เพื่อคุ้มครองคุณและครอบครัว
หนึ่งในปัญหาที่อาจส่งผลต่อความสัมพันธ์ในครอบครัว คงหนีไม่พ้นเรื่องของเงิน หากว่าใครกำลังเพิ่งจะมีความรัก หรือมีแฟนได้ไม่นาน คงไม่กังวลเรื่องนี้ แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป ชีวิตคู่ต้องเดินไปข้างหน้าทำให้ต้องเริ่มวางแผนชีวิต นอกจากการ
วางแผนแต่งงาน การวางแผนมีลูก เรื่องของการ
บริหารการเงินก็สำคัญไม่แพ้กัน ว่าจัดการเงินอย่างไรดี จะเอาเงินไปให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทั้งหมดดีไหม หรือแยกเงินกันใช้คนละกระเป๋าจะดีกว่า ไม่ว่าแบบไหนต้องจัดการให้ดี เพราะมันอาจส่งผลไปยังอนาคตของครอบครัวได้ในระยะยาว
ในเดือนแห่งความรักแบบนี้เราจะมาดูกันว่าวิธีการเก็บเงินครอบครัว แบบไหนจะเวิร์กที่สุด ซึ่งถ้าจัดการได้ บอกได้เลยว่าหมดปัญหาการทะเลาะกัน ภายในครอบครัวชัวร์!
ทำไมชีวิตครอบครัว ต้องใส่ใจเรื่องการเงิน
ในแต่ละปีของบ้านเรามีคู่รัก หรือคนแต่งงานมีครอบครัว เลิกรา หย่าร้างกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เกือบทุกปัญหาส่วนใหญ่ล้วนมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้องเสมอ เช่น หนี้สินที่เกิดขึ้นจากการกู้เงินมาจัดงานแต่งงาน หรือกู้เงินซื้อบ้าน ซื้อรถ เมื่อภาระที่มากขึ้น แต่การบริหารเงินล้มเหลว เพราะไม่ได้วางแผนมาตั้งแต่แรก เริ่มจากพฤติกรรมการใช้เงินที่มีแต่จ่ายออก แต่มีรายรับเข้าทางเดียวจากเงินเดือนประจำ พอจ่ายเยอะขึ้น แต่มีรายได้เท่าเดิมบัตรเครดิตต่าง ๆ ก็จ่ายเต็มจำนวนไม่ได้ ทำให้หลายคนต้องจ่ายแบบขั้นต่ำทุกเดือน ดอกเบี้ยบัตรเครดิตก็ยิ่งพอกขึ้นไปเรื่อย ๆ สุดท้ายก็ชักหน้าไม่ถึง
ต้องหาเงินด่วนมาใช้เพื่อเคลียร์หนี้ที่เกิดขึ้น แล้วเราก็จะติดอยู่ในลูปของหนี้เสียที่หาเงินมาเท่าไหร่ก็จ่ายหนี้ไม่พอสักที เมื่อการเงินมีปัญหา ความสัมพันธ์ก็ยิ่งแย่ลง มีแต่เรื่องให้ครอบครัวทะเลาะกันทุกวัน
พอจะเห็นปัญหากันแล้วใช่ไหมว่าหากไม่
บริหารการเงิน มันอาจสร้างผลกระทบกับความสัมพันธ์ในครอบครัวมากแค่ไหน ถ้าไม่อยากให้ชีวิตครอบครัวเดินไปเส้นทางที่ต้องแยกทางกัน เราดูวิธีเก็บเงินครอบครัวได้เลย
1. ใช้เงินแบบแยกกระเป๋า เงินของใครต้องรับผิดชอบเอง
สำหรับบางคู่ก็ใช้วิธีนี้มาตั้งแต่สมัยที่ยังเป็นแฟนกัน จนมาถึงการใช้ชีวิตครอบครัวด้วยกันก็ง่ายหน่อย เพราะแยกการใช้เงินแบบของใครของมัน ไม่ก้าวล่วงเงินของอีกฝ่าย การบริหารเงินแบบนี้ทำให้เราไม่ต้องเครียด หรือมานั่งกังวลหากว่าเราจะใช้จ่ายชอปปิ้งเกินขอบเขตไหม เพราะใครใช้อะไร ก็ต้องรับผิดชอบเอง เรื่องการทะเลาะก็ไม่มี และยังช่วยให้เรามีวินัยทางการเงินที่ดีขึ้น เพราะเงินมีจำกัด จะใช้อะไรต้องวางแผนให้ดี ดูแล้วก็น่ายุติธรรมดี แยกกันใช้ไปเลย ไม่ต้องเครียด
แต่ข้อเสียมันของการใช้เงินคนละกระเป๋ามันก็มี หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวางแผนการเงินไม่ดี มีเงินไม่พอใช้ จะทำให้เกิดความเครียด หรืออาจไปใช้ทางออกแบบผิด ๆ เช่น ไปกู้เงินนอกระบบ มาใช้จ่ายหมุนเวียน กว่าคนในครอบครัวจะรู้ ดอกเบี้ยก็มากแล้ว หากจะใช้เงินคนละกระเป๋าจำเป็นเลย ต้องมีแผนการเงินที่ดี และต้องไม่ใช้เงินเกินตัว
2. เอาเงินมารวมกัน ฉันและเธอใช้เงินกระเป๋าเดียวกัน
แผนการเงินแบบคลาสสิค ที่หลายครอบครัวมักจะทำกันคือการรวมรายได้จากทั้งสองฝ่ายเป็นเงินก้อนเดียวกันเลย ทำให้เงินใช้จ่ายแต่ละเดือนมากขึ้น เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงค่าใช้จ่ายของลูก ๆ ถึงจะมีเงินก้อนใหญ่ไว้ใช้จ่าย แต่มีเรื่องที่ควรระวังคือ ต้อง
ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายให้ดี เพราะเงินก้อนนี้สามารถถูกจ่ายออกได้ทั้งสองคน หากไม่จดให้ดี สุดท้ายจะหาสาเหตุว่าทำไมเงินถึงหายไปเยอะ จะติดตามบัญชีการใช้จ่ายได้ลำบากมาก
แม้การบริหารเงินครอบครัวแบบนี้จะดีแต่ครอบครัวต้องมีความเชื่อมั่นในกันและกันอย่างสูง ว่าอีกฝ่ายมีความสามารถในการจัดการเงินที่ดี ไม่นำเงินไปใช้ในทางที่ผิดเพราะเงินก้อนนี้ไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นเงินส่วนรวมของครอบครัว หากใครจะหยิบแผนนี้ไปปรับใช้อาจต้องทำความเข้าใจกันให้ดี เพราะหลายคู่แรก ๆ ก็สามารถทำได้แต่เมื่อเวลาผ่านไป เมื่อความต้องการใช้เงินของแต่ละคนมากขึ้น แต่ไม่มีเงินใช้จ่ายของตัวเอง การนำเงินครอบครัวมาใช้ตรงนี้ อาจทำให้เกิดการทะเลาะ ดังนั้นคุยเรื่องเงินให้เคลียร์ตั้งแต่แรกก่อนดีกว่า
3. เงินของฉัน เงินของเธอ และมีเงินของครอบครัว
การบริหารเงินแบบนี้หลายครอบครัวก็นิยมใช้กันโดยเราจะใช้กระเป๋าเงินแยกกัน แต่มีเงินอีกก้อนคือเงินครอบครัว ที่แต่ละคนสามารถกำหนดได้เองเลยว่าจะแบ่งมาเก็บรวมกันไว้ใช้จ่ายคนละเท่าไหร่ เป็นเงินเก็บสำหรับอนาคตกี่บาท หรือหลังใช้จ่ายในแต่ละเดือน อาจนำเงินของครอบครัวส่วนนี้ไปทำให้มันงอกเงยใน
การลงทุนแบบความเสี่ยงต่ำ ก็ได้เช่น เอาไปลงทุนในทองคำแท่ง เอาไปฝากกินดอกเบี้ยในบัญชีฝากออมทรัพย์ หรือนำไปลงทุนรับเงินปันผลในกองทุนรวม การบริหารเงินครอบครัวแบบนี้ ค่อนข้างได้ผลดี ช่วยลดปัญหาการทะเลาะ เพราะเรายังมีเงินส่วนตัวใช้จ่ายได้ตามปกติ และยังมีเงินครอบครัว เก็บสะสมเพื่อใช้ในวันหน้า
สำหรับข้อเสียสำหรับแผนการเงินแบบนี้วางแผนให้ดีว่าเงินครอบครัว จะไปเปิดในชื่อบัญชีของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือจะเปิดเป็นบัญชีชื่อร่วมกัน หากเลิกราอาจทำให้มีปัญหาในการแบ่งเงินตรงนี้ได้ ตรงนี้อาจต้องทำสัญญาเอาไว้ เพื่อที่ไม่ต้องมาขึ้นศาลไกล่เกลี่ยแบ่งเงินกันภายหลัง แต่จะให้ดีปัญหาอะไรที่เกิดขึ้นในครอบครัว หากเปิดใจคุยกัน ก็ช่วยลดปัญหาการทะเลาะลงได้เยอะเลย
ถึงตรงนี้สำหรับแผนการเงินสำหรับชีวิตครอบครัว คงบอกไม่ได้ว่าครอบครัวไหนต้องทำแบบไหน อันนี้มันอยู่ที่การพูดคุยกัน เพราะชีวิตครอบครัว ไม่มีสูตรสำเร็จ แต่เราสามารถเอาแบบอย่างจากหลาย ๆ ครอบครัวมาปรับใช้กับครอบครัวของเราได้ แต่ถ้ายังแผนการเงินที่เราแนะนำไปยังไม่ถูกใจ อาจ
ลองใช้บริการ Plan Your Money ช่วยวางแผนการเงินในครอบครัวของเราดู เพื่อให้การเงินของครอบครัวลื่นไหล ไร้ปัญหาติดขัด นำไปสู่ความสุขที่ยั่งยืนของครอบครัวของเรา