รู้จัก bear vs bull market วิเคราะห์สภาวะตลาดก่อนลงทุน
รอบรู้เรื่องลงทุน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

รู้จัก Bear vs Bull Market วิเคราะห์สภาวะตลาดก่อนลงทุน

icon-access-time Posted On 28 มีนาคม 2567
By Krungsri The COACH
สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนในสินทรัพย์ที่สนใจ บ่อยครั้งจะได้พบเจอกับคำว่า "Bear Market" หรือ "Bull Market" ประกอบการวิเคราะห์ทิศทางของตลาดเสมอ หมี (Bear) กับ กระทิง (Bull) สัตว์สองตัวนี้ ทำไมมีความเกี่ยวข้องกับการลงทุน บทความนี้ Krungsri The COACH จะมาอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ เกี่ยวกับสองสภาวะของตลาดการเงินและกลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะสมในแต่ละภาวะ

Bear Market vs Bull Market คืออะไร

ตลาดหมีและตลาดกระทิง คืออะไร

ไม่ว่ากำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับ หุ้น อสังหาริมทรัพย์ สกุลเงินดิจิทัล หรือสินทรัพย์อื่น ๆ เรามักจะได้เห็นคำอธิบายสภาวะตลาด หนึ่งในสองแบบนี้ เพราะ “หมี” และ “กระทิง” ถือเป็นสัญลักษณ์สากลของภาวะทิศทางการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์
 

Bear Market หรือตลาดหมี คืออะไร ?

ตลาดหมี (Bear Market) คือ ช่วงเวลาที่นักลงทุนส่วนใหญ่ต้องการขายมากกว่าซื้อ เพราะมุมมองความเชื่อมั่นในตลาดต่ำ นักลงทุนส่วนใหญ่กำลังเริ่มกังวล หรือ “กลัว” ว่าราคาจะตกต่ำลง การซื้อขายซบเซา ส่งผลให้ราคาสินทรัพย์ลดลงอย่างต่อเนื่อง

สาเหตุที่เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ตลาดหมี" นั้น มีหลายทฤษฎี บ้างก็เปรียบ นักลงทุนที่จะเก็บเงินทุนไว้รอจนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้นอีกครั้ง เหมือนภาวะจำศีลของหมี หรือเทียบท่าทางการต่อสู้ของหมี ด้วยการใช้อุ้งมือตะปบลง เหมือนราคาสินทรัพย์ที่ร่วงลงมา
 

Bull Market หรือตลาดกระทิง คืออะไร ?

ตลาดกระทิง (Bull Market) คือ ช่วงเวลาที่นักลงทุนส่วนใหญ่ทำการซื้อเพราะมุมมองความเชื่อมั่นในตลาดอยู่ในเชิงบวก นักลงทุนส่วนใหญ่กำลังเริ่มมองโลกในแง่ดี หรือ “มั่นใจ” ว่าราคาจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การซื้อขายคึกคัก สภาพคล่องสูง และส่งผลให้ราคาสินทรัพย์เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย

สาเหตุที่เรียกว่า "ตลาดกระทิง" บ้างก็เปรียบเทียบว่าเหมือนการวิ่งด้วยความฮึกเหิมของกระทิงกับภาพของตลาดที่กำลังเติบโต หรือกระทิงที่จะต่อสู้โดยการขวิดขึ้น เหมือนราคาสินทรัพย์ที่ทะยานขึ้นนั่นเอง

สัญญาณบอก Bull Market vs Bear Market

สัญญาณว่าเป็นตลาดหมีหรือตลาดกระทิง จะสามารถสังเกตได้จากหัวข้อต่าง ๆ เช่น แนวโน้มทิศทางราคาสินทรัพย์ ปริมาณการซื้อขายว่าขึ้นหรือลง มุมมองของนักลงทุนที่ตื่นเต้น หรือวิตกกังวล ข่าวสารต่าง ๆ ทางเศรษฐกิจที่ออกมา
 
สัญญาณบอก bull market vs bear market

ปี 2024 ตลาดเป็น Bear or Bull Market ?

การคาดการณ์ประเด็นซับซ้อนอย่างเศรษฐกิจอาจเป็นเรื่องยาก อีกทั้งการคาดการณ์ของผู้เชี่ยวชาญแต่ละสำนักอาจจะออกมาแตกต่างกัน มุมมองที่ Krungsri The COACH นำเสนอจึงเป็นเพียงความเห็นหนึ่งเท่านั้น

ก่อนจะสรุปได้ว่าตลาดเป็น Bull หรือ Bear Market เราจำเป็นต้องเลือกตลาดที่ใช้อ้างอิงก่อน เพราะสินทรัพย์ที่แตกต่างกันจะมีปัจจัยต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบไม่เหมือนกัน ในที่นี้ Krungsri The COACH จะใช้หุ้นโลกเป็นตัววัดภาวะตลาดกัน
  • ศทางราคา : ขาขึ้น ผ่านไปเพียงสองเดือนนับตั้งแต่ต้นปี ตลาดหุ้นโลกเติบโตแล้วกว่า 6.64% (ข้อมูลวันที่ 4/3/2024) = Bull market
  • อารมณ์นักลงทุน และข่าวสาร : จากเงินเฟ้อที่ลดต่ำระดับลงจากปีที่แล้ว ข่าวสารค่อนข้างเป็นไปในเชิงบวก ส่งผลให้ นักลงทุนค่อนข้างมองโลกในแง่ดี = Bull market

จากปัจจัยต่าง ๆ อาจจะสรุปได้ว่า ปี 2024 หุ้นโลก กำลังอยู่ในภาวะ Bull market ที่กำลังเป็นขาขึ้น
 
กลยุทธ์การลงทุนใน bull market vs bear market

กลยุทธ์การลงทุน ในช่วง Bull Market มีดังนี้

การลงทุนในสภาวะตลาดแบบ Bull Market แม้ว่าจะเป็นช่วงขาขึ้นก็ไม่ควรลงทุนโดยประมาท Krungsri The COACH จึงอยากมาแชร์กลยุทธ์การลงทุนในตลาดกระทิงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ดังนี้
  1. เลือกสินทรัพย์ที่เหมาะสม : เช่น หุ้นที่มี ปัจจัยพื้นฐานดี มีโอกาสเติบโตสูง พันธบัตรที่มี อายุสั้น ความเสี่ยงต่ำ เป็นต้น
  2. ลงทุนให้เหมาะสมกับเวลาและความเสี่ยงที่รับได้
  3. กระจายความเสี่ยง : กระจายเงินลงทุนใน หลายประเภท ไม่ควรลงทุนในสินทรัพย์ประเภทเดียว โดย สัดส่วนการลงทุนที่แนะนำ ตราสารหนี้ 25-50% หุ้น 45-70% สินทรัพย์ทางเลือก 5%

Krungsri The COACH แนะนำธีมการลงทุนที่น่าสนใจรับกับตลาดปี 2024

กลยุทธ์การลงทุนใน bull market vs bear market

จะเลือกลงทุนหุ้นทั้งที เลือกหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานดี มีโอกาสเติบโตสูง แถมช่วยโลกไปพร้อมกันก็น่าจะเป็นทางเลือกธีมการลงทุนที่ดี และธีมการลงทุนนั้นก็ คือ ESG ย่อมาจาก สิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และธรรมาภิบาล (Governance) เป็นการลงทุนที่มีความเชื่อมโยงกับความรับผิดชอบต่อสังคม แถมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับโลก

กองทุน ESG กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้น เพราะมีข้อดีหลายประการ เช่น ให้ผลตอบแทนที่ดีในระยะยาว ลดความเสี่ยง สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน และสร้างความพึงพอใจให้กับนักลงทุน แม้จะมีข้อจำกัดอยู่บ้าง แต่โดยรวมแล้ว การลงทุน ESG เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนที่ต้องการสร้างผลตอบแทนที่ยั่งยืนและสร้าง impact เชิงบวกต่อโลก

สำหรับนักลงทุนที่อยากลงทุน ESG ให้เงินเติบโตไปพร้อมกับโลกที่ยั่งยืน Krungsri The COACH ขอแนะนำ ดังนี้

กรุงศรี Equity Sustainable Global Growth-สะสมมูลค่า (KFESG-A)

  • ระดับความเสี่ยง 6 เสี่ยงสูง
  • นโยบายการลงทุน : ลงทุนในตราสารทุนของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social and Corporate Governance : ESG) ผ่านกองทุนรวมต่างประเทศ “AB Sustainable Global Thematic Portfolio, Class S1 USD” (กองทุนหลัก) ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV
  • จุดเด่นที่น่าสนใจในมุมของ Krungsri The COACH
    • โอกาสเติบโตไปพร้อมกับบริษัทคุณภาพดีทั่วโลก ที่ดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ
    • เน้นลงทุนใน 3 ธีมการลงทุนหลักที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาพอนามัย (Health) สภาพภูมิอากาศ (Climate) และการเพิ่มศักยภาพให้กับคนในสังคม (Empowerment) ซึ่งจะเป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก จึงช่วยสร้างโอกาสที่แตกต่าง สำหรับการเติบโตในระยะยาว
    • มีกระบวนการคัดหลักทรัพย์ที่เข้มข้น เฟ้นหาบริษัทที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่ง บนระดับราคาที่เหมาะสม ซึ่งช่วยสร้างพอร์ตการลงทุนที่มีความยั่งยืน
  • สนใจอ่านข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ หนังสือชี้ชวน KFESG

อย่างไรก็ตาม แม้การดูสภาพตลาด ณ เวลานั้น ๆ ว่าเป็น Bear หริอ Bull Market นั้นจะเป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับนักลงทุน เพราะจะเป็นเครื่องมือในการช่วยกำหนดแผนการในการลงทุน ออกแบบกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับช่วงเวลานั้น ๆ แต่ภาวะตลาดไม่ใช่แค่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ประสบความสำเร็จจากการลงทุน เพราะการคาดการณ์ภาวะตลาดอาจจะคาดเดาได้ผิด หรือภาวะตลาดที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องชั่วคราว ไม่ใช่ภาวะที่เกิดขึ้นตลอดกาล

Krungsri The COACH เชื่อว่า การกระจายการลงทุนอย่างเหมาะสม การรักษาวินัยในการลงทุน และการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะสม เติบโตอย่างยั่งยืนในระยะยาว อย่างการลงทุน ESG จะช่วยให้การลงทุนประสบความสำเร็จไม่ว่าจะภาวะ “ตลาดหมี” หรือ “ตลาดกระทิง” ก็ตาม

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา