เก็บเงินในบัญชีเงินฝากอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

เก็บเงินในบัญชีเงินฝากอย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

icon-access-time Posted On 25 มกราคม 2566
by Krungsri The COACH
การเก็บเงินไม่ยากอย่างที่คิด แค่เรารู้วิธี และนำมาปรับใช้จนกลายเป็นนิสัย เพื่อให้เกิดวินัย ใครอยากรู้วิธีเก็บเงิน ในบัญชีเงินฝากให้ได้ประโยชน์สูงสุด ไม่ควรพลาดบทความนี้ เพราะเรามีเคล็ดลับดี ๆ มาฝาก…แต่ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจบัญชีเงินฝากกันก่อนว่ามีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร เพื่อที่เราจะได้ใช้บัญชีให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ ถ้าพร้อมแล้วตามมาเลย!
 
4 ประเภทบัญชีเงินฝาก ทางลัดสู่อนาคต (เงินล้าน)
 

รู้จักประเภทบัญชีเงินฝาก ทางลัดสู่ความมั่งคั่ง

1. บัญชีเงินฝากออมทรัพย์

บัญชีเงินฝากออมทรัพย์เป็นบัญชีที่ให้ความคล่องตัวในการฝาก-ถอน เพราะไม่มีกำหนดจำนวนเงินขั้นต่ำ อยากฝาก-ถอนหรือทำรายการต่างๆ เมื่อไหร่ก็ได้ ที่ดีกว่านั้นคือ สมัยนี้ธนาคารยังมีบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง เช่น บัญชีออมทรัพย์มีแต่ได้ ออนไลน์ ที่เหมาะใช้เป็นบัญชีเก็บเงิน โดยผู้ฝากจะได้รับดอกเบี้ยสูงสุด 1.5% ต่อปี* ตั้งแต่บาทแรก ธนาคารคิดดอกเบี้ยทุกวัน จ่ายดอกเบี้ยให้ทุกเดือน ซึ่งหากใครสนใจเก็บเงินแบบมีความคล่องตัว ก็สามารถเปิดบัญชีนี้เองได้เลยผ่าน KMA-Krungsri Mobile App เป็นบัญชีสำหรับเก็บเงินตามกำหนดระยะเวลา เช่น 3, 6, 12, 24, 36 เดือน โดยมีจำนวนฝากเงินขั้นต่ำเพียง 1,000 บาท เมื่อครบกำหนดไถ่ถอน ผู้ฝากสามารถอนเงินได้พร้อมดอกเบี้ย ซึ่งธนาคารจ่ายดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป บัญชีเงินฝากประเภทนี้เหมาะกับใครที่ต้องการเก็บเงินเย็น ไม่รีบใช้เงิน นอกจากนี้ผู้ฝากยังสามารถใช้เงินในบัญชีเงินฝากประจำนี้เป็นหลักประกันในการขอสินเชื่อต่าง ๆ จากธนาคารได้ด้วย

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วถ้าใครสนใจอยากฟังต่อแบบรวดเดียวจบขอแนะนำ “Krungsri The COACH Ep.56 How to ใช้บัญชีเงินฝากจัดการเงินให้ได้ผลประโยชน์สูงสุด” เข้าไปฟังกันต่อได้เลย

มีจุดเด่น คือ เป็นบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูง แถมดอกเบี้ยที่ได้รับไม่ต้องเสียภาษี ดังนั้นผู้ฝากจะได้รับผลตอบแทนแบบจัดเต็ม ทั้งยังช่วยสร้างวินัยการเก็บเงินด้วย เพียงทยอยฝากเงินจำนวนเท่ากับจำนวนเงินที่เปิดบัญชีเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 1 ครั้ง ระยะเวลา 24 เดือน และ 36 เดือน ขั้นต่ำเดือนละ 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท (สำหรับเงินฝากประจำปลอดภาษี 24 เดือน) หรือสูงสุดไม่เกิน 16,000 บาท (สำหรับเงินฝากประจำปลอดภาษี 36 เดือน) บัญชีนี้เหมาะกับใครที่ค่อย ๆ เก็บเงินไปทุกเดือน โดยไม่ต้องฝากเงินจำนวนมาก ๆ ในคราวเดียว และเมื่อครบกำหนดระยะเวลาฝากก็จะได้รับดอกเบี้ยตามเงื่อนไข เป็นบัญชีที่เหมาะสำหรับธุรกิจการค้าที่มีการรับ-จ่ายเงินหมุนเวียนอยู่เป็นประจำ ข้อดีของบัญชีนี้ คือ สามารถเบิกเกินบัญชีได้ หรือที่เรียกกันว่า ขอ (OD: Over Draft) ซึ่งธนาคารจะคิดอัตราดอกเบี้ยรายวันที่เบิกเกินบัญชี การใช้จ่ายเงินในบัญชีกระแสรายวันจะเป็นในรูปแบบการเขียนเช็คสั่งจ่ายล่วงหน้าแทนเงินสด และผู้รับเช็คจะนำไปขึ้นเงินกับธนาคาร ซึ่งบัญชีเงินฝากกระแสรายวันจะไม่มีการจ่ายดอกเบี้ยให้ผู้ฝาก

ต่อไปเรามาดูในส่วนของเคล็ดลับเก็บเงินจากบัญชีเงินฝากให้ได้ผล จะมีอะไรบ้างไปดูกัน…
 
เคล็ดลับง่าย ๆ ด้วยหลัก 4 ประการออมเงินบัญชีเงินฝากให้ได้ผลสูงสุด
 

เคล็ดลับง่าย ๆ ด้วยหลักเก็บเงิน 4 ประการ

  • แบ่ง
    เป็นวิธีง่าย ๆ ที่เริ่มกันได้แบบไม่ต้องคิดมากเลยคือการแบ่งสันปันส่วน การใช้จ่ายของเราในแต่ละเดือน ให้ชัดเจน เช่น รายได้ 20,000 บาท แบ่งเป็นเงินเก็บ 3,000 บาท ค่าใช้จ่ายจำเป็น อย่าง ค่าโทรศัพท์ ค่ากินอยู่ ค่าเดินทาง 13,000 บาท ส่วนที่เป็นรายการจิปาถะ ซื้อของ ไปเที่ยว 2,000 บาท ส่งให้ที่บ้าน 2,000 บาท
  • แยก
    พอแบ่งเสร็จแล้วก็ควรแยกบัญชีของแต่ละประเภทค่าใช้จ่ายเพื่อที่จะรู้ว่าบัญชีไหนเอาไว้ใช้อะไร ทำอะไร
  • เช็ก
    คอยตรวจเช็กตัวเองเสมอว่าเราใช้จ่ายตรงตามที่วางแผนไว้หรือไม่ เช่น ตั้งงบไว้ว่าจะใช้ไม่เกิน 3,000 บาทต่อสัปดาห์ เราก็ควรรีเช็กตัวเองว่าเราใช้เกินไปรึเปล่า และถ้าหากเกิดใช้เกินจำนวนที่ตั้งไว้ สัปดาห์ถัดไปก็ควรใช้น้อยลง เพื่อให้การใช้จ่ายทั้งเดือนตรงตามแผน
  • ใช้
    ใช้จ่ายอย่างชาญฉลาด ต้องแยกความต้องการ และความจำเป็นให้ออก ใช้เงินอย่างมีสติ ไม่เช่นนั้นเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะเก็บเงินตามยอดที่ตั้งไว้ก็จะไม่สำเร็จ เราต้องอาศัยความสม่ำเสมอในการทำ และความมีวินัยของตัวเราเองด้วย

แต่ถ้าหากใครที่ไม่ถนัดทำรายรับ-รายจ่ายเองก็ลองให้ KMA–Krungsri Mobile App ช่วยดูได้นะ เพราะในแอปมีฟังก์ชันการกำหนดจ่ายค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ล่วงหน้าได้ ซึ่งจะทำให้เรารู้ขอบเขตการใช้จ่ายของเราได้ในแต่ละเดือน อีกทั้งยังเพิ่มบัญชีได้หลายบัญชีอีกด้วย สุดท้ายก็อย่าลืมลองนำวิธีเก็บเงินที่ได้เล่าให้ฟังไปปรับใช้ให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ของตัวเองกันดูนะ อย่าลืมว่าสุขภาพการเงินที่ดีย่อมเริ่มจากรากฐานการเก็บเงินที่มั่นคง
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา