จะนำองค์กรภายใต้วิกฤตให้ได้ ต้องบาลานซ์ระหว่าง ‘เหตุผล’  และ ‘อารมณ์’ ให้ดี

จะนำองค์กรภายใต้วิกฤตให้ได้ ต้องบาลานซ์ระหว่าง ‘เหตุผล’ และ ‘อารมณ์’ ให้ดี

By รวิศ หาญอุตสาหะ
ภายใต้สถานการณ์ที่ไม่แน่นอน ภายใต้วิกฤตทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่ทวีความรุนแรงขึ้น จำนวนผู้ป่วยแตะหลักหมื่นทุกวัน มีการล็อกดาวน์ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ธุรกิจจำนวนไม่น้อยก็เริ่มล้มหายตายจากไป พนักงานของเราเองก็เผชิญสถานการณ์ที่ยากลำบากมากขึ้น ความตึงเครียดพุ่งสูงขึ้นจากทั้งความกังวลในเนื้องาน ความกังวลทางด้านสุขภาพ และความกังวลเกี่ยวกับอนาคตของพวกเขา บวกกับการที่พนักงานต้องทำงานจากที่บ้านเป็นเวลานาน ทำให้ระดับความเครียดของพวกเขานั้นทวีคูณเข้าไปใหญ่
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเราจะอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียด แต่แน่นอนว่าการทำงานของเราก็ยังคงต้องดำเนินไปอยู่ การตัดสินใจในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องธุรกิจที่มีความตึงเครียด หรือการทำตามเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อให้บริษัทยังสามารถดำเนินต่อไป แต่ในขณะเดียวกันมันก็สำคัญที่เราจะต้องให้ความสนใจไปที่ความต้องการ ความกลัว และความกังวลของพนักงานของเรา
จะนำองค์กรภายใต้วิกฤตให้ได้ ต้องบาลานซ์ระหว่าง ‘เหตุผล’ และ ‘อารมณ์’ ให้ดี
ปัญหาหลักเลยก็คือระหว่างสองสถานการณ์นี้ เราต้องหยิบยกสองโหมดที่แตกต่างกันในสมองของเราออกมาใช้ ส่วนแรกจะเป็นส่วนที่เอาไว้ใช้วิเคราะห์ แก้ปัญหาต่าง ๆ ส่วนที่สองจะเอาไว้สะท้อน ความคิด ใช้อารมณ์มากขึ้น แสดงความเห็นอกเห็นใจ และเสริมการเชื่อมต่อทางสังคม
แต่ในการที่จะนำพนักงานของเราภายใต้วิกฤตเช่นนี้ เราจะต้องใช้ ‘ทั้งสอง’ ส่วนนี้ไปด้วยกัน เราจะต้องทำความเข้าใจว่าสถานการณ์และความรู้สึกของพวกเขาแต่ละคนเป็นอย่างไร ทำความเข้าใจความคิดและมุมมองของพวกเขา และเปิดใจรับฟังพวกเขาให้มาก
ซึ่งจากการวิจัยของ Anthony Jack อาจารย์จาก Case Western Reserve University ได้เรียกสองส่วนนี้ในสมองของเราไว้ว่า Analytic Network (AN) และ Empathic Network (EN)
  • โหมด Analytic Network (AN) จะเป็นส่วนที่ช่วยทำให้สิ่งต่าง ๆ นั้นเมคเซนส์มากยิ่งขึ้น เราจะนำ AN มาใช้ก็ต่อเมื่อเราต้องการที่จะแก้ปัญหา วิเคราะห์ และทำการตัดสินใจ อย่างเช่น ถ้าเราต้องการจะวิเคราะห์เรื่องการเงินหรือวิเคราะห์ข้อมูล สมองส่วนนี้ก็จะถูกนำมาใช้นั่นเอง
  • โหมด Empathic Network (EN) จะช่วยทำให้เราสแกนสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเราได้ดีขึ้น ทำให้เรานั้นเปิดกว้างทางความคิด รวมถึงใช้อารมณ์ของเรามาทำความเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น
ทำให้ผู้นำนั้นต้องสามารถที่จะบาลานซ์การใช้ทั้งสองสิ่งให้ได้ ถ้าอยากจะผลักดันทั้งพนักงานและองค์กรให้สามารถก้าวไปข้างหน้าภายใต้สถานการณ์เช่นนี้

แล้วเราจะรักษาบาลานซ์ของทั้งสองสิ่งนี้ได้อย่างไร?

1. ต้องรู้ให้ทันว่าเราเป็นคนโหมดไหน

ปกติแล้วแต่ละคนก็จะมีโหมดที่นำแตกต่างกัน บางคนก็จะเป็นคนที่ชอบใช้โหมด AN อยู่ตลอด เห็นอะไรก็เป็นตัวเลขเป็นการวิเคราะห์ แต่สำหรับบางคนก็จะนำตัวเองด้วยโหมด EN ดังนั้นสิ่งสำคัญคือเราต้องรู้ให้ทันก่อนว่าตัวเองเป็นคนแบบไหน แต่แล้วจะรู้ได้อย่างไร?
ลองกลับมาถามตัวเองด้วยคำถามเหล่านี้กันครับ
  • ตอนนี้เรากำลังมองสถานการณ์หรือสิ่งที่เกิดขึ้นแบบไหนอยู่? เรากำลังมองที่ข้อมูลความจริง รายละเอียด และการหาทางออกอยู่หรือเปล่า หรือเรากำลังมองความเป็นไปได้ในทางที่สร้างสรรค์กว่านี้ เรากำลังเปิดใจกว้าง ๆ ให้กับมันอยู่หรือไม่?
  • สถานการณ์แบบไหนที่จะดึงเราเข้าสู่โหมด AN? สถานการณ์แบบไหนที่จะดึงเราเข้าสู่โหมด EN?
  • ในวันวันหนึ่งเราใช้เวลากับโหมดไหนมากกว่ากันระหว่าง AN กับ EN?

2. ลองฝึกโหมดที่เราไม่ได้ใช้บ่อย ๆ

หากใครเป็นคนประเภท AN ก็ลองฝึกการเปิดโหมด EN ให้กับตัวเอง หรือหากใครเป็นคนประเภท EN ก็ลองฝึกการคิดแบบ AN ให้มากขึ้น เพราะถ้าไม่ฝึกโหมดที่เราไม่ถนัด สุดท้ายเราก็อาจจะหลงลืมมันไป ดังนั้นการฝึกฝนจึงดีมากครับที่จะทำให้เราทำความเข้าใจกับโหมดที่เราไม่ถนัดได้ดีขึ้น มาดูกันว่าเราจะฝึกกันได้อย่างไรครับ
  • ลองใช้เวลา 15 นาที ในแต่ละวันในการพูดคุยกับคนอื่นในการที่จะ ‘ทำความเข้าใจผู้อื่น’ ไม่ใช่แก้ปัญหาหรือให้คำแนะนำกับพวกเขา
  • เวลาคุณกำลังฟังใครพูด ลองหยุดทำทุกสิ่งอย่างและให้ความใส่ใจไปที่ผู้พูดให้มากที่สุด มองให้มากกว่าสิ่งที่คุณได้ยิน มองภาพใหญ่ว่าผู้พูดนั้นเป็นอย่างไร เขาแสดงภาษากายออกมาอย่างไร โทนที่พูดนั้นเป็นโทนไหน และเขากำลังรู้สึกอะไรอยู่
  • เมื่อมีเรื่องที่ปกติที่คุณรู้อยู่แล้วว่าจะต้องทำอย่างไร ลองท้าทายตัวเองและมองหาหนทางอื่นนอกจากสิ่งที่คุณรู้ดู ก็อาจจะช่วยให้คุณเปิดใจกับความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น
จะนำองค์กรภายใต้วิกฤตให้ได้ ต้องบาลานซ์ระหว่าง ‘เหตุผล’ และ ‘อารมณ์’ ให้ดี
การฝึก Analytic Network
  • ลองเลือกช่วงเวลาช่วงเวลาหนึ่งมา แล้วลองพยายามทำให้งานของเราเสร็จใน ณ เวลาที่เราเลือกมา ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่เดดไลน์จริงๆ ที่เราต้องส่งงานนั้น
  • ลองมองงานของเราว่ามีทางใหม่ ๆ ไหนไหมที่เราสามารถทำเพื่อที่จะไปถึงเป้าหมาย เพราะว่าปกติแล้วคนทำงานก็คงมีชุดความคิดเดิม ๆ ที่เราเคยทำ และก็ดำเนินตามความคิดเช่นนั้นมาโดยตลอด ดังนั้น ลองนึกถึง 2-3 ทางเลือกที่ปกติแล้วคุณไม่เคยคิดมาก่อน เขียนถึงข้อดีและข้อเสียของแต่ละทางเลือก และลองพิจารณาดูว่าทางเลือกไหนเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
  • ลองหยิบข้อมูลรอบตัวเรามาลองวิเคราะห์ดู อย่างเรื่องของค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ลองมาดูว่าในแต่ละเดือนเรามีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ใช้ไปกับอะไรมากที่สุด เราเห็นอะไรจากตัวเลขที่ได้เก็บมา เดือนไหนใช้จ่ายไปมากที่สุด และลองคิดว่าจากข้อมูลที่เก็บมา เดือนหน้าจะมีค่าใช้จ่ายประมาณไหน

3. พยายามหาจุดสมดุลของทั้งสองโหมด

เมื่อคุณสามารถที่จะทำทั้งสองโหมดได้แล้ว ก็ถึงเวลาที่จะต้องหาจุดสมดุลของทั้งสองโหมด เพราะแน่นอนว่าทั้งสองโหมด ไม่ว่าจะเป็น AN หรือ EN ก็สำคัญเหมือนกัน ดังนั้นเราก็คงจะทิ้งสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้ ทำให้สิ่งที่เราต้องทำคือการสับเปลี่ยนระหว่างสองอย่างนี้ตามแต่ละสถานการณ์
อย่างที่เราอาจจะรู้สึกกันว่า เมื่อเราใช้โหมดหนึ่งในการมองสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง อีกโหมดหนึ่งก็จะโดนลดความสำคัญลงไป ดังนั้นในฐานะผู้นำเราอาจจะต้องมองถึงความสัมพันธ์ระหว่างสองสิ่งให้ออก และต้องรู้ว่าในสถานการณ์ใด เวลาใด โหมดไหนควรจะถูกนำมาใช้ หรือควรนำออกมาใช้ควบคู่กันหรือไม่ ก็จะทำให้เราสามารถสลับสับเปลี่ยนทั้งสองโหมดสำคัญมาใช้กับทั้งการทำงานและกับพนักงานของเราได้อย่างลื่นไหลและมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow