ออมเงินให้รวย ไม่แคร์เงินเฟ้อ
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

ออมเงินให้รวย ไม่แคร์เงินเฟ้อ

icon-access-time Posted On 17 มกราคม 2559
By อภินิหารเงินออม
สวัสดีค่ะ ปีใหม่นี้ เรามาทำอะไรใหม่ ๆ เช่น การสร้างความมั่งคั่งจากการสะสมเงินออมที่ไม่ต้องแคร์เงินเฟ้อกันค่ะ

เงินเฟ้อมาเกี่ยวอะไรกับการออมเงิน?


ทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องกันอย่างมาก “เงินเฟ้อทำให้ราคาของแพงขึ้น เงินจำนวนเท่าเดิมแต่เราซื้อของได้น้อยลง” ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนมาก ๆ คือ เรื่องราคาอาหาร จากที่คุณแม่ของผู้เขียนเล่าให้ฟัง แต่ก่อน (เมื่อ 50 ปีที่แล้ว) ก๋วยเตี๋ยวชามละ 1 บาท!! แตกต่างกับตอนนี้ที่ราคาชามละ 40 - 50 บาท แล้วอีก 10 ปีข้างหน้าจะเป็นราคาเท่าไหร่ นั่นเท่ากับว่า ค่าครองชีพของเราจะปรับตัวสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทั้งหมดนี้มันเกิดจากการที่ค่าของเงินเปลี่ยนแปลงไป เงินในมือของเราจะมีมูลค่าลดลงเรื่อย ๆ จากเรื่องราคาก๋วยเตี๋ยวทำให้เรารู้ว่า หากเราเก็บเงิน 100 บาทไว้เฉย ๆ เป็นเวลา 50 ปี แม้ว่าเราจะเห็นเงินจำนวน 100 บาทเท่าเดิมก็จริง แต่มูลค่ากลับลดลง หมายความว่า ความมั่งคั่งของเราลดลง เพราะถูกกัดกินด้วยเงินเฟ้อนั่นเอง

การออมเงินควรชนะเงินเฟ้อ


เมื่อมีเงินเฟ้อสูงขึ้น ทำให้มูลค่าเงินของเราลดลง นั่นหมายความว่า “อำนาจการซื้อลดลง” หากต้องการรักษามูลค่าของเงินหรือรักษาอำนาจซื้อของเราไว้ ก็ต้องหาแหล่งเก็บเงินที่ได้รับผลตอบแทนที่ไม่ต่ำกว่าเงินเฟ้อ หรือเรียกว่าสร้างเงินให้เติบโตเร็วกว่าค่าเงินที่ลดลงนั่นเอง
หลายคนอาจได้ข่าวเงินเฟ้อที่ประกาศออกมาแต่ละปีนั้นแตกต่างกัน บางปีก็มีเงินเฟ้อสูงมาก แต่ในขณะที่บางปีเงินเฟ้อติดลบ ความจริงเงินเฟ้อมีสาเหตุมาจากหลายปัจจัย หากอธิบายรายละเอียดในบทความนี้เกรงว่าจะยืดยาวเกินไป จึงขออธิบายเรื่องของเงินเฟ้อให้เข้าใจง่าย ๆ จากเรื่องใกล้ตัวที่เป็นเรื่องของอาหารการกิน (อ่านบทความเคล็ดลับออมเงิน เอาชนะเงินเฟ้อเพิ่มเติมได้ที่นี่)
เมื่อตัวเลขเงินเฟ้อแต่ละปีนั้นแตกต่างกัน บางปีสูงมาก บางปีต่ำจนกระทั่งติดลบ เราใช้ค่าเฉลี่ยเพื่อเป็นตัวเลขกลาง ๆ น่าจะเหมาะสมกว่า จากตัวเลขของดัชนีผู้บริโภคที่ประกาศจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ข้อมูลดัชนีผู้บริโภค) สรุปง่าย ๆ ได้ว่า เฉลี่ย 10 ปีที่ผ่านมา ราคาสินค้าแพงขึ้นปีละ 3% หรือเรียกว่าเงินเฟ้อเฉลี่ย 3% นั่นเอง
 
ราคาสินค้าและการออมเงิน จำนวนเงินปีนี้ จำนวนเงินปีหน้า
ราคาสินค้า 100 บาท 103 บาท
เก็บเงินในกระปุกออมสินเฉย ๆ 100 บาท 100 บาท
นำเงินไปลงทุน ผลตอบแทน 3% 100 บาท 103 บาท
จากในตารางจะเห็นว่า 1 ปีผ่านไปราคาสินค้าแพงขึ้นไป 3 บาท หากเก็บเงินไว้ในกระปุกออมสินเฉย ๆ เงินก็จะมีจำนวนเท่าเดิมที่ 100 บาท จะซื้อของในราคาที่เพิ่มขึ้นเป็น 103 บาทไม่ได้ แต่เมื่อนำเงินไปลงทุนได้ผลตอบแทนเท่ากับราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น เราก็ยังซื้อของได้เหมือนเดิม หากเรานำเงินไปลงทุนได้ผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อ เช่น 5% ก็ยังไม่ใช่ผลตอบแทนที่เราได้รับนะคะ จะต้องนำผลกระทบของเงินเฟ้อ หักออกไปด้วยเพื่อจะได้เป็นผลตอบแทนที่แท้จริง เช่น
 
นำเงินไปลงทุน ได้ผลตอบแทน 5% เงินเฟ้อ 3% เราจะได้รับผลตอบแทนที่แท้จริง
คือ 5% - 3% = 2%

แหล่งเก็บเงินที่ไม่แคร์เงินเฟ้อ


การลงทุนที่ให้ผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อนั้นส่วนใหญ่จะมีความเสี่ยงสูง เช่น ตราสารทุน (หุ้น) ซึ่งยังไม่เหมาะสมสำหรับผู้ที่เริ่มต้นลงทุน เพราะค่อนข้างซับซ้อน สำหรับผู้เริ่มต้นการนำเงินออมมาต่อยอดด้วยการลงทุนนั้น ควรเลือกการลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำที่ได้ผลตอบแทนใกล้เคียงกับเงินเฟ้อ เมื่อศึกษาการลงทุนจนเข้าใจมากขึ้น จึงไปลงทุนสิ่งที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นค่ะ
ตัวอย่างแหล่งเก็บเงินสำหรับผู้เริ่มต้น
 
 

การฝากประจำ


  • เข้าใจง่าย ความเสี่ยงต่ำ เหมาะกับการสร้างวินัยการออมเงิน เพราะมีระยะเวลาการฝากที่กำหนด เหมือนเป็นการบังคับตัวเองไม่ให้แอบถอนเงินไปใ
  • รู้ผลตอบแทนตั้งแต่วันแรกที่ฝากเงิน หากต้องการชนะเงินเฟ้อ ควรเลือกบัญชีที่ให้ผลตอบแทน มากกว่าเงินเฟ้อที่ 3%
  • มีให้เลือกทั้งปลอดภาษีและไม่ปลอดภาษี (มีการหักภาษี ณ ที่จ่าย 15%) เราควรสอบถามเจ้าหน้าที่ให้เข้าใจว่า ได้ผลตอบแทนเท่าไหร่ ในกรณีที่ต้องเสียภาษีแล้วจะได้รับผลตอบแทนที่แท้จริงเท่าไหร่
  • รายละเอียดต่าง ๆ เราสามารถไปสอบถามได้ที่ธนาคารทั่วไป แต่ถ้าจะให้ดีควรเลือกเข้าเว็บไซต์ เพื่อเปรียบเทียบผลตอบแทนของแต่ละธนาคารก่อน แล้วเลือกธนาคารที่ตนเองสนใจ สอบถามแล้วจึงตัดสินใจฝากเงิน
หากจะออมเงินให้รวยนั้นต้องใช้ความสม่ำเสมอและทำอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเราเริ่มออมเงินก็ควรให้ความสำคัญกับแหล่งเก็บเงินที่ได้รับผลตอบแทนมากกว่าเงินเฟ้อเพื่อรักษามูลค่าเงินของเราไว้ โดยศึกษาข้อมูลให้เข้าใจก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้ง
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา