ประกันสังคม ม33 ฉบับอัปเดตล่าสุด ต่างจากเดิมอย่างไรบ้าง
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

เช็กประกันสังคมมาตรา 33 อัปเดตล่าสุด อะไรเปลี่ยนไปบ้าง

icon-access-time Posted On 10 พฤศจิกายน 2565
by Krungsri The COACH
พนักงานประจำหรือมนุษย์เงินเดือน คงคุ้นเคยกับคำว่า “ประกันสังคม” กันเป็นอย่างดี เพราะเป็นสิ่งที่ทุก ๆ บริษัทมีให้ เรารู้ว่าประกันสังคมสำหรับลูกจ้างหรือประกันสังคมมาตรา 33 (หรือ ม33) หักจากเงินเดือนทุกเดือน เดือนละ 5% สูงสุดไม่เกิน 750 บาทต่อเดือน รู้ว่าสามารถใช้สิทธิรักษาพยาบาลตามสถานพยาบาลที่เลือกไว้ สิทธิประกันสังคมอย่างอื่น ๆ นอกเหนือจากนี้มีอะไรบ้าง ส่วนใหญ่มักไม่ค่อยทราบกันแล้ว หรือบางทีก็ไม่ทราบว่ามีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลไปจากเดิม มาอัปเดตข่าวคราวล่าสุดของประกันสังคมด้วยกัน ว่า ม33 รอบใหม่นี้ ลูกจ้างต้องจ่ายเงินสมทบเดือนละเท่าไร และได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง

 

ประกันสังคมคืออะไร

ประกันสังคมมาตรา 33 คือการทำประกันกับรัฐบาลที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองลูกจ้าง โดยที่นายจ้างจะร่วมจ่ายเงินสมทบให้กับกองทุนประกันสังคมเป็นรายเดือนโดยหักจากเงินเดือนเป็นจำนวน 5% ลูกจ้างจะได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ประสบอันตราย/เจ็บป่วย, คลอดบุตร, ทุพพลภาพ, เสียชีวิต, สงเคราะห์บุตร หรือชราภาพ หรือการว่างงาน

เงินสมทบที่ว่านี้มาจาก 3 ส่วนด้วยกัน คือ ลูกจ้าง 5% นายจ้าง 5% รัฐบาล 2.75% โดยในส่วนของลูกจ้างและนายจ้างทางสถานประกอบการสามารถบริการชำระเงินสมทบกองทุนประกันสังคมทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อไม่ให้พลาดทุกการชำระเงินในแต่ละเดือน

ประกันสังคมมีกี่ประเภท

คนส่วนใหญ่จะคุ้นเคยกับประกันสังคมมาตรา 33 แต่ความจริงแล้วประกันสังคมมีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท คือ ม33 ม39 และ ม40 โดยแต่ละประเภทของประกันสังคมจะมีความแตกต่างกันที่สถานะของผู้ประกันตน ซึ่งมีผลต่อเงินสมทบที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือนและความคุ้มครองที่ได้รับ
 
ความแตกต่างของประกันสังคมมาตรา 33
 
ความคุ้มครองของประกันสังคมมาตรา 33

จะเห็นว่าในตารางอธิบายความแตกต่างของเงินสมทบของแต่ละมาตรามีทั้งแบบเดิมและแบบอัปเดต ซึ่งเป็นผลมาจากมีการเปลี่ยนแปลงไปมาตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้ลูกจ้างและนายจ้างทุกท่านรู้ทันข้อมูลข่าวสาร เพื่อให้ทุกคนได้รับข้อมูลข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับประกันสังคม มาตรา 33 บทความนี้จะสรุปข้อมูลล่าสุดให้ผู้ประกันตนสามารถเข้าใจสิทธิและประโยชน์ที่พวกเขาจะได้รับจากประกันสังคม โดยจะขอพูดถึงเฉพาะประกันสังคมมาตรา 33 เพียงประเภทเดียว

สิทธิประโยชน์ของการทำประกันสังคม

ประกันสังคมให้สิทธิประโยชน์แก่ลูกจ้างดังนี้ 1. ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี 2. สามารถลดหย่อนภาษีได้
 

ความคุ้มครอง

1. กรณีว่างงาน

เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน และต้องรายงานตัวที่ https://e-service.doe.go.th ภายใน 2 ปีนับแต่ว่างงาน จะได้รับเงินชดเชยประกันสังคมดังนี้
 
ความคุ้มครองกรณีว่างงาน ประกันสังคมมาตรา 33
 

2. กรณีประสบอันตราย/เจ็บป่วย

เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนไปรักษา
  • รักษาฟรีที่สถานพยาบาลที่เลือกไว้
  • ถ้าหมอให้หยุดพักเพื่อรักษาตัว ได้เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน (เฉพาะโรคเรื้อรังปีละไม่เกิน 365 วัน)
  • รักษาฟันฟรี ปีละ 900 บาท
 

3. กรณีคลอดลูก

เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนวันคลอด
 
ความคุ้มครองกรณีคลอดลูก ประกันสังคมมาตรา 33
 

4. กรณีทุพพลภาพ

เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 3 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนเกิดเหตุ
 
ความคุ้มครองกรณีทุพพลภาพ ประกันสังคมมาตรา 33
 

5. กรณีเสียชีวิต

เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 1 เดือน ภายใน 6 เดือนก่อนเสียชีวิต
 
ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต ประกันสังคมมาตรา 33
 

6. กรณีสงเคราะห์บุตร

เมื่อจ่ายเงินสมทบมาแล้วไม่ต่ำกว่า 12 เดือน ภายใน 36 เดือนก่อนได้รับเงินทดแทน
 
ความคุ้มครองกรณีสงเคราะห์บุตร ประกันสังคมมาตรา 33
 

7. กรณีชราภาพ

 
ความคุ้มครองกรณีชราภาพ ประกันสังคมมาตรา 33

สิทธิประกันสังคมเงินชราภาพล่าสุด ยังคงเป็นตามตารางด้านบนอยู่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กำลังมีการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม ฉบับใหม่ ทำให้ในอนาคตผู้ประกันตนมาตรา 33 จะมีทางเลือกมากขึ้นสำหรับการรับเงินชราภาพ ซึ่งจะช่วยให้การประกันสังคม คือ ระบบที่สนับสนุนความมั่นคงทางการเงินในวัยเกษียณของผู้ประกันตนได้ดีขึ้นตามรายละเอียดดังนี้
 
สิทธิประกันสังคมเงินชราภาพ ประกันสังคมมาตรา 33

การจะเลือกรับเงินชราภาพจากประกันสังคมมาตรา 33 ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัว แต่จะขึ้นอยู่กับสถานการณ์และการตัดสินใจของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ดี สำหรับผู้ที่มีความกังวลในเรื่องของอนาคต ควรเริ่มวางแผนล่วงหน้าเพื่อรักษาสภาพคล่องหลังเกษียณ โดยพิจารณจากยอดเงินชราภาพที่คุณจะได้รับจากประกันสังคม มาตรา 33 รวมถึงเงินเก็บส่วนอื่น

หากยังไม่วางใจในเรื่องของเงินบำเหน็จบำนาญจากประกันสังคมมาตรา 33 เรายังมีทางเลือกอย่าง กรุงศรีประกันบำนาญ แฮปปี้รีไทร์ ที่จะช่วยให้ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในอนาคต ช่วยให้คุณสามารถใช้ชีวิตหลังเกษียณได้เหมือนวันที่ผ่าน ๆ มา โดยไม่ต้องพะวงถึงเรื่องการเงิน
 

ลดหย่อนภาษี ด้วยประกันสังคม มาตรา 33

สามารถใช้เงินสมทบประกันสังคม ลดหย่อนภาษีประจำปีได้ตามการจ่ายจริง เช่น จ่ายเงินสมทบเดือนละ 750 บาทครบ 12 เดือน สามารถขอลดหย่อนภาษีได้ 9,000 บาท โดยในปี พ.ศ. 2565 ผู้ประกันตน ม33 สามารถลดหย่อนภาษีได้ 6,300 บาท

สำหรับในปีนี้ ม33 มีอัตราการจ่ายเงินสมทบดังนี้
  • ม.ค. - เม.ย. 65 : 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750.-
  • พ.ค. - ก.ค. 65 : 1% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 150.-
  • ส.ค. - ก.ย. : 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750.-
  • ต.ค. - ธ.ค. : 3% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 450.-

สรุปแล้ว เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ของประกันสังคม มาตรา 33 รอบล่าสุดนี้ ภาพรวมไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก มีการปรับลดการจ่ายเงินสมทบสำหรับ ม33 จาก 5% เหลือ 3 % สิทธิประโยชน์ที่ปรับใหม่จะเป็นส่วนของความคุ้มครองต่อไปนี้
  • กรณีคลอดลูก ได้รับค่าคลอด 15,000 บาท (จากเดิม 13,000 บาท)
  • กรณีเสียชีวิต ได้ค่าทำศพ 50,000 บาท (จากเดิม 40,000 บาท)
  • กรณีสงเคราะห์บุตร ได้รับเดือนละ 800 บาท/บุตร 1 คน (จากเดิม 600 บาท)

ดังที่ได้กล่าวไว้เมื่อข้างต้นว่าประกันสังคมมักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ในอนาคตจะปรับเปลี่ยนเป็นอย่างไร สามารถติดตามข่าวสารได้ที่ Krungsri The COACH โค้ชเรื่องเงิน ให้เป็นเรื่องง่าย

หากท่านต้องการปรึกษาหรือขอคำแนะนำเพิ่มเติม ทางธนาคารกรุงศรีฯ มีผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการลงทุนโดยเฉพาะ ที่สามารถปรึกษาผ่านช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 จันทร์ - ศุกร์ เวลา 9.00 น. - 17.00 น. หรือฝากข้อมูลเพื่อให้ปรึกษาทางด้านการเงินจากธนาคารกรุงศรี ติดต่อกลับ
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา