รักษ์โลกคูณ 2 เหตุผลที่คนใช้รถ EV ควรติดโซล่าเซลล์ที่บ้าน
รอบรู้เรื่องบ้าน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

รักษ์โลกคูณ 2 เหตุผลที่คนใช้รถ EV ควรติดโซล่าเซลล์ที่บ้าน

icon-access-time Posted On 12 กรกฎาคม 2567
By Krungsri The COACH
ปัจจุบัน รถยนต์ไฟฟ้า (EV) กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นในประเทศไทย หลายค่ายรถยนต์ต่างทยอยเปิดตัวรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ๆ ออกมาให้ผู้บริโภคได้มีทางเลือกมากขึ้น นอกจากข้อดีของรถยนต์ไฟฟ้าในเรื่องประหยัดกว่าการใช้น้ำมัน กระแสการตื่นตัวเรื่องสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาดก็ทำให้ผู้คนเริ่มมองหาทางเลือกใหม่ ๆ ในการใช้พลังงานที่มีส่วนช่วยลดโลกร้อน “การติดโซล่าเซลล์ (Solar Cell)” ที่บ้านไว้ชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าจึงเป็นทางเลือกที่อยู่ในกระแส เพราะนอกจากจะเป็นทางเลือกพลังงานสะอาดแล้ว ยังจัดว่าเป็นอีกวิธีประหยัดไฟฟ้าที่น่าสนใจ และในวันนี้ Krungsri The COACH ได้รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นต้องรู้ก่อนตัดสินใจมาฝาก ไปดูกันเลย
ติดโซล่าเซลล์ที่บ้าน

ทำไมการติดตั้งโซล่าเซลล์ จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า?

1. เป็นอีกวิธีประหยัดไฟฟ้าที่น่าสนใจ

การใช้พลังงานแสงอาทิตย์จากโซล่าเซลล์ นอกจากจะช่วยลดค่าไฟฟ้าจากการชาร์จรถ EV แล้ว ยังช่วยลดค่าไฟฟ้าจากการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ ในบ้านด้วย เรียกได้ว่าลงทุนครั้งเดียวแต่ประหยัดได้ถึง 2 เด้ง และหากเลือกใช้งานโซล่าเซลล์ที่มีคุณภาพดี ด้วยระยะเวลาที่ใช้งานได้นานถึง 10 ปีขึ้นไป ก็ยิ่งช่วยให้ประหยัดค่าไฟฟ้าได้ในระยะยาว นอกจากนี้ ยังสามารถขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้กับการไฟฟ้าในส่วนที่ผลิตแล้วใช้ไม่หมดได้
 

2. ช่วยลดมลพิษ

นอกจากจะเป็นวิธีประหยัดไฟฟ้าที่น่าสนใจแล้ว โซล่าเซลล์เป็นการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตไฟฟ้าจึงถือได้ว่าเป็นพลังงานที่สะอาด และเป็นพลังงานหมุนเวียนจากธรรมชาติโดยที่ไม่ปล่อยมลพิษทางอากาศ ช่วยลดภาวะโลกร้อนและฝุ่นควัน PM2.5 เรียกได้ว่าเป็นการรักษ์โลกอย่างแท้จริง
 

3. เพิ่มมูลค่าการซื้อขายบ้าน

การติดตั้งโซล่าเซลล์ เป็นการเพิ่มฟังก์ชันให้กับบ้าน เปลี่ยนบ้านให้เป็น Smart Home เพิ่มความทันสมัย เพิ่มความน่าสนใจ สามารถใช้เป็นจุดดึงดูดผู้ซื้อในกรณีที่อยากขายบ้าน ทำให้บ้านดูมีจุดขายที่แตกต่างจากคู่แข่ง เพิ่มโอกาสขายบ้านได้ง่ายขึ้น
 
การติดตั้งโซล่าเซลล์ เป็นการเพิ่มฟังก์ชันให้กับบ้าน

ติดโซล่าเซลล์สำหรับชาร์จรถ EV ช่วยประหยัดค่าไฟฟ้าได้เท่าไหร่?

สมมติว่าก่อนซื้อรถ EV ปกติใช้ไฟฟ้าเดือนละ 800 kW โดยค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 4.20 บาทต่อ kW ไลฟ์สไตล์คือทำงานที่บ้าน ใช้ไฟในเวลากลางวัน 70% (560 kW) และกลางคืน 30% (240 kW) เพิ่งซื้อรถ EV แบตเตอรี่ความจุ 80 kW ระยะทางต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง 400 กิโลเมตร ใช้รถเฉลี่ยเดือนละ 2,000 กิโลเมตร

คำนวณค่าไฟฟ้าในบ้านก่อนและหลังซื้อรถ EV

  • หนึ่งเดือนชาร์จรถ EV เฉลี่ย = 5 ครั้ง (2,000 กิโลเมตร/400 กิโลเมตร)
 
ค่าไฟฟ้าก่อนซื้อรถ EV ค่าไฟฟ้าหลังซื้อรถ EV
ปริมาณการใช้ไฟฟ้า& 800 kW / เดือน
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อเดือน
800 kW + 400 kW = 1,200 kW
จ่ายค่าไฟฟ้าต่อเดือน = ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย
800 kW x 4.20 บาท = 3,360 บาท
จ่ายค่าไฟฟ้าต่อเดือน = ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย
1,200 kW x 4.20 บาท = 5,040 บาท
  • ใช้ไฟฟ้าในการชาร์จรถ EV ต่อเดือน = 80 kW x 5 ครั้ง = 400 kW

จากตารางคำนวณข้างบนจะเห็นว่า ค่าไฟฟ้าต่อเดือนก่อนที่จะซื้อรถ EV มีราคาที่ถูกกว่าค่าไฟฟ้าหลังจากที่ซื้อรถ EV เนื่องจากมีการใช้ไฟฟ้าในการชาร์จรถมาเพิ่ม แต่อย่าลืมว่าค่าไฟที่เพิ่มขึ้นมานี้ เข้ามาแทนที่ราคาน้ำมันที่เราต้องจ่ายเป็นจำนวนมากในทุก ๆ เดือน ลองมาดูกันว่า หากเราเลือกติดตั้งโซล่าเซลล์จะสามารถประหยัดค่าไฟไปได้กี่บาท

คำนวณค่าไฟฟ้าเมื่อติดตั้งโซล่าเซลล์ ประหยัดค่าไฟได้เท่าไหร่

  • เลือกติดตั้งโซล่าเซลล์รุ่นขนาดกำลังไฟ 5 kW ผลิตไฟฟ้าได้วันละ 5 ชั่วโมง ในราคา 230,000 บาท
  • โซล่าเซลล์ผลิตไฟฟ้าได้วันละ = 5 ชั่วโมง x 5 kW = 25 kW / วัน หรือ 750 kW ต่อเดือน
 
ค่าไฟฟ้า (บ้านที่มีรถ EV) ก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ ค่าไฟฟ้า (บ้านที่มีรถ EV) หลังติดตั้งโซล่าเซลล์
  • ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อเดือน
    800 kW + 400 kW = 1,200 kW
  • ค่าไฟฟ้าต่อเดือน = ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย 1,200 kW x 4.20 บาท = 5,040 บาท
  • ปริมาณการใช้ไฟฟ้าต่อเดือน
    800 kW + 400 kW = 1,200 kW
  • จ่ายค่าไฟฟ้าต่อเดือน = ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้ x ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย
    1,200 kW x 4.20 บาท = 5,040 บาท
ค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ต่อเดือน = ค่าไฟฟ้าก่อนติดตั้งโซล่าเซลล์ - ค่าไฟฟ้าหลังติดตั้งโซล่าเซลล์
5,040 - 1,890 = 3,150 บาทต่อเดือน
ดังนั้น ค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ต่อปี (บ้านที่มีรถ EV) หลังติดตั้งโซล่าเซลล์
= ค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ต่อเดือน x 12 เดือน
= 3,150 บาท x 12 เดือน
= 37,800 บาท

ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ในการคืนทุน

  • ระยะเวลาคืนทุน = เงินลงทุน (ราคาการติดตั้งโซล่าเซลล์) / ผลตอบแทน (ค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ต่อปี)
  • ราคาการติดตั้งโซล่าเซลล์ = 230,000 บาท
  • ค่าไฟฟ้าที่ประหยัดได้ต่อปี = 37,800 บาท
  • ระยะเวลาคืนทุน = 230,000 / 37,800 = 6 ปี

โซล่าเซลล์มีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 25 ปี นั่นหมายความว่าหลังจากคืนทุน (ประมาณ 6-8 ปี) ไปจนถึงปีสุดท้ายของการใช้งาน เราจะประหยัดค่าไฟได้อีกหลายปี เมื่อลองคำนวณเป็นเงินก็จะเห็นได้ว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์มีความคุ้มค่าในระยะยาว นี่จึงเป็นเหตุผลหลักว่าทำไมผู้คนถึงหันมาติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้ากันมากขึ้น
 
ติดโซล่าเซลล์ประหยัดไฟได้เท่าไร

ทางเลือกประหยัดสำหรับคนชาร์จรถ EV ช่วงกลางคืน

ประหยัดเพิ่มเติมจากการติดตั้งโซล่าเซลล์ด้วยการเปลี่ยนมาใช้อัตราค่าไฟฟ้า TOU (Time of Use) ซึ่งเป็นการคิดค่าไฟฟ้าต่อหน่วยแตกต่างกันตามช่วงเวลา โดยในช่วง On-Peak หรือช่วงที่ต้องการไฟฟ้าสูงระหว่างเวลา 09:00 น. - 22:00 น. ของวันจันทร์ - ศุกร์ ราคาหน่วยละ 5.80 บาท และช่วง Off-Peak หรือช่วงที่ต้องการไฟฟ้าต่ำ ระหว่างเวลา 22:00 น. - 09:00 น. ของวันจันทร์ - ศุกร์ และทั้งวันของวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดราชการ ราคาหน่วยละ 2.63 บาท

วิธีนี้เหมาะมากสำหรับบ้านที่ใช้ไฟฟ้าส่วนใหญ่ในตอนกลางวันซึ่งจะประหยัดได้โดยตรงจากการติดโซล่าเซลล์ ส่วนไฟฟ้าที่ใช้ในเวลากลางคืนซึ่งมีจำนวนน้อยกว่าก็ได้จ่ายในราคาที่ต่ำกว่าอัตราค่าไฟฟ้าแบบปกติ

อีกทางเลือกคือการซื้อแบตเตอรี่สำรองเพิ่มเพื่อใช้เก็บไฟฟ้าที่ผลิตได้จากโซล่าเซลล์ในตอนกลางวันมาสำรองไว้ใช้ในตอนกลางคืนเพื่อชาร์จรถ EV อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแบตเตอรี่ยังมีราคาค่อนข้างสูงอยู่ที่ประมาณ 290,000 บาท สำหรับขนาด 10 kW ซึ่งหากเป็นบ้านที่ใช้ไฟฟ้าในตอนกลางคืนปริมาณมาก แบตเตอรี่ขนาดดังกล่าวก็ไม่เพียงพอที่จะรองรับสำหรับการใช้อยู่ดี เหมาะจะเป็นแบตสำรองที่ใช้ในกรณีไฟตกหรือไฟดับมากกว่า
 
แนะนำวิธีชาร์จรถไฟฟ้าที่บ้านเพื่อให้ประหยัดพลังงาน

อยากติดตั้งโซล่าเซลล์บ้านสำหรับชาร์จรถ EV ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

หากจะลงทุนติดตั้งโซล่าเซลล์บ้าน เพื่อเป็นวิธีประหยัดไฟฟ้า นอกเหนือจากต้นทุนค่าโซล่าเซลล์ ยังมีอุปกรณ์อื่น ๆ ที่ควรสำรวจและเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการทำงาน เช่น
  1. ขนาดมิเตอร์ที่บ้าน ซึ่งบ้านเรือนทั่วไปปกติจะใช้ไฟที่ 15 แอมป์ แนะนำว่าควรเปลี่ยนให้เป็น 30 แอมป์ เพื่อป้องกันการใช้ไฟเกิน
  2. สายไฟ Main ควรปรับให้มีขนาด 25 ตารางเมตร ส่วน Circuit breaker (เบรกเกอร์ที่ใช้ในการเปิด-ปิดวงจรไฟฟ้า รวมถึงตัดกระแสไฟฟ้าเมื่อมีไฟรั่วหรือลัดวงจร) ควรมีขนาด 100 แอมป์
  3. ตู้ MDB (ตู้ไฟฟ้าในบ้าน) ต้องสามารถเพิ่ม Circuit ได้อีก 1 ช่อง เพราะการชาร์จไฟรถ EV ต้องใช้ช่อง Circuit แยกออกมาต่างหาก ไม่เช่นนั้นต้องทำการเพิ่มตู้ MDB อีก 1 ตู้
  4. เครื่องตัดไฟรั่ว (RCD) เพื่อตรวจจับไฟฟ้าที่รั่วจากระบบ และทำหน้าที่ตัดไฟเมื่อพบว่ามีไฟรั่ว พร้อมต้องมีการติดตั้งสายดิน
อยากติดตั้งโซล่าเซลล์แต่งบไม่พอ

ตัวช่วยสำหรับคนที่สนใจอยากติดตั้งโซล่าเซลล์แต่งบไม่พอ

เห็นถึงความคุ้มค่าเรื่องการประหยัดไฟฟ้าและช่วยรักษ์โลกจากพลังงานสะอาด ถ้าเรามีงบจำกัด หรืองบประมาณจำกัด Krungsri The COACH ขอแนะนำ “สินเชื่อกรุงศรีโฮมฟอร์แคช เพื่อติดตั้ง Solar Roof” สินเชื่อที่สนับสนุนการสร้างพลังงานสะอาดเพื่อโลกสีเขียวและประหยัดค่าไฟฟ้าได้อย่างยั่งยืน เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถนำบ้านเปลี่ยนเป็นเงินก้อนใหญ่ โดยยื่นขอสินเชื่อเพื่อนำเงินไปติดตั้ง Solar Roof ด้วยเงื่อนไขสุดพิเศษ ทั้งนี้ผู้ที่สนใจควรกู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว
 
  • อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกตลอดอายุสัญญาอยู่ระหว่าง 6.61% - 10.30%ต่อปี
  • อัตราดอกเบี้ยตามประกาศธนาคาร ณ วันที่ 6 ต.ค. 66 อัตราดอกเบี้ย MRR = 7.40% ต่อปี ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้

หมายเหตุ: อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่โพสต์บทความ สามารถตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน และรายละเอียดการคำนวณเพิ่มเติมได้ที่ www.krungsri.com

สุดท้ายนี้การติดตั้งโซล่าเซลล์เพื่อชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า ถือว่าเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่ใส่ใจรักษ์โลกและเป็นอีกวิธีประหยัดไฟฟ้าที่น่าสนใจ

Krungsri The COACH แนะนำ 3 เช็กลิสต์ ที่จะช่วยให้การวางแผนติดตั้งโซล่าเซลล์ครั้งนี้ คุ้มค่า ปลอดภัย และตอบโจทย์การใช้งาน เพื่อให้เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและให้ประโยชน์ในระยะยาวอย่างแท้จริง ดังนี้
 

1. รู้จักตัวเอง รู้จักโซล่าเซลล์ให้ดีก่อนตัดสินใจ

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของงบประมาณ พื้นที่ สภาพอากาศ พฤติกรรมการใช้รถของเรา และสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องเตรียม เพื่อให้แน่ใจว่าการติดตั้งโซล่าเซลล์ครั้งนี้เหมาะสมและคุ้มค่ากับการลงทุนอย่างแท้จริง
 

2. คุณภาพคือหัวใจ

เลือกผลิตภัณฑ์คุณภาพที่มีมาตรฐานเพื่อให้ใช้งานได้ยาวนาน ศึกษาเงื่อนไขการรับประกันให้ดีเพื่อความอุ่นใจ และเลือกผู้ขายที่มีการติดตั้งโดยช่างผู้ชำนาญ อย่าเลือกซื้อจากเรื่องราคาเพียงปัจจัยเดียว
 

3. ดูแลให้ดี ยิ่งคุ้มค่า

ศึกษาขั้นตอนการดูแลรักษาและการทำความสะอาดแผง ตลอดจนขั้นตอนการตรวจเช็กอุปกรณ์เพื่อช่วยยืดอายุการใช้งาน โดยอาจพิจารณาเลือกใช้บริการจากช่างผู้ชำนาญสำหรับการบำรุงรักษาประจำปี

อ้างอิง
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา