เจาะลึกการวางกลไกธนาคารดิจิทัลยุคปัจจุบัน (ตอนที่ 3)

เจาะลึกการวางกลไกธนาคารดิจิทัลยุคปัจจุบัน (ตอนที่ 3)

By ฐากร ปิยะพันธ์

7 Pillars และ 11 Boxes ถือเป็นทั้งรากฐานและกลยุทธ์ในการกรุยทางให้ธนาคารกรุงศรีฯ ก้าวสู่ยุคสมัยแห่งเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในตอนที่แล้ว เราได้เรียนรู้ถึงการสร้างวัฒนธรรมนวัตกรรมในองค์กรผ่านแหล่งข้อมูลทั้งภายในและภายนอก รวมถึงหลักกลยุทธ์ในการดำเนินงานทางด้านดิจิทัลและอินโนเวชั่น 7 ประการ ในตอนนี้ คุณฐากร ปิยะพันธ์ ประธานกรรมการ กรุงศรี คอนซูมเมอร์ และผู้บริหารสายงานดิจิทัล แบงก์กิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) จะเล่าถึงรายละเอียดของแนวทางการพัฒนาและการลงทุนด้านเทคโนโลยี 11 ประการ

 

Q นอกจาก 7 Pillars แล้ว เห็นว่าทางธนาคารยังมีแนวทางการพัฒนาและการลงทุนด้านเทคโนโลยี 11 ประการ หรือ 11 Boxes อีกด้วย ทั้ง 11 ประการนี้มีอะไรบ้างครับ

ก่อนอื่นผมอยากให้ทุกคนคิดก่อนว่า ทั้ง 11 ประการนี้ ไม่ได้เป็นข้อย่อย ๆ ที่ต่อ ๆ กันมา แต่เป็นแนวทาง 11 ประการที่เกี่ยวเนื่องกันอยู่ทั้งสิ้น เริ่มที่
  1. Artificial Intelligence (AI) and Machine Learning
เป็นการใช้เทคโนโลยีระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) มาพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ และจดจำข้อมูลเพื่อตอบโจทย์ทางธุรกิจในแง่มุมที่ต่างกันไป เช่น การบริการข้อมูล การอนุมัติสินเชื่อ หรือการให้คำแนะนำด้านการลงทุนที่เราเพียงป้อนข้อมูล แล้วก็จะได้คำตอบกลับมาจากคลังข้อมูลของ AI

อย่างที่ผมบอกไปก่อนหน้านี้ว่า ธนาคารมีข้อมูลมากมาย เราจึงคิดต่อยอดจากสิ่งที่เรามีอยู่แล้ว
  1. Big Data/Data Analytic
ความหมายตรง ๆ เลย คือ การนำเทคโนโลยีมาวิเคราะห์ข้อมูลมหาศาลที่เรารวบรวมจากทั้งภายในและภายนอก เพื่อสร้างโมเดลของการนำเสนอสินค้า และบริการที่เหมาะสมกับลูกค้า หรือผู้บริโภคในเวลาที่ถูกต้อง รวมไปถึงความสามารถในการดีไซน์ขั้นตอนการทำงาน
  1. Block-chain
การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ให้ถูกจุด เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการอัปเดตข้อมูลของส่วนต่าง ๆ เพิ่มความโปร่งใสในการทำธุรกรรม ให้ง่ายต่อการตรวจสอบและปลอดภัย อย่างเวลาเราจ่ายเงินออนไลน์ เราอาจจะต้องจ่ายผ่านคนกลาง ซึ่ง Block-chain ก็จะเข้ามาช่วยในจุดนี้โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง
  1. Smart Application Programing Interface (API)
เป็นการเชื่อมต่อ Application Programing Interface (API) ระหว่างธนาคาร และผู้ให้บริการอื่น ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน เราจะได้มั่นใจว่า ลูกค้าของธนาคารได้ใช้บริการที่ดี และรวดเร็วผ่านช่องทางออนไลน์
 

Q ตัวแอพพลิเคชั่นนี้หมายถึง แอพที่ใช้ในมือถือด้วยใช่ไหมครับ

ใช่ อันนั้นถือเป็นข้อถัดไป
  1. Super Mobile App
ตอนนี้เรามีแอพธนาคารที่ให้บริการลูกค้าได้ครอบคลุมระดับหนึ่งแล้ว เราจึงตั้งเป้าหมายต่อไปว่า เราจะพัฒนาบริการธนาคารบนมือถือให้เป็น “The Best Mobile App in Thailand” มือถือที่เราใช้ ๆ กันจะกลายเป็นแพลตฟอร์มในการชำระเงินผ่านช่องทางต่าง ๆ เช่น ระบบพร้อมเพย์ ระบบการชำระเงินออนไลน์ (M-Payment) ระบบการสแกนคิวอาร์โค้ดเพื่อชำระค่าบริการ เป็นต้น

ส่วนข้อถัดไป หลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็นจากในภาพยนตร์กัน
  1. Biometric Authentication
วิธีนี้คือ การใช้ลักษณะทางกายภาพมาใช้ในการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ เพื่อสร้างความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น อาทิ การสแกนม่านตา ตรวจจับลายนิ้วมือ การใช้เสียงในการอนุมัติการดำเนินการธุรกรรมออนไลน์ และการยืนยันตัวตน จากแต่ก่อนที่เราแค่เซ็นลายเซ็น เอาบัตรประชาชนให้ดู ต่อไปเราจะได้ใช้วิธีพวกนี้เพื่อการยืนยันตัวตน ซึ่งก็จะให้ความรู้สึกปลอดภัยมากขึ้น

และเราไม่ได้มีแนวทางพัฒนาแค่ของเราคนเดียวนะ เรายังจับมือกับคนอื่น ๆ ด้วย
  1. Social Lending Platform
เราเป็นพันธมิตรกับบริษัทฟินเทคในรูปแบบของพันธมิตรทางการเงินต่าง ๆ ซึ่งหมายถึง เป็นการร่วมมือเพื่อร่วมกันคิดค้น เลือกเฟ้นรูปแบบการบริการในด้านนี้ให้ครบวงจร และเชื่อถือได้
 

Q การร่วมมือกันนี้ถือเป็นการระดมสมองเพื่อหาแนวคิดการทำงานที่มีประสิทธิภาพที่สุด และดีที่สุดให้แก่ลูกค้าใช่ไหมครับ

ถูกต้อง เรายังคำนึงถึงแนวคิดหลัก “เรื่องเงิน เรื่องง่าย” เสมอ เพราะฉะนั้น ลูกค้าของเราจะมั่นใจได้ว่า จะได้ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ใช้ง่าย เข้าใจง่าย ให้พวกเขาได้ทำธุรกรรมทางการเงินได้อย่างสบายใจ
อย่างแนวคิดต่อไป เราก็ทำเรื่องปกติที่หลาย ๆ คนทำกัน ให้เป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
  1. เทคโนโลยีทางด้านการประกันภัย (Insurance)
หลายคนอาจมองว่า ขั้นตอนการทำประกันเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ดังนั้น เราก็เลยเปิดโอกาสให้ลูกค้าทำประกันภัยผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของธนาคารไม่ว่าจะอยู่ที่ใด เวลาใดก็ตาม ด้วยโมเดลการคำนวณ และการนำเสนอเบี้ยประกันภัยที่สอดคล้องกับพฤติกรรมของลูกค้ารายบุคคล

นอกจากเรื่องการให้บริการทางด้านธุรกรรมทางการเงินแล้ว เรายังอยากเป็นผู้ให้ความรู้ทางการเงินด้วย อย่างที่เรามีเว็บไซต์
Plearn เพลิน ที่รวบรวมบทความด้านการเงินไว้มากมายหลายหมวดหมู่
  1. การบริหารความมั่นคงทางการเงิน (Wealth Management)
กรุงศรีสามารถเป็นตัวกลางในการสนับสนุนเสมือนผู้ให้คำปรึกษาด้านการเงินให้แต่ละคน เพื่อให้พวกเขานำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับวิถีชีวิตของแต่ละคน สร้างรายได้ และไปสู่เป้าหมายสูงสุดคือความมั่นคงในชีวิต

สำหรับคนที่มีธุรกิจ เราก็มีแนวทางด้านอี-คอมเมิร์ซ
  1. อี-คอมเมิร์ซ (E-Commerce)
ธนาคารกรุงศรีฯ ได้พัฒนาศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม และเทคโนโลยีด้านการชำระเงิน เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานหรือ Ecosystem ที่แข็งแกร่งในการสนับสนุน SME ไทยให้เติบโตได้อย่างก้าวกระโดดในโลกของตลาดออนไลน์

สุดท้ายนี้ ถ้าคุณทำธุรกิจกับเพื่อนบ้าน เราก็ขอสนับสนุนด้วยการดำเนินการโอนเงิน
  1. การโอนเงินระหว่างประเทศ (X-border Money Transfer)
เพื่ออำนวยความสะดวกและลดต้นทุนในการทำธุรกรรมระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำธุรกรรมในประเทศกลุ่มแม่น้ำโขง (กัมพูชา สปป. ลาว สหภาพเมียนมาร์ และเวียดนาม) ธนาคารกรุงศรีฯ ส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมด้านการโอนเงินโดยนำเอามาตรฐานสากล ISO 2022 มาปรับใช้ในการพัฒนาระบบ
 

เห็นได้ว่า ความคิดริเริ่มในการปลูกฝังวัฒนธรรมนวัตกรรม และการนำหลักกลยุทธ์ในการดำเนินงานทางด้านดิจิทัลและอินโนเวชั่น 7 ประการ พร้อมทั้งแนวทางการพัฒนาและการลงทุนด้านเทคโนโลยี 11 ประการ จะทำให้ธนาคารกรุงศรีฯ สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าแต่ละกลุ่มเป้าหมายในยุคดิจิทัล หากใครต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นด้านการเงินหรือนวัตกรรม สามารถอ่านบทความเสริมความรู้ได้ที่ Plearn เพลิน
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา