มนุษย์เงินเดือน ทำไมควรแยกบัญชีออมทรัพย์ให้ตรงการจัดการเงิน
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

มนุษย์เงินเดือน ทำไมควรแยกบัญชีออมทรัพย์ให้ตรงการจัดการเงิน

icon-access-time Posted On 07 ธันวาคม 2565
by Krungsri The COACH
เรื่องเงินเรื่องใหญ่ การแพลนเรื่องเงิน ๆ และการทำธุรกรรมการเงินภายในบัญชีเดียว บางคนอาจจะคิดว่าก็บัญชีเดียวให้มันจบ ๆ ไป แต่เหรียญมีสองด้านเสมอ เพราะเมื่อใดที่คุณเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือเป็นมนุษย์เงินเดือนที่ต้องผ่อนบ้าน ผ่อนรถ หรือนักลงทุนมือทอง อาจจะไม่ค่อยสะดวกที่จะทำธุรกรรมทางการเงินภายในบัญชีเดียว เพราะอาจจะทำให้สับสนได้ ถ้าหากไม่ระมัดระวังในการใช้จ่ายเงิน หรือไม่เคยจดบัญชีรายรับรายจ่ายเลย ก็อาจจะทำให้เผลอใช้เงินจนหมดกระเป๋าอย่างแน่นอน

หากคุณกำลังเจอเหตุการณ์แบบนี้อยู่ และในแต่ละเดือนต้องใช้เงินเดือนชนเดือน ไม่มีเงินเหลือ ลองใช้วิธีการเปิดบัญชีออมทรัพย์แยกค่าใช้จ่ายหลาย ๆ บัญชีไว้ช่วยวางแผนทางการเงินดูสิ รับรองว่าแพลนนี้เวิร์กแน่ ๆ
 
ทำความรู้จักกับบัญชีออมทรัพย์ มีจุดประสงค์เพื่ออะไร 

ก่อนที่จะเข้าเรื่องเรามาทำความรู้จักกับบัญชีออมทรัพย์กันก่อนเลย

มีใครในที่นี้เคยสงสัยไหมว่าบัญชีออมทรัพย์คืออะไร สามารถเปิดได้กี่บัญชีต่อคน และอัตราดอกเบี้ยจะดีไหม? และเปิดออนไลน์แบบไม่ต้องไปธนาคารได้ไหมนะ? เพื่อไม่เป็นการเสียเวลา มารู้จักบัญชีออมทรัพย์กันให้มาขึ้นกันเถอะ

บัญชีเงินฝากออมทรัพย์

บัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ เป็นบัญชีที่มีจุดประสงค์เพื่อการออมเงินเป็นหลัก และเป็นบัญชีทั่วไปที่ประชาชนมักใช้ทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ บัญชีเงินฝากประเภทนี้เหมาะสำหรับการออมเงินในระยะสั้น การเก็บเงินเผื่อไว้ยามใช้ฉุกเฉินหรือการใช้จ่ายต่าง ๆ

บัญชีเงินฝากหลายบัญชีมีดียังไง?

1. ตรวจสอบการเดินบัญชีได้สะดวก

แน่นอนว่าพฤติกรรม New Normal หลังเกิดโรคระบาดโควิดทำให้พฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยเปลี่ยนไปจากออฟไลน์เป็นออนไลน์ การซื้อของออนไลน์ หรือทำธุรกรรมทางออนไลน์นั้นง่ายและสะดวกมาก จึงส่งผลให้ให้มีพฤติกรรม “โอนไว เปย์รัว ๆ” เกิดขึ้น และนี่แหละทำให้เงินไหลเข้าไหลออกจากบัญชีมาก ยิ่งไปกว่านั้นถ้ารวมบัญชีเงินที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และบัญชีธุรกิจเข้าด้วยกันแน่นอนว่าถ้าต้องการตรวจการเดินบัญชีนั้นไม่ใช้เรื่องง่ายเลย ว่าเราใช้อะไรไปเนี่ย จำไม่ได้เลย
 

2. การแยกบัญชี ทำให้สะดวกในการจัดการ

ในแต่ละเดือนพวกเราทุกคนจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่ต้องรับผิดชอบในแต่ละเดือนอยู่แล้ว เช่น ค่าโทรศัพท์ ค่าเช่าห้อง และอื่น ๆ ดังนั้นถ้าหากแยกบัญชีเงินเก็บและบัญชีรายจ่ายที่ต้องจ่ายทุกเดือนออกจากกัน จะทำให้บริหารจัดการเงินได้ดีขึ้น และไม่สับสนด้วยนะ ไหนจะเงินเอาไว้จ่ายหนี้ เงินเก็บออม
 

3. ไม่ต้องสับสน เรื่องเงินเข้าออก

ไม่ต้องสับสนเรื่องเงินเข้าออก ก็จะไปสอดคล้องกับเรื่องที่เราบอกมา แน่นอนว่าเมื่อมีการแยกบัญชีอย่างชัดเจน ก็จะส่งผลทำให้คุณไม่ต้องมานั่งปวดหัว และสับสนเรื่องเงินเข้าเงินออกอีกต่อไป เนื่องจากแยกบัญชีชัดเจนแล้ว เงินที่เข้าและออก เราก็จะรู้โดยอัตโนมัติว่าเงินจำนวนนี้มาจากที่ไหน เอาไปใช้จ่ายอะไรบ้าง ดูบัญชีย้อนหลังก็ไม่ต้องนั่งระลึกอีกต่อไป

ทริควางแผนการเงินมนุษย์เงินเดือนด้วยบัญชีออมทรัพย์มีอะไรบ้าง?

แนะนำให้เปิดบัญชีมากกว่า 1 บัญชีเพื่อแยกค่าใช้จ่ายที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของเราและจัดการเรื่องเงินออม เป็นเทคนิคง่าย ๆ ที่ไม่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม อย่างของธนาคารกรุงศรีสามารถเปิดบัญชีจัดให้ออนไลน์ ได้ 3 บัญชี สะดวกเปิดผ่าน KMA (Krungsri Mobile App) ได้เลย สำหรับมนุษย์เงินเดือนควรแยกบัญชีใช้จ่าย เงินออม หรือลงทุน ออกจากบัญชีเงินเดือนซึ่งเทคนิคการบริหารเงินง่าย ๆ จะทำให้เราวางแผนการเงินได้ดีขึ้น ไม่ปวดหัว และอาจมีเงินออมเพิ่มได้ด้วยนะ

อ่านมาถึงตรงนี้แล้วหลาย ๆ คนอาจจะมีคำถามในใจว่า เอ๊ะ! มนุษย์เงินเดือนควรมีบัญชีธนาคารหลายบัญชี แล้วในแต่ละบัญชีมีหน้าที่อะไร? บัญชีไหนควรเก็บเงินส่วนไหนบ้าง? บัญชีไหนมีไว้เพื่ออะไร? แต่ถ้าใครยังไม่แน่ใจว่าบัญชีแบบไหนเหมาะกับตัวเองลองดูนี่เลยเปิดบัญชีเงินฝากกับกรุงศรี
 
เปิดบัญชีออมทรัพย์กับกรุงศรีได้อะไรบ้าง

แต่บัญชีเราจะเอาไปทำอะไรดี? ยังคิดไม่ออกใช่มะ เอางี้มาดูไอเดียดี ๆ กันหน่อยว่าถ้าจะเปิดบัญชีเยอะ ๆ แล้วเอามาทำอะไรให้ง่ายกับชีวิตดี
 

1. เอาไว้เป็นบัญชีใช้จ่ายทั่วไป

ตามชื่อก็บอกได้เลยว่า มีไว้สำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นใช้จ่ายค่าเดินทาง ค่าอาหาร และค่าจิปาถะ หากมีเงินเหลือในส่วนนี้ ก็อาจจะให้รางวัลตัวเอง เช่น การท่องเที่ยว ซื้อของออนไลน์ ซึ่งเป็นการเติมเต็มความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เปิดเป็นบัญชีไว้พักเงินชิล ๆ สามารถเบิกถอนออกมาเพื่อใช้จ่ายได้บ่อยครั้ง เน้นความสะดวกในการใช้เงิน
 

2. เปิดเป็นบัญชีไว้จ่ายหนี้โดยเฉพาะ

สำหรับมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ประจำ ทุกครั้งที่เงินเดือนออกต้องนำมาเข้าบัญชีนี้เลย ไม่ว่าจะเป็น ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต ค่าบ้าน ค่าผ่อนงวดรถ ฯลฯ เงินเดือนเหลือจากส่วนนี้เท่าไหร่ค่อยจัดสรรปันส่วนไปใส่ในบัญชีอื่น ๆ

ถ้ายึดมั่นทำมันอย่างเสมอ รับรองได้เลยว่าจะไม่เสียเครดิตผิดนัดชำระหนี้อีกเลย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดพวกเราไม่ควรมีหนี้สินเกิน 40% ของรายได้ เช่น เงินเดือน 20,000 บาท ก็ไม่ควรมีหนี้เกิน 8,000 บาท จะได้ไม่อึดอัด ได้ใช้เงินอย่างสบายใจหน่อย
 
เทคนิคแยกบัญชีออมทรัพย์ให้ตรงกับการจัดการเงิน
 

3. เปิดบัญชีไว้สำหรับเก็บออมเพื่ออนาคต

บัญชีนี้ต้องแบ่งไว้เพื่อการเก็บออม เราควรวางแผนการเงินเป็น 3 สเต็ปสำหรับเงินออมก้อนนี้ ให้แบ่งเป็น
  • ระยะสั้น บัญชีที่ไว้สำหรับสำรองเงินไว้ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน
  • ระยะกลาง หากวัตถุประสงค์ในการเก็บเงินนั้น จะเกิดขึ้นภายใน 5 ปี ข้างหน้า เช่น การวางแผนแต่งงาน วางแผนมีลูก ซื้อบ้าน ท่องเที่ยว เรียนต่อ หรือลงทุนในธุรกิจ ฯลฯ
  • ระยะยาว คือการออมเงินเพื่ออนาคต ที่อาจจะเกิดขึ้นหลังจาก 5 ปี เป็นต้นไป การวางแผนเกษียณ โดยการเปิดบัญชีเพื่อกองทุนระยะยาว อย่างเช่น RMF, SSF หรือ PVD
โดยทั้งหมดที่กล่าวไปข้างต้นนั้นเราสามารถนำไปปรับใช้ให้เข้ากับวิถีชีวิตไลฟ์สไตล์ของตัวเองได้เลย เพราะสูตรการเก็บเงิน และสูตรความสำเร็จของคนเรานั้นแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนั้น ๆ แต่หากเริ่มลงมือทำได้เร็ว นั่นก็แปลว่ามีโอกาสสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้รวดเร็วยิ่งขึ้นนั่นเอง ขอเอาใจช่วยทุกคนนะ แล้วการมีเงินเก็บจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา