เจาะลึกการวางกลไกธนาคารดิจิทัลยุคปัจจุบัน (ตอนที่ 2)

เจาะลึกการวางกลไกธนาคารดิจิทัลยุคปัจจุบัน (ตอนที่ 2)

By ฐากร ปิยะพันธ์

จากตอนที่แล้ว (อ่านตอนที่ 1) คุณฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัล แบงก์กิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ได้เล่าถึงการก้าวสู่ยุคดิจิทัลแห่งความทันสมัยของธนาคารกรุงศรีฯ และแนวคิดการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมที่ช่วยขับเคลื่อนธนาคารสู่ความสำเร็จ วันนี้คุณฐากรจะมาเล่าถึงรากฐานซึ่งถือเป็นส่วนสำคัญในการก่อร่างสร้างตัวและดำเนินการตามเป้าหมายจนประสบความสำเร็จ ในปี 2560 นี้ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาฯ พร้อมแล้วที่จะเข้าสู่ยุคดิจิทัลในฐานะผู้นำในการนำเสนอสิ่งใหม่ ๆ ที่เต็มเปี่ยมไปด้วยคุณภาพแก่ลูกค้าคนสำคัญ

 

Q ปี 2560 นี้เป็นปีที่หลาย ๆ อุตสาหกรรมเดินหน้าสู่ยุคสมัยแห่งนวัตกรรมเต็มที่ แล้ววงการธนาคารอย่างธนาคารกรุงศรีฯ ได้มีการปรับเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์เพื่อรับมืออย่างไรบ้าง

จากการหาข้อมูล และวิจัยในองค์กร ธนาคารกรุงศรีฯ ไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะเห็น ๆ กันอยู่ว่า ในยุคนี้มี FinTech และ Digital Giants มากมาย อย่าง เฟซบุ๊ก กูเกิล ที่พร้อมจะเข้ามาแย่งชิงพื้นที่ของธนาคาร เราเองก็เห็นว่า ทางธนาคารต้องปรับเปลี่ยนในหลาย ๆ มิติ โดยเราแบ่งออกเป็นหลักกลยุทธ์ในการดำเนินงานทางด้านดิจิทัลและอินโนเวชั่น 7 ประการ หรือที่เรียกว่า 7 Pillars ดังนี้
  1. Multi Channel/Omni Channel
สมัยนี้ คนเราไม่ได้โทรกันอย่างเดียวจริงไหมครับ เราใช้เฟซบุ๊ก ใช้ไลน์ ใช้แชทบ็อกซ์ในหน้าเว็บกันซะมาก เราก็เลยวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของลูกค้าทุกช่องทางเพื่อนำมาพัฒนาการขาย การตลาด และการบริการ อย่างช่วงนี้คนใช้มือถือกันมากขึ้น ดังนั้น พวกแอปฯ หรือการทำธุรกรรมทางการเงินออนไลน์ผ่านมือถือก็ต้องทำได้ง่าย และสะดวก
  1. Branch Transformation
สืบเนื่องจากข้อแรก เรามองว่า คนจะใช้มือถือกันมากขึ้น ดังนั้น อะไรที่คนสามารถทำได้ที่สาขาธนาคาร เขาก็ต้องทำได้เองผ่านมือถือ ถือเป็น Self-Service ที่สามารถประหยัดเวลาในการเดินทาง ไม่ต้องเสียค่ารถ และในขณะเดียวกัน ธนาคารต้องให้คำแนะนำแก่ลูกค้าผ่านมือถือด้วย ส่วนการบริการออฟไลน์ เรายังมีให้เหมือนเดิมครับ
  1. Process Digitization
ธนาคารมีแนวคิดหลักที่ว่า “เรื่องเงิน เรื่องง่าย” เราจึงนำเทคโนโลยี และแนวคิดสมัยใหม่มาเพิ่มประสิทธิภาพและความพึงพอใจแก่ลูกค้า และเพื่อให้เข้ากับยุคดิจิทัลนี้ เราก็พัฒนาระบบและธุรกรรมการเงินหลาย ๆ อย่างให้เป็นดิจิทัลมากขึ้น ลูกค้ารายเก่าจะได้เข้าใจและลองทำธุรกรรมการเงินด้วยตัวเอง ส่วนลูกค้ารายใหม่ก็จะได้ดำเนินการทำธุรกรรมได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
  1. Digital Marketing/Social Media
ธนาคารกรุงศรีฯ มีแพลตฟอร์มออนไลน์ที่ให้ข้อมูลและสื่อสารกับลูกค้าของเรา เราจึงมุ่งพัฒนาเนื้อหาออนไลน์บนเว็บไซต์ โดยให้ลูกค้าสามารถเข้ามาอ่าน แล้วเข้าใจผลิตภัณฑ์บริการของเรา นอกจากนั้น เราเข้าใจว่า แต่ละคนก็มีไลฟ์สไตล์แตกต่างกัน เราจึงออกแบบการนำเสนอเนื้อหาเฉพาะบุคคล (Personalized Content) ให้ด้วย เช่น ถ้าระบบเห็นว่า คุณเข้ามาอ่านเรื่องหุ้นบ่อย ๆ ครั้งหน้าที่คุณกลับมา ระบบก็จะคัดเลือกเนื้อหาเกี่ยวกับหุ้น และนำเสนอให้คุณได้อ่านก่อนเป็นลำดับแรก ๆ ส่วนลูกค้าที่ติดตามเราผ่านช่องทางโซเซียลมีเดียอย่าง เฟซบุ๊ก เพจ หรือไลน์ เราก็นำเสนอแง่มุมความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้พวกเขาเข้าใจการเงินมากขึ้น
  1. Innovation Culture
เราเชื่อว่า ในฐานะที่เราเป็นองค์กรใหญ่ มีพนักงานเยอะ ถ้าหากคนภายในของเรามีความสุข เราก็จะสามารถส่งต่อความสุขแก่ลูกค้าเราได้ ธนาคารจึงสนับสนุนให้พนักงานของเรามีแนวคิดล้ำ ๆ อย่างการจัดโครงการ Krungsri Ignite ให้พวกเขานำเสนอไอเดีย อันไหนที่ดูเข้าท่า ก็จะนำมาพัฒนาให้เป็นรูปเป็นร่าง แล้วนำไปใช้จริง
  1. FinTech & Startup Experiment
ช่วงนี้ มองไปทางไหน ใคร ๆ ก็ทำ Startup ใช่ไหมครับ FinTech เองก็กลายเป็นคำคุ้นหูสำหรับหลาย ๆ คน ธนาคารเลยจัดตั้ง Krungsri Finnovate สำหรับการลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพและฟินเทคโดยเฉพาะ นอกจากนั้น เรายังมี Krungsri Uni Startup ที่จัดขึ้นทุกปีให้น้อง ๆ นักศึกษาปริญญาตรีมานำเสนอผลงานเจ๋ง ๆ ส่วนใครที่ทำฟินเทค และสตาร์ทอัพ แล้วมีแนวโน้มจะประสบความสำเร็จ ก็สามารถมาเข้าโครงการ Krungsri Rise FinTech Accelerator กับเราได้
  1. National E-Payment
อย่างที่ทุกคนทราบว่า รัฐบาลกำลังผลักดันให้คนไทยใช้ National E-Payment หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ พร้อมเพย์ (PromptPay) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโอน จ่าย เสียภาษี รับเงิน และอื่น ๆ ธนาคารเองก็ให้การสนับสนุนและพัฒนาระบบนี้เพื่อรองรับการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ ซึ่งเราทุกคนก็น่าจะได้ลองใช้กันในปี 2560 นี้ครับ
 

Q ใน 7 ประการนี้ ประการใดที่คุณฐากรมองว่า ท้าทายมากที่สุดครับ

ผมว่า การสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในธนาคารหรือ Innovation Cultures เป็นเรื่องที่ท้าทายมาก แต่ในขณะเดียวกันก็สนุกมากเช่นกัน เพราะเราจะได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาพลักษณ์ของธนาคารให้มีความเป็นดิจิทัลมากขึ้น แต่การที่จะทำได้ ซึ่งต้องใช้แรงทั้งภายในและภายนอก เราต้องรวมพลังจากองค์ความรู้ต่าง ๆ มุมมองหลากหลายเพื่อผลักดันให้เราก้าวทันยุคดิจิทัลที่อะไร ๆ ก็ล้ำ และก้าวไปได้ไกลอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็ต้องให้เรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ เป็นเรื่องง่ายสำหรับคนทุกคน
 

นอกจากกลยุทธ์หลัก 7 ประการนี้ ทางธนาคารยังมี 11 Boxes ที่ใช้เป็นตัวกำหนดทิศทางการทำงานของปี 2560 และปีต่อ ๆ ไป
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา