Jar of Life หรือทฤษฎีกระปุกทราย เป็นหนึ่งในทฤษฎีที่มีชื่อเสียง มีการพูดถึงอย่างแพร่หลายมาก เพราะเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการบริหารเวลาในชีวิตที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยการจัดลำดับความสำคัญของสิ่งต่าง ๆ และเลือกทำในสิ่งที่สำคัญที่สุดเป็นอันดับแรก สำหรับที่มาของแนวคิดนี้ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเป็นของใคร เนื่องจากเป็นแนวคิดที่ผู้คนบอกเล่า และใช้กันต่อ ๆ กันมา ทั้งในโลกออนไลน์ ในหนังสือหรืองานสัมมนาต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาตัวเอง
ทฤษฎีกระปุกทราย เป็นแนวความคิดเชิงเปรียบเทียบถึงการจัดเรียงสิ่งความสำคัญในชีวิตเพราะเวลามีอยู่อย่างจำกัด ขวดกระปุก หรือขวดโหล เปรียบเหมือนกับเวลาในชีวิตของเรา หากเรา
อยากประสบความสำเร็จเราควรนำก้อนหินใหญ่ ๆ มาใส่ก่อน ตามด้วยก้อนกรวด และเม็ดทราย
กระปุกหรือขวดโหล คือ เวลาชีวิตของคนเรา
1. หินก้อนใหญ่ คือ สิ่งที่สำคัญที่สุด
ได้แก่ สุขภาพ ครอบครัว เพื่อน ความสัมพันธ์ ความสุข เรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องใหญ่ หรือเรื่องสำคัญมากที่เงินซื้อไม่ได้
2. ก้อนกรวด คือ สิ่งสำคัญรองลงมา
ได้แก่ งาน บ้าน รถยนต์ ทรัพย์สิน และงานอดิเรก สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นสิ่งสำคัญที่ให้ชีวิตของคุณมีความหมาย แต่หากเราขาดสิ่งเหล่านี้ชีวิตเรายังสามารถไปต่อได้ เนื่องจากชีวิตยังคงเต็มเปี่ยมด้วยหินก้อนใหญ่
3. ทราย คือ สิ่งสำคัญน้อยที่สุด
ถ้าเรามัวแต่ใช้เวลาพลังกับสิ่งเล็ก ๆ เราจะไม่มีเวลากับสิ่งสำคัญเพราะสิ่งเราเหล่านี้ไปเติมในพื้นที่ช่องว่างในแต่ละวันของเรา เช่น การเล่นสื่อ Social Media การ Shopping ดูหนัง ฟังเพลง หรือแม้แต่กระทั่งการใช้เวลาหมดไปกับความเครียด การวิตกกังวล เป็นต้น
ดังนั้นหากเราลำดับความสำคัญไม่ถูกต้อง จะทำให้เวลาที่เรามีหมดไปกับเรื่องที่สำคัญน้อย หรือไม่สำคัญเลย จนหลงลืมไปว่าสิ่งสำคัญในชีวิตของเราคืออะไร? เราได้ให้เวลากับสิ่งสำคัญเหล่านั้นหรือไม่
ทีนี้เรามาดูกันว่าแล้วทฤษฎีกระปุกทรายเราจะสามารถนำมาประยุกต์กับการบริหารการเงินเราได้อย่างไร?
อย่างที่รู้ ๆ กันว่าการที่เราจะออมเงินให้ได้เยอะนั้น อาศัยสิ่งหลัก ๆ อยู่ 3 สิ่ง คือ เงินต้น เวลา และอัตราผลตอบแทน เห็นไหมว่าเวลาเป็นหนึ่งใน 3 ปัจจัยหลัก ที่จะทำให้เงินเรางอกเงย เติบโต ดังนั้นเราควรตั้งใจวางแผนออมเงินตั้งแต่เนิ่น ๆ เพื่อที่เราจะได้
มีอิสรภาพทางการเงิน ไม่ต้องคอยกังวลว่าตอนเกษียณเราจะมีเงินไม่พอใช้ ดังนั้นวิธีนี้คือการเรียงจัดลำดับความสำคัญของเป้าหมายนั่นก็คือ หินก้อนใหญ่ ก้อนกรวด และเม็ดทราย
ในที่นี้หินก้อนใหญ่ คือ เป้าหมายหลักเป็นเป้าหมายสำคัญมาก ๆ ในชีวิต เช่น วางแผนการเงินสำรองยามฉุกเฉิน วางแผนเกษียณอายุ
วางแผนการศึกษาของลูก วางแผนสุขภาพ ซึ่งเป้าหมายเหล่านี้ไม่มีไม่ได้ เพราะเราคงไม่อยากทำงานไปตลอดชีวิต หรือไม่มีเงินจ่ายค่าเทอมลูก และแม้แต่วางแผนสุขภาพ มีการรับมือค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น หากเราป่วย เป็นต้น
ดังนั้นเราควรให้ความสำคัญกับก้อนหินก้อนใหญ่นี้ก่อน มีการวางแผนออมเงินในส่วนนี้เป็นอันดับแรก
ต่อมาก้อนกรวด คือ เป้าหมายการเงินที่สำคัญรองลงมา จำเป็นแต่ไม่ใช่ที่สุด เช่น วางแผนซื้อบ้าน ซื้อรถ วางแผนทำธุรกิจ ดังนั้นหากเรามีการออมเงินในเป้าหมายหลักแล้ว เราอาจแบ่งเงินเพื่อเป้าหมายรองต่อมา
ถัดไปเม็ดทราย คือเป้าหมายที่สำคัญน้อยที่สุด เช่น ออมเงินเพื่อ Shopping ไปเที่ยว ไปดูคอนเสิร์ตต่างประเทศ ออมเงินเพื่อใช้จ่ายกับความเพลิดเพลินต่าง ๆ เป็นต้น เพราะชีวิตพวกเรานั้นมีแค่ชีวิตเดียวเท่านั้น และสั้นมาก หากเราอยากที่จะมีอิสรภาพทางการเงิน ไม่เป็นภาระใครในบั้นปลายชีวิต เราควรเรียงลำดับความสำคัญของเป้าหมายให้ดี ๆ เริ่มให้เร็ว และมีประสิทธิภาพมากที่สุด เพราะเวลาเป็นต้นทุนที่จำกัด โดยเมื่อเรามีรายรับเข้ามา
โดยเราอาจมีการแบ่งสัดส่วนการออมเงิน จัดการอย่างเหมาะสม เช่น ทุกรายรับเข้ามา มีการแบ่งเงินออม 20% โดยเงินออม 20% นั้น แบ่งไปอยู่ในเป้าหมายหลักก่อน แล้วแบ่งไปในบัญชีต่าง ๆ ขอยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่าย
หากเรามีเงินเดือนเข้ามา 50,000 บาท เราแบ่งเงินออม 20% อีก 80% ไว้เป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ โดย 20% หรือ 10,000 บาท
เราอาจแบ่ง เป้าหมายหลัก คือเป้าหมายสำคัญ เราอาจให้ความสำคัญกับการออมเงินเพื่อการเกษียณอายุ และการศึกษาลูก เท่า ๆ กัน 30% หรือ 3,000 บาท เพื่อการเกษียณอายุ อีก 30% หรือ 3,000 บาท เพื่อการศึกษาลูก และถัดมาอีก 20% หรือ 2,000 บาท แบ่งเป็นเงินสำรองยามฉุกเฉิน และสุดท้ายในเป้าหมายหลัก เราอาจแบ่งเงิน 15% หรือ 1,500 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายเงินออมด้านสุขภาพ เป็นต้น
ส่วนเป้าหมายรอง หรือ เป้าหมายสำคัญน้อยสุด แต่เราก็ยังอยากใช้ชีวิตนะ เช่น เป้าหมายออมเพื่อการท่องเที่ยว เราวางแผนว่าปีนี้เราจะเก็บเงินเที่ยวในประเทศ เราอาจจะแบ่งออมที่เหลือ อีก 5% หรือ 500 บาท เป็นต้น
จากตัวอย่างข้างต้น เป็นตัวอย่างใน
การจัดการ วางแผนบริหารออมเงิน เพื่อให้เห็นภาพในการแบ่งจัดสรรเงิน แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลในการจัดเรียงความสำคัญ และสัดส่วนการออมเงินนะ
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราจัดเรียงความสำคัญเป้าหมายออกมาชัดเจน จะทำให้เรารู้ว่าเป้าหมายการเงินอะไรเป็นสิ่งสำคัญ หากเรามัวแต่ใช้จ่ายกับเม็ดทราย หรือเป้าหมายทางการเงินที่ไม่จำเป็น จะทำให้เงินที่เรามีหมดลงได้ ออมไม่ทัน ไม่มีเงินออมเหลือเก็บ เวลาผ่านล่วงเลยไป ความสามารถในการหาเงินก็อาจลดน้อยลง ถึงตอนนั้นอาจสายเกินไปที่เราจะมีอิสรภาพทางการเงิน
ดังนั้นหากเราเริ่มใช้ทฤษฎีกระปุกทรายตั้งแต่ตอนนี้ โดยเราเริ่มแบ่งเงินออมแยกไปในบัญชีต่าง ๆ ให้ชัดเจน สามารถทำได้ง่าย ๆ โดยใช้ตัวช่วยด้วยบริการของกรุงศรี Kept Together Savings เครื่องมือในการบริหารเงิน เก็บด้วยกันเพื่ออนาคตที่กำหนดได้ บริหารเงินตามเป้าหมาย เก็บเพื่อใช้จ่ายตามใจฝัน พร้อมกันกับคนที่คุณรัก! Kept by Krungsri ขอเป็นตัวช่วยในการเพิ่มเงินออม พิชิตเป้าหมายของคุณให้สำเร็จ
ถ้าหากสนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมตรงนี้ได้เลย
ลองนำทฤษฎีกระปุกไปประยุกต์ใช้ทั้งในแง่ของการจัดการเวลาชีวิต และการวางแผนบริหารจัดการเรื่องการเงินดูนะ แล้วชีวิตเราจะเต็มเปี่ยมไปด้วยความหมาย
มีอิสรภาพทางการเงิน ได้ใช้ชีวิตแบบที่เราต้องการ