รู้จักสินเชื่อส่วนบุคคลไม่เช็คบูโร เครดิตไม่ดีก็กู้ได้
รอบรู้เรื่องยืมเงิน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

รู้จักสินเชื่อส่วนบุคคลไม่เช็คบูโร เครดิตไม่ดีก็กู้ได้

icon-access-time Posted On 04 พฤษภาคม 2565
by Krungsri The COACH
หลายคนอาจจะมีข้อสงสัยว่าถ้าเป็นหนี้และมีประวัติเครดิตเสียอยู่ เรายังสามารถขอกู้เงินเพิ่มเติมได้ไหม ? หรือต้องเคลียร์หนี้เก่าที่ยังค้างให้หมดก่อนถึงจะขอสินเชื่อได้ ?

สำหรับใครที่สงสัยในเรื่องนี้ ขอตอบให้เคลียร์ก่อนเลยว่า “หากใครมีภาระหนี้อยู่ ก็ยังสามารถขอสินเชื่อเพิ่มเติมได้แน่นอน” เพราะปัจจุบันมีสินเชื่อเพื่อคนติดบูโร และสินเชื่อส่วนบุคคลไม่เช็คบูโร ที่สามารถช่วยเหลือคนที่มีประวัติหนี้เยอะ แต่จะมีเงื่อนไข หรือควรรู้สักนิดก่อนที่เราจะขอสินเชื่อใหม่ อะไรคือจุดบอดที่อาจทำให้เราพลาดการขอสินเชื่อครั้งนี้ มาหาคำตอบเกี่ยวกับการขอสินเชื่อเพื่อคนติดบูโรไปด้วยกันเลย

เครดิตบูโรคืออะไร ?

หลายคนอาจจะเข้าใจว่า เครดิตบูโร หรือ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด (National Credit Bureau : NCB) เป็นผู้กำหนดว่าใครติดแบล็กลิสต์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว เครดิตบูโรทำหน้าที่เป็นเพียงหน่วยงานกลางที่รวบรวม และจัดเก็บข้อมูลประวัติการชำระสินเชื่อ และบัตรเครดิตจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิกเท่านั้น โดยข้อมูลเหล่านี้จะถูกจัดทำเป็นรายงานข้อมูลเครดิต เพื่อให้สถาบันการเงินใช้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อนั่นเอง
 

กรณีไหนบ้างที่จะเรียกได้ว่าติดเครดิตบูโร

คำว่า “ติดเครดิตบูโร” เป็นคำที่คนทั่วไปใช้เรียกสถานการณ์ที่ประวัติข้อมูลเครดิตของเรามีรายการที่สถาบันการเงินมองว่าเป็นความเสี่ยงสูง โดยส่วนใหญ่มักหมายถึงการมีประวัติค้างชำระหนี้เป็นระยะเวลานานเกิน 90 วัน ซึ่งสถานะนี้จะถูกบันทึกไว้ในรายงานข้อมูลเครดิต และเมื่อเราไปยื่นขอสินเชื่อใหม่ สถาบันการเงินจะเห็นประวัติดังกล่าว และอาจใช้เป็นเหตุผลในการปฏิเสธคำขอสินเชื่อได้ เพราะบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ในอนาคต
 

ติดแบล็กลิสต์กับติดเครดิตบูโรเหมือนกันไหม ต่างกันอย่างไร

ดังที่กล่าวไปข้างต้น คำว่า “ติดเครดิตบูโร” คือการมีประวัติการชำระหนี้ที่ไม่ดีปรากฏอยู่ในรายงานข้อมูลเครดิต ส่วนคำว่า “ติดแบล็กลิสต์” นั้น ไม่ใช่คำศัพท์ที่มาจากเครดิตบูโร แต่เป็นคำที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งใช้เรียกบัญชีรายชื่อลูกค้าที่เคยมีประวัติผิดนัดชำระหนี้กับสถาบันของตนเอง หรือมีประวัติความเสี่ยงสูงจากข้อมูลเครดิตบูโร ดังนั้น เราไม่ได้ติดแบล็กลิสต์จากเครดิตบูโรโดยตรง แต่สถาบันการเงินเป็นผู้พิจารณาจัดเราให้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง โดยใช้ข้อมูลจากเครดิตบูโรเป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจนั่นเอง
 

จะรู้ได้อย่างไรว่าติดบูโรอยู่ แนะนำวิธีเช็คด้วยตัวเองง่าย ๆ

ก่อนที่จะกังวลไปเอง การตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตัวเองเป็นประจำคือสิ่งที่ดีที่สุด เพราะจะทำให้เรารู้สถานะทางการเงิน และเห็นประวัติสินเชื่อทั้งหมดของตัวเอง ปัจจุบันการเช็คเครดิตบูโรทำได้ง่าย และสะดวกมากผ่านช่องทางออนไลน์ ดังนี้
  • ผ่าน Mobile Banking : สามารถยื่นคำขอผ่านแอปพลิเคชันของธนาคารต่าง ๆ ที่เข้าร่วมโครงการ เช่น krungsri app โดยสามารถรับรายงานในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (NCB e-Credit Report) ทางอีเมลได้ทันที
  • ผ่านแอปพลิเคชัน Bureau OK : แอปพลิเคชันโดยตรงของเครดิตบูโร สามารถลงทะเบียนและรับรายงานทางอีเมลได้เช่นกัน
  • ผ่านตู้คีออส : ตรวจสอบ และรอรับรายงานได้ทันทีภายใน 15 นาที ที่ตู้บริการอัตโนมัติ (ตู้คีออส) ในสถานีรถไฟฟ้า BTS หรือจุดบริการอื่น ๆ
 

สถานะเครดิตบูโรที่ทุกคนควรรู้ไว้

เมื่อได้รับรายงานข้อมูลเครดิตมาแล้ว เราอาจจะเจอตัวเลขสถานะบัญชีต่าง ๆ ซึ่งแต่ละรหัสก็มีความหมายแตกต่างกันไป ตัวอย่างสถานะที่พบบ่อยมีดังนี้
  • 10 - ปกติ : สถานะดี มีการชำระหนี้ตรงเวลา ไม่มียอดค้าง
  • 11 - ปิดบัญชี : หนี้ก้อนนั้นได้รับการชำระหมดสิ้นแล้ว บัญชีถูกปิดเรียบร้อย
  • 12 - พักชำระหนี้ : อยู่ในกระบวนการพักชำระหนี้ตามมาตรการของสถาบันการเงิน
  • 20 - หนี้ค้างชำระเกิน 90 วัน : เป็นสถานะที่สถาบันการเงินให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เพราะบ่งชี้ถึงการมีประวัติผิดนัดชำระหนี้
 

ภาระหนี้เยอะ สามารถขอสินเชื่อเพิ่มได้ไหม ?

การมีภาระหนี้เยอะไม่ได้หมายความว่าจะขอสินเชื่อเพิ่มไม่ได้เสมอไป สถาบันการเงินจะพิจารณาจากหลายปัจจัยประกอบกัน โดยเฉพาะ “ความสามารถในการชำระหนี้” ซึ่งดูจากรายได้ที่มั่นคงเทียบกับภาระหนี้สินที่มีอยู่ หากคุณมีประวัติการชำระหนี้ที่ดีมาโดยตลอด และยังมีศักยภาพในการผ่อนชำระหนี้เพิ่ม โอกาสในการได้รับอนุมัติสินเชื่อก็ยังมีอยู่ ดังนั้น ใครที่อยากซื้อบ้านแต่เครดิตไม่ดีอยู่ หรืออยากขอสินเชื่ออื่น ๆ แต่ไม่มั่นใจว่าทำได้ไหม แนะนำให้สอบถามกับเจ้าหน้าที่ธนาคารโดยตรงก็จะแม่นยำที่สุด แต่ทั้งนี้ ก็มีหนี้บางประเภทที่อาจส่งผลต่อการพิจารณาได้เช่นกัน
 

สินเชื่อส่วนบุคคลไม่เช็คบูโร คืออะไร ?

สินเชื่อส่วนบุคคลไม่เช็คบูโร คือ ผลิตภัณฑ์สินเชื่อประเภทหนึ่งที่สถาบันการเงิน ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็น Non-Bank ไม่ได้นำข้อมูลจากเครดิตบูโรมาเป็นปัจจัยหลักในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสถาบันการเงินต้องแบกรับความเสี่ยงที่สูงขึ้น สินเชื่อประเภทนี้จึงอาจมีเงื่อนไขอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น อัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าปกติ การขอหลักทรัพย์ค้ำประกัน หรือจำกัดวงเงินให้กู้ยืมที่ไม่สูงมากนัก
 
ขอสินเชื่อส่วนบุคคลไม่เช็คบูโรอนุมัติผ่านได้ง่าย
 

มีหนี้แบบไหน ที่อาจทำให้การขอสินเชื่อยากขึ้น ?

คำถามนี้ต้องมาดูตัวเราก่อนว่า ตอนนี้เรากำลังเป็นหนี้ในรูปแบบใดอยู่ มีประวัติค้างชำระเกินกำหนดไหม ? หากเรามีหนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หรือหนี้บัตรเครดิตที่ยังมีอยู่กับสถาบันการเงินในระบบ แล้วเรามีประวัติหนี้ค้างชำระ หรือมียอดหนี้สูงจนเกินไป การอนุมัติสินเชื่อก็จะทำได้ยากขึ้น

แต่หากว่าเรามีหนี้หลายก้อนทั้งบ้าน รถ หรือบัตรเครดิต อยากขอสินเชื่อปิดหนี้ โดยที่ยังไม่มีประวัติค้างชำระเกินกำหนด และทางธนาคารเห็นว่าเรามีความสามารถในการชำระหนี้ จ่ายตรงเวลาและเต็มจำนวนทุกครั้ง ถึงจะมีหนี้มากแค่ไหน แต่ประวัติทางการเงินเราดี ทางธนาคารเจ้าของสินเชื่อ เห็นแบบนี้ก็อนุมัติสินเชื่อให้เราได้ไม่ยาก

นอกจากนี้ หากคุณต้องการขอสินเชื่อส่วนบุคคลไม่เช็คบูโรให้อนุมัติผ่านได้ง่ายขึ้น อาจต้องใช้ทรัพย์สิน เช่น บ้าน หรือรถยนต์มาเป็นหลักประกันสำหรับการยื่นขอสินเชื่อ โดยสถาบันการเงินหรือธนาคารจะดูความเหมาะสมของทรัพย์สิน และมูลค่าของหลักประกัน เพื่อที่เวลาปล่อยสินเชื่อไปแล้วจะช่วยลดความเสี่ยง เช่น การถูกเบี้ยว หรือถูกฟ้องจากการผิดชำระหนี้นั่นเอง
 

เมื่อติดเครดิตบูโรแล้ว ต้องแก้ไขอย่างไร

หากตรวจสอบแล้วพบว่ามีประวัติค้างชำระ อย่าเพิ่งท้อใจ เราสามารถแก้ไขและสร้างประวัติใหม่ให้ดีขึ้นได้ โดยเริ่มต้นจากขั้นตอนเหล่านี้
  • หยุดสร้างหนี้ใหม่ : ควบคุมค่าใช้จ่ายและงดการก่อหนี้ที่ไม่จำเป็นเพิ่ม
  • เจรจากับเจ้าหนี้ : ติดต่อสถาบันการเงินเพื่อขอปรับปรุงโครงสร้างหนี้ หรือหาทางออกในการชำระหนี้ร่วมกัน
  • ชำระหนี้ที่ค้าง : พยายามชำระหนี้ที่คงค้างอยู่ให้หมดโดยเร็วที่สุด โดยอาจเริ่มจากหนี้ก้อนเล็ก ๆ ก่อนเพื่อสร้างกำลังใจ
  • สร้างประวัติใหม่ที่ดี : สำหรับหนี้ที่ยังเหลืออยู่ หรือหนี้ก้อนใหม่ที่จำเป็น ให้ชำระตรงเวลาและเต็มจำนวนอย่างสม่ำเสมอ
  • รักษาวินัยอย่างต่อเนื่อง : เมื่อเวลาผ่านไป 3 ปี ประวัติเก่าจะหายไป และประวัติใหม่ที่ดีจะเข้ามาแทนที่ ทำให้เครดิตของเรากลับมาดีอีกครั้ง
 
ติดแบล็คลิสต์ขอสินเชื่อเพื่อคนติดบูโร ต้องทำอย่างไร
 

ขอสินเชื่อปิดหนี้ ลดความเสี่ยงติดเครดิตบูโร ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง

การขอสินเชื่อเพื่อคนติดบูโรจากสถาบันการเงิน หรือธนาคารที่อยู่ในระบบ ไม่ว่าธนาคารใดก็ตาม เราก็แค่เตรียมเอกสารที่สำคัญให้พร้อมก็พอ เช่น
  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สลิปเงินเดือนฉบับล่าสุด หรือหนังสือรับรองการทำงาน แต่ถ้าเป็นเจ้าของกิจการให้นำหนังสือรับรองบริษัท และบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นจากกระทรวงพาณิชย์ (คัดรับรองไม่ควรเกิน 3 เดือน)
  • สำเนาบัญชีเงินฝากที่เงินเดือนของเราเข้า ย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
  • สำเนาบัญชีเงินฝากหน้าแรกของธนาคารกรุงศรี

เมื่อเตรียมเอกสารพร้อมแล้ว สามารถไปยื่นขอสินเชื่อเพื่อคนติดบูโรได้ที่ธนาคารกรุงศรี สาขาใกล้บ้าน แต่ถ้าช่วงนี้ไม่อยากหลีกเลี่ยงการออกนอกบ้าน เราก็สามารถยื่นขอสินเชื่อผ่านโมบายแอป อย่าง krungsri app ซึ่งมีบริการ สินเชื่อ Krungsri iFIN ที่รองรับการสมัครแบบออนไลน์ วงเงินสูงสุดถึง 2 ล้านบาท หรือไม่เกิน 5 เท่าของรายได้* ส่วนวิธียื่นขอสินเชื่อก็ง่ายสะดวก เพียงแค่มีสมาร์ตโฟนเครื่องเดียวก็ยื่นเอกสารและทำรายการได้อย่างสะดวก ไม่ต้องออกจากบ้านไปเสี่ยงเชื้อโรคให้วุ่นวาย นอนอยู่บ้านก็รับเงินจากสินเชื่อส่วนบุคคลไม่เช็คบูโรได้เลย
  • กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว | อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกปกติ 21% - 25% ต่อปี*
*ศึกษารายละเอียด เงื่อนไข และอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพิ่มเติมที่ www.krungsri.com
 

เคล็ดลับขอสินเชื่อเพื่อคนติดบูโร อยากกู้เงินในระบบทำได้ไม่ยาก

เช็คเอกสารให้ครบแล้ว แต่ยังขอสินเชื่อปิดหนี้ไม่ผ่านสักที ไม่ว่าจะเป็นเพราะติดบูโรหรือเหตุผลอื่น เอาเป็นว่าลองนำเคล็ดลับการขอสินเชื่อไม่เช็คบูโรแบบง่าย ๆ ให้ผ่านในรอบเดียวจากเราไปเลยดีกว่า เพิ่มโอกาสให้ผ่านในครั้งเดียวตามนี้!
 

1. มารวมหนี้ที่มีให้เป็นก้อนเดียว

ติดต่อสถาบันการเงินหรือธนาคารเพื่อขอรวมหนี้เป็นก้อนเดียว ถึงติดบูโรก็สามารถเจรจาขอเป็นสินเชื่อเพื่อคนติดบูโรได้ ส่วนดอกเบี้ยของหนี้แต่ละอันก็จะถูกนำมารวมเป็นยอดเดียว เราจะจ่ายเต็มก้อน หรือแบ่งชำระเป็นงวด ๆ เหมือนเดิมก็ทำได้ และเวลาที่เราไปทำเรื่องขอสินเชื่อ หากเรามียอดหนี้ที่เป็นก้อนเดียว เมื่อยื่นเรื่องจะได้รับการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อง่ายกว่า และเราก็สามารถวางแผนการเงินได้ง่ายอีกด้วย
 

2. ใช้หลักทรัพย์มาค้ำประกัน อนุมัติง่ายกว่าเดิม

สินทรัพย์ที่ใช้ค้ำประกันได้อย่างเช่น บ้าน ที่ดิน อสังหาฯ ที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ต่าง ๆ ที่เราครอบครอง รถยนต์ส่วนตัว หรือแม้กระทั่งบัญชีเงินฝากก็สามารถนำมาใช้ค้ำประกันให้เราได้ และการใช้หลักทรัพย์ในการมาค้ำประกัน เรามักมีโอกาสได้สินเชื่อส่วนบุคคลไม่เช็คบูโรมากสูงสุดถึง 3 เท่าของหลักทรัพย์ที่นำมาใช้
 

3. หาคนมาร่วมขอสินเชื่อ เพิ่มความชัวร์

กู้ร่วมกันย่อมมีเครดิตที่ดีกว่าคนเดียว โดยเฉพาะหากว่าคนที่ขอสินเชื่อปิดหนี้มีประวัติหนี้เสียหรือติดบูโร และการสินเชื่อเพื่อคนติดบูโร หากว่าคนที่มากู้ร่วมกับเรามีประวัติทางการเงินที่ดี มีเงินเดือนเยอะ แต่หนี้น้อย ยิ่งมีโอกาสสินเชื่อผ่านสูงขึ้น และมีโอกาสได้รับวงเงินสินเชื่อที่มากขึ้นกว่าการยื่นขอสินเชื่อคนเดียว แต่ข้อควรระวังของทำแบบนี้คือ ผู้กู้ร่วมจะต้องเป็นคนชำระดอกเบี้ยด้วยเหมือนกัน หากอีกฝ่ายเกิดการผิดนัดชำระหนี้ เราอาจต้องเป็นผู้รับผิดชอบเงินในส่วนนี้ทั้งหมด ดังนั้นก่อนที่จะไปทำเรื่องกู้ร่วม เราต้องมั่นใจจริง ๆ ว่าต้องไม่มีใครผิดนัดชำระหนี้ ไม่อย่างงั้นสินเชื่อก้อนนี้จากเรื่องดี ๆ จะกลายเป็นเรื่องแย่ไปเลย
 

หลังจากที่ปิดหนี้แล้ว สถานะในเครดิตบูโรจะอยู่ได้กี่ปี

ตามกฎหมายแล้ว บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จะเก็บข้อมูลประวัติการชำระหนี้ของเราไว้ในระบบไม่เกิน 3 ปี หรือ 36 เดือน นับจากวันที่ได้รับข้อมูลจากสถาบันการเงิน ดังนั้นเมื่อเราชำระหนี้ที่เคยค้างจนหมดแล้ว สถานะในรายงานจะเปลี่ยนเป็น “ปิดบัญชี” แต่ประวัติการค้างชำระในอดีตจะยังคงแสดงอยู่ในรายงานต่อไปจนกว่าจะครบกำหนด 3 ปี และจะถูกลบออกจากรายงานโดยอัตโนมัติ
 

แนะนำแนวทางวางแผนทางการเงินเพื่อไม่ให้คนติดบูโร

การป้องกันย่อมดีกว่าการแก้ไขเสมอ เพื่อรักษาสุขภาพทางการเงินให้แข็งแรงและหลีกเลี่ยงการมีประวัติเสียในข้อมูลเครดิต ลองนำแนวทางเหล่านี้ไปปรับใช้ดู
  • ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย : เพื่อให้เห็นภาพรวมการเงินของตัวเองและควบคุมค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
  • สร้างเงินออมฉุกเฉิน : ควรมีเงินสำรองอย่างน้อย 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายต่อเดือน เผื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
  • ใช้บัตรเครดิตอย่างชาญฉลาด : รูดเท่าที่จำเป็น และพยายามจ่ายเต็มจำนวนทุกครั้งเพื่อหลีกเลี่ยงดอกเบี้ย
  • ควบคุมสัดส่วนหนี้ : ภาระหนี้ต่อเดือนไม่ควรเกิน 40% ของรายได้ เพื่อให้ยังมีสภาพคล่องในการใช้ชีวิต
  • ตรวจสอบเครดิตบูโรเป็นประจำ : อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง เพื่อตรวจสอบความถูกต้องและสถานะทางการเงินของตัวเอง

สำหรับเรื่องของคนที่มีหนี้ แล้วมีคำถามเรื่องสินเชื่อเพื่อคนติดบูโร และการกู้ขอสินเชื่อปิดหนี้ โดยไม่ให้การติดบูโร คงได้รับคำตอบ และไกด์ไลน์ในการบริหารเงินเอาไว้เป็นตัวอย่าง หากเราไม่จำเป็นจริง ๆ ไม่ควรก่อหนี้ หรือสร้างหนี้เพิ่มอีกแล้ว หลังจากได้รับโอกาสได้เงินก้อนจากสินเชื่อ แต่ถ้าจะต้องเป็นหนี้จริง ๆ อยากให้คิดก่อนว่าหนี้ที่เราจะสร้างมันถึงเวลาแล้วรึยัง ถ้ายังรออีกนิดแล้ว เก็บออมเงิน แล้วค่อยซื้อเมื่อชีวิตบอกว่าพร้อมจริง ๆ จะดีกับตัวเราเองมากกว่า
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา