว้ไม่เพียงพอกับการรีโนเวทบ้าน ทางเลือกหนึ่ง คือ ขอกู้เงินจากธนาคารเพื่อรีโนเวทบ้าน อย่างสินเชื่อ Home for cash หรือสินเชื่อบ้านแลกเงิน ซึ่งทางเรากรุงศรีมีผลิตภัณฑ์สินเชื่อนี้ให้บริการ เพื่อเป็นตัวช่วยให้การรีโนเวทบ้านของคุณสำเร็จได้ดั่งใจฝัน

ขั้นตอนการเตรียมเอกสารขอกู้สินเชื่อกรุงศรี Home for cash เบื้องต้น


1. เอกสารข้อมูลส่วนบุคคล

ได้แก่ สำเนาบัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน


2. เอกสารแสดงรายได้ เช่น

  • กรณีบุคคลธรรมดาที่มีรายได้ประจำ เช่น หนังสือรับรองการทำงาน หรือสำเนาสลิปเงินเดือน (ฉบับล่าสุด) (สำเนาสลิปเงินเดือนย้อนหลัง 12 เดือน กรณีมีรายได้เป็น commission), หนังสือรับรองโบนัสประจำ (ถ้ามี)
    สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน (ย้อนหลัง 12 เดือน กรณีมีรายได้เป็น commission), แบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (50 ทวิ และ ภงด.90/91)
  • กรณีบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจส่วนตัว เช่น สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน / ใบทะเบียนการค้า ไม่เกิน 3 เดือน
    สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีชื่อผู้กู้ / ผู้กู้ร่วม ไม่เกิน 3 เดือน, สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน (ทั้งในนามบุคคลและกิจการ) สำเนา ภ.พ.30 พร้อมใบเสร็จ (ถ้ามี), สำเนา ภ.พ.20 (ถ้ามี), สำเนาบริคณห์สนธิ ไม่เกิน 3 เดือน


3. เอกสารด้านหลักประกัน

  • สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน
  • ใบอนุญาตปลูกสร้าง / หนังสือแสดงกรรมสิทธิ์สิ่งปลูกสร้าง เช่น สำเนาหนังสือสัญญาขายที่ดิน (ทด.13) หรือหนังสือสัญญาให้ที่ดิน (ทด.14 )
  • แผนที่ตั้งหลักประกันโดยสังเขป

หากใครกำลังมีแพลนที่จะรีโนเวทบ้าน แล้วต้องการเงินก้อน สามารถเข้าไปดูรายละเอียดของ กรุงศรีโฮมฟอร์แคช สินเชื่อบ้านแลกเงินก้อน สู้ทุกสถานการณ์ได้ที่ลิงก์นี้ได้เลย https://www.krungsri.com หรือโทร 1572 ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา