5 เทคนิคช่วยให้ผู้ประกอบการ SME กู้ซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น
รอบรู้เรื่องบ้าน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

5 เทคนิคช่วยให้ผู้ประกอบการ SME กู้ซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น

icon-access-time Posted On 26 ธันวาคม 2565
by Krungsri The COACH
เจ้าของธุรกิจ SME กำลังมองหาแนวทางการกู้ซื้อบ้านกันอยู่ใช่ไหม…?

ในปัจจุบันมีจำนวนผู้ประกอบการ SME ไม่น้อยเลยในประเทศไทย และแน่นอนว่าไม่ว่าจะประกอบอาชีพไหนก็อยากที่จะมีบ้านในฝันกันทั้งนั้น และเนื่องจากเป็นผู้ประกอบการ SME ทำให้หลายคนคิดว่าจะต้องขอกู้ซื้อบ้านยากแน่นอน มากไปกว่านั้นคือ ความไม่รู้นี่แหละที่อาจจะนำมาซึ่งการกู้บ้านไม่ผ่านได้ เช่น สถาบันการเงินต้องการข้อมูลบางอย่าง แต่ผู้กู้ไม่สามารถให้ข้อมูลที่ตรงตามกับที่สถาบันการเงินต้องการได้ ก็อาจทำให้การกู้ซื้อบ้านในครั้งนั้นกู้ไม่ผ่าน ดังนั้นผู้ที่ต้องการกู้จะต้องเตรียมตัว เตรียมเอกสารการกู้ซื้อบ้านมาอย่างดีพอสมควร เพื่อให้สถาบันการเงิน หรือผู้ให้กู้มั่นใจว่าการกู้ซื้อบ้านครั้งนี้ผู้กู้สามารถชำระเงินคืนได้อย่างแน่นอน

นอกจากเรื่องของการเตรียมข้อมูลหรือเอกสารแล้ว ต้องมองในมุมผู้ให้กู้ด้วยว่าถ้าหากมีคนมากู้เงินเรา สิ่งที่เรากังวลคือวัตถุประสงค์ของเงินนี้จะนำไปทำอะไร? มีโอกาสที่จะชำระคืนได้จริงไหมภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน สามารถชำระคืนได้หรือไม่ ในมุมของสถาบันการเงินก็เช่นกัน การที่จะให้ SME หนึ่งรายกู้เงิน ธนาคารก็ต้องการทราบว่าธุรกิจที่ต้องการกู้มีศักยภาพหรือความเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหน และความสามารถในการชำระคืนเป็นไปตามที่ตกลงกันหรือเปล่า

สำหรับผู้ประกอบการ SME ถ้าอยากกู้ซื้อบ้าน ต้องเตรียมตัวยังไง มีเทคนิคอะไรบ้าง ไปดูกันเลย…

5 เทคนิคช่วยให้ผู้ประกอบการ SME กู้ซื้อบ้านได้ง่ายขึ้น

ประเมินรายได้ของ SME ก่อนกู้ซื้อบ้าน

1. ประเมินรายได้ของ SME ก่อนกู้ซื้อบ้าน

  • SME กิจการครัวเรือนไม่ได้จดทะเบียนการค้า เช่น ร้านขายของชำ เป็นต้น ซึ่งเวลาคำนวณรายได้ก็จะคำนวณโดยเอา ยอดขาย–ต้นทุน = กำไรขั้นต้น ตัวอย่างเช่น ยอดขาย 1,000,000 บาท–ต้นทุน 800,000 บาท = กำไรขั้นต้น 200,000 บาท ซึ่งถ้าหากไม่ได้มีการจดทะเบียนการค้าเป็นกิจลักษณะแล้วนั้น ทางเจ้าหน้าที่ธนาคารจะมีการขอสำรวจกิจการเพื่อที่จะไปถ่ายรูปกิจการ จากนั้นก็ทำแบบฟอร์มสำรวจรายได้ เพื่อประกอบการพิจารณาการกู้สินเชื่อ
  • SME จดทะเบียนการค้า เช่น ร้านกาแฟ ฯลฯ SME ประเภทนี้จะมีหุ้นส่วน มีสัดส่วนการแบ่งหุ้นที่ชัดเจน เนื่องจากได้ทำการจดทะเบียนการค้า อีกทั้งยังมีการทำรายรับรายจ่ายที่ชัดเจนเนื่องจากจะต้องยื่นให้กับสรรพากรอยู่แล้ว ตัวอย่างการคำนวณ เช่น ผู้ถือหุ้น นาย A ถือหุ้น 60 และ นาย B ถือหุ้น 40 ยอดขาย 1,000,000 บาท–ต้นทุน 800,000 บาท = กำไรขั้นต้น 200,000 บาท โดยที่ นาย A จะได้ 120,000 บาท ส่วน นาย B จะได้ 80,000 บาท ซึ่งธุรกิจ SME จะต้องดำเนินกิจการมาไม่น้อยกว่า 2 ปี เพราะถ้าหากน้อยกว่านี้จะเป็นอันยากในการพิจารณาปล่อยกู้ ยิ่งไปกว่านี้ในช่วง 2-3 ปี แรก กิจการกำลังเติบโตควรที่จะเอาเงินมาต่อยอดธุรกิจ เพื่อที่จะได้สร้างความมั่นคงให้ธุรกิจของเรามีความแข็งแรงดี ไม่ควรแบ่งรายได้ซื้อทรัพย์สินส่วนตัวมากจนเกินไป
เจ้าของกิจการท่านใดอ่านมาถึงตรงนี้แล้วสนใจในเรื่องวิธีการกู้ซื้อบ้านของ SME บ้าง ขอแนะนำคลิป “Krungsri The COACH Ep.47 SME กู้บ้านเตรียมตัวอย่างไรให้ชัวร์” ฟังจบในคลิปเดียวได้เลยที่นี่

2. เช็กภาระหนี้ ก่อนกู้ซื้อบ้าน

แน่นอนว่าดำเนินธุรกิจ SME ส่วนใหญ่จะต้องมีการขอสินเชื่อเพื่อที่จะเอาไปดำเนินกิจการ ตัวอย่างเช่น การเสริมสภาพคล่องของกิจการ การซื้อเครื่องจักร และอื่น ๆ ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อที่ดีทีเดียวเลยสำหรับเจ้าของกิจการที่อยากที่จะกู้ซื้อบ้าน เพราะสถาบันการเงินจะไม่ได้นำภาระหนี้สินในส่วนนี้มาคิดรวมด้วย เนื่องจากภาระหนี้กิจการเป็นภาระหนี้ที่ค่อนข้างมาก และอย่างที่กล่าวไปข้างต้นในข้อรายได้ของ SME สถาบันการเงินได้ทำการรวมภาระหนี้ตรงนี้เข้าไปคำนวณด้วยแล้วนั่นเอง

จึงเป็นเหตุผลที่ทำไมสถาบันการเงินไม่ได้นำมาคิดรวม มากไปกว่านี้ภาระหนี้การกู้ซื้อบ้าน คือ ภาระหนี้ส่วนบุคคล ซึ่งต่างจากภาระหนี้ของกิจการในรูปแบบนิติบุคคลโดยสิ้นเชิง โดยที่ภาระหนี้ส่วนบุคคลจะหมายถึง ภาระส่วนบุคคล = หนี้ที่ทำให้ชีวิตเรา Enjoy ตอบสนองความต้องการส่วนตัว เช่น สินเชื่อบุคคล บัตรเครดิต รถ เป็นต้น โดยที่สถาบันการเงินจะได้เกณฑ์การคำนวณจาก 3 ปัจจัยหลักที่ได้กล่าวไป ตัวอย่างการคำนวณ คือ สถาบันการเงินจะคำนวณแบบครึ่งหนึ่ง เช่น รายได้สุทธิอยู่ที่ 120,000 บาท ซึ่งภาระหนี้ก็ไม่ควรจะเกิน 60,000 บาท เพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าสามารถผ่อนได้ไหว และที่สำคัญอีกหนึ่งอย่างคือ “ยิ่งรายได้มาก โอกาสที่ธนาคารจะให้ก็มากตามไปด้วย”
 
SME ก่อนกู้ซื้อบ้านต้องมีวินัยในการผ่อนชำระหนี้

3. ก่อนกู้ซื้อบ้านต้องมีวินัยในการผ่อนชำระหนี้

ทำอย่างไรให้ธนาคารรู้จักเราพอสมควร เราเป็นใคร ทำธุรกิจอะไร ประวัติการชำระหนี้ที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง? สิ่งนี้ ถือได้ว่าเป็นด่านแรกที่ธนาคารจะตรวจสอบว่า ผู้ประกอบการมีประวัติชำระหนี้ที่ดี หรือมีหนี้เสียหรือไม่ ซึ่งจะบ่งชี้ให้เห็นถึงเรื่องพฤติกรรมการชำระหนี้ที่ผ่านมาว่า ผู้กู้รายนี้เป็นลูกค้าชั้นดีไหม เคยมีประวัติติดยอดค้างชำระอะไรหรือเปล่า

ซึ่งปัจจุบันการยื่นขอสินเชื่อธนาคาร ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน หรือสินเชื่อส่วนบุคคล หรือซื้อรถ ทุกคนต้องแสดงตัวตนเรื่องประวัติการชำระหนี้จากการตรวจสอบประวัติเครดิต หรือที่เรียกว่า “เครดิตบูโร” แต่ถ้าหากในกรณีที่ยังไม่มีประวัติการกู้สินเชื่อส่วนบุคคลก็อาจจะต้องเริ่มคิดที่จะสร้างประวัติทางการเงินขึ้นมาบ้างแล้วล่ะ เนื่องจากธนาคารจะได้รู้จักผู้กู้มากขึ้นผ่านการผ่อนชำระหนี้ และจะเป็นอันง่ายต่อการพิจารณาการปล่อยกู้ซื้อบ้านให้กับเจ้าของกิจการ SME
 
เตรียมเอกสารยังไง ก่อนกู้ซื้อบ้าน

4. เตรียมเอกสารยังไง ก่อนกู้ซื้อบ้าน

เอกสารกู้ซื้อบ้านของเจ้าของธุรกิจ SME ถือได้ว่าเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากกับเจ้าของกิจการในรูปแบบ SME ถ้าหากเป็นกรณี SME ประเภทจดทะเบียนการค้ามี ภ.พ. 30 ก็จะไม่เป็นเรื่องยากเลย เนื่องจากในเอกสารจะบอกไว้อย่างละเอียดเลยว่ามีรายรับรายจ่ายมากน้อยเพียงใด มี Statement กับทางสถาบันการเงินเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจน

แต่ถ้าหากเป็นกิจการ SME ประเภทที่ไม่ได้จดทะเบียนการค้าล่ะก็ จำเป็นอย่างมากที่จะต้องโชว์ Statement ให้กับสถาบันการเงินดู มากไปกว่านั้นบิลค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับกิจการก็จำเป็น มากไปกว่านี้รายรับจะต้องสอดคล้องไปกับรายจ่ายด้วยเช่นเดียวกัน

5. กู้ร่วม (กู้ซื้อบ้าน)

“กู้ร่วม” เป็นการทำสัญญากู้สินเชื่อด้วยกัน ซึ่งจะมีอีกคนมาช่วยรับผิดชอบในหนี้ ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะทำให้ความฝันการอยากมีบ้านเป็นจริงมากขึ้น เนื่องจากจะช่วยให้สถาบันการเงินมีความมั่นใจในตัวผู้กู้ได้ว่า มีผู้กู้ร่วมที่มีศักยภาพที่จะผ่อนชำระได้ ข้อดีของการกู้ร่วม คือ จะขอสินเชื่อได้ง่ายขึ้น ได้วงเงินเพิ่มมากขึ้น ไม่ต้องแบกรับภาระหนี้เพียงคนเดียว

และถ้าใครกำลังมองหาสินเชื่อบ้านดี ๆ อยู่ล่ะก็ขอแนะนำ

สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย
  • อัตราดอกเบี้ยบ้านมือสอง และบ้านมือหนึ่งต่ำ
  • ได้วงเงินกู้สูงสุด 90% ของราคาประเมิน
  • อนุมัติเร็ว
  • สบาย ๆ กับการผ่อนชำระนานได้นานสูงสุดถึง 30 ปี (ระยะเวลาการผ่อนชำระเมื่อรวมกับอายุผู้กู้แล้วต้องไม่เกิน 65 ปี)
สิทธิพิเศษ สำหรับผู้ใช้บัญชีเงินเดือนผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยา รับส่วนลดอัตราดอกเบี้ยพิเศษปีแรก 0.25% จากอัตราดอกเบี้ยปกติ

ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ www.krungsri.com คลิกเลย

จะเห็นได้ว่าการเตรียมพร้อมที่จะกู้ซื้อบ้านจากธนาคารเป็นเรื่องทั่วไป เพียงแต่อาจจะละเลยไปบ้างเท่านั้น และไม่ได้วางแผนการเงิน แต่เมื่อใดก็ตามที่ถึงเวลาที่จะใช้เงินจากธนาคารก็ขาดความพร้อม และไม่ได้เงินตามที่ต้องการ แต่สำหรับกิจการที่ได้เตรียมความพร้อมไว้เป็นอย่างดีแล้ว มีการวางแผนการเงินที่ดี มีเวลาให้ธนาคารดำเนินการพิจารณาการขออนุมัติสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน ก็ย่อมมีความเป็นไปได้สูงที่จะได้รับเงินกู้ตามแบบที่ไม่สะดุดเลย
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา