บอกลาชีวิตแบบเดือนชนเดือน ออมเงินไม่มีสะดุดแม้ตอนฉุกเฉิน
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

บอกลาชีวิตแบบเดือนชนเดือน ออมเงินไม่มีสะดุดแม้ตอนฉุกเฉิน

icon-access-time Posted On 27 กรกฎาคม 2566
By Krungsri The COACH
ในยุคที่ภาวะเงินเฟ้อ ค่าใช้จ่ายสูง และค่าครองชีพที่สวนทางกับกำลังรายได้ที่มี การมี “เงินสำรองฉุกเฉิน” จึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ดีสำหรับคนที่มีแหล่งรายได้ทางเดียว หรือกลุ่มพนักงานออฟฟิศ เพราะเงินสำรองฉุกเฉินเปรียบเหมือนก้อนเงินที่เข้ามาช่วยชีวิตตอนที่เกิดเรื่องไม่คาดฝันกับเรา เช่น อุบัติเหตุฉุกเฉิน การผ่าตัด หรือแม้แต่ตอนที่ตกงาน กว่าจะหางานใหม่ได้อาจใช้เวลานานกว่าที่เราคิด 3 เดือน หรืออาจเป็น 6 เดือนเลยเป็นได้…เห็นแบบนี้แล้ว เริ่มเอะใจแล้วใช่ไหมว่าเงินสำรองฉุกเฉินสำคัญอย่างไรบ้าง? แต่ถ้ายังนึกภาพไม่ออก เราตามมาดูกันเลยดีกว่า…
การออมเงิน เพื่อเป็นเงินสำรองฉุกเฉิน

“เงินสำรองฉุกเฉิน” ใช้ตอนไหน?

เงินสำรองฉุกเฉิน คือเงินที่ต้องหยิบมาใช้เร่งด่วน และใช้ได้ทันทีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดขึ้น เช่น เกิดอุบัติเหตุต้องผ่าตัดกะทันหัน ซึ่งค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็เยอะไม่น้อยเช่นกัน ไหนจะค่ารักษาพักฟื้นระหว่างที่ต้องนอนอยู่โรงพยาบาลอีก ไม่เพียงแค่นั้น บางคนอาจตรวจเจอโรคร้ายแรงที่ต้องใช้ค่ารักษาในระยะยาว ทำให้ปวดหัวกับค่าใช้จ่ายเหล่านั้นไม่น้อย แต่ทั้งนี้เงินก้อนที่ว่านั่นก็ไม่แนะนำให้ทำการกู้ยืม ทางที่ดีควรเลือกทำประกันเอาไว้ดีกว่า เช่น ประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ เมื่อเจอสถานการณ์ที่ต้องใช้เงินฉุกเฉิน ทางประกันก็จะเป็นผู้เข้ามารับผิดชอบในส่วนนั้นให้ แล้วก็ยังช่วยผ่อนแรงเราได้อีก

สถานการณ์ว่างงาน…เป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนคงไม่คาดคิด ทำงานอยู่ดี ๆ เกิดวันหนึ่งบริษัทที่ทำอยู่ล้มละลาย หรือเศรษฐกิจชะงักตัวกระทันหันเหมือนอย่างตอนที่โควิด-19 ระบาดช่วงแรกจนต้องล็อกดาวน์กันไป ก็สร้างความเสียหายไปไม่น้อย การมีเงินสำรองฉุกเฉินก็อาจช่วยยื้อช่วงที่ขาดรายได้ไปได้

ดังนั้นการมีเงินสำรองฉุกเฉินติดตัวไว้ก็ช่วยต่อเวลาให้เราระหว่างที่หางานใหม่ได้อยู่…แต่ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไรว่า “เงินสำรองฉุกเฉินต้องเก็บเท่าไหร่” ถึงเรียกว่าเงินสำรองฉุกเฉิน วันนี้เราจะมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กัน พร้อมทริคแนะนำวิธีเก็บเงินที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้!!

เงินสำรองฉุกเฉิน “ต้องเก็บเท่าไหร่?”

โดยเฉลี่ยแล้วเงินสำรองฉุกเฉินควรเก็บไว้ประมาณ 3 – 6 เท่าของรายจ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือน

ตัวอย่างเช่น เรามีเงินเดือนประจำ 20,000 บาท
ค่าใช้จ่ายรายเดือนคงที่ (รายการที่ต้องจ่ายประจำ และจำนวนตัวเลขแน่นอน) เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ค่ากิน ค่าน้ำไฟ ฯลฯ

ดังนั้นสูตรในการคำนวณเงินสำรองฉุกเฉินที่ต้องมีคือ:
เงินเดือน x จำนวนเท่า : (20,000 x 3) และ (20,000 x 6) = 60,000 – 120,000 บาท

การคงค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนอาจเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ยิ่งด้วยภาวะเงินเฟ้อก็ทำให้ราคาสินค้า และบริการต่าง ๆ ผันผวนไปด้วย ถึงแม้ว่าเราไม่อาจใช้เงินได้ตามใจเหมือนแต่ก่อนมากนัก แต่เราสามารถคงจำนวนรายจ่ายได้ด้วยการตัดสินใจซื้อ “สิ่งที่จำเป็น” ก่อน ส่วนสิ่งของที่ยังไม่จำเป็น หรือสามารถรอได้ก็ให้อดใจ เก็บเงินเพิ่มไว้ก่อน เท่านั้นเราก็สามารถกำหนดรายจ่ายที่จำเป็น และไม่จำเป็นได้แล้ว

แต่ถ้าใครที่ไม่ใช่พนักงานประจำ หรือทำงานออฟฟิศ อย่างเป็นฟรีแลนซ์ รายได้ที่เข้ามาในแต่ละเดือนก็อาจจะไม่ได้คงที่หรือแน่นอนขนาดนั้น ดังนั้นก็ควรมีเงินสำรองฉุกเฉินเผื่อไว้อย่างน้อยสำหรับ 12 เดือน หรือประมาณ 240,000 บาท (20,000 x 12) ในกรณีนี้ฟรีแลนซ์บางคนอาจใช้รายได้ในแต่ละเดือนของตัวเองแบบตัวเลขคร่าว ๆ เพื่อสำรองเงินสำรองฉุกเฉินที่ต้องเตรียมก็ได้
 
การออมเงิน เพื่ออนาคต

เงินสำรองฉุกเฉิน “เอาไปเก็บที่ไหนดี?”

เชื่อว่าหลาย ๆ คนน่าจะเปิดบัญชีตัวเองไม่ต่ำกว่า 2 บัญชีกับบัตรเครดิตไม่ต่ำกว่า 2 ใบ แล้วยิ่งมีหลายบัญชีก็ยิ่งรู้สึกว่าหยิบมาใช้ได้ทั่วถึง เดือนนี้เอาบัญชี A มาใช้ แล้วค่อยทบคืน แต่กลายเป็นว่าก็เผลอหยิบบัญชี B C และ D มาทบยืมเรื่อย ๆ จนไม่รู้ว่าต้องคืนบัญชีไหนก่อน ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการออมเงินในบัญชีที่เราใช้ปกติในชีวิตประจำวันเลย มีหวังเงินสำรองฉุกเฉินคงเก็บไม่ถึงเป้าที่วางไว้แน่ ๆ

วันนี้เราเลยจะมาแนะนำทริควิธีเก็บเงินสำรองฉุกเฉินแบบง่าย ๆ เบสิคที่ใคร ๆ ก็เริ่มเก็บตามได้ไม่ยาก แค่จัดระเบียบการใช้เงิน และจัดวางบัญชีตัวเองให้ดีเพียงเท่านี้ก็สามารถเก็บเงินสำรองฉุกเฉินได้ตามเป้าที่ตั้งไว้แล้ว
 

1. ฝากในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ มีแต่ได้ ออนไลน์

อย่าเพิ่งเอ๊ะ เพราะบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ มีแต่ได้ ออนไลน์ เนี่ยแหละที่ช่วยเก็บเงินสำรองฉุกเฉินให้เราได้ดีในตัวเลือกต้น ๆ และเป็นประเภทบัญชีที่ไม่ว่าใครก็เปิดทำธุรกรรมได้ไม่ยุ่งยาก ทั้งใช้งานง่าย ถอนเงินได้ทันทีที่ต้องรีบใช้ และยังสามารถทำธุรกรรมผ่านทางออนไลน์ได้อีกด้วย ถึงจะได้ดอกเบี้ยเงินฝากพอประมาณ แต่ก็ยังถือว่าได้ดอกเบี้ยเงินฝากอย่างสม่ำเสมออยู่
 

2. บัญชีเงินฝากประจำ ปลอดภาษี

วิธีนี้เป็นวิธีหักดิบเล็กน้อยแต่ได้ผลแน่นอน โดยเฉพาะกับคนที่คิดว่าตัวเองเก็บเงินไม่ค่อยอยู่ หรือรู้สึกว่าเป็นคนใช้จ่ายเยอะ คุ้มค่าใช้จ่ายไม่ค่อยได้อาจทำให้เก็บเงินยากกว่าคนอื่น เพราะบัญชีเงินฝากประจำกำหนดว่าเราต้องฝากทุกเดือนด้วยจำนวนที่กำหนดตามระยะเวลา ซึ่งเราสามารถเลือกประเภทบัญชีเงินฝากประจำได้ว่าจะเป็นแบบระยะสั้น หรือระยะยาว ซึ่งบัญชีเงินฝากประจำ ปลอดภาษีก็จะได้ดอกเบี้ยมากกว่าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เล็กน้อย
 

3. กองทุนรวมหุ้น

กองทุนรวมหุ้นเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างสำหรับใครที่ไม่อยากเก็บเงินไว้เฉย ๆ อย่างเดียว ก็อาจเลือกกองทุนรวมได้ เพราะกองทุนรวมเป็นการลงทุนในระดับความเสี่ยงต่ำไปจนถึงระดับความเสี่ยงสูง โดยจะระดมเงินทุนของนักลงทุนหลายรายมารวมกันเป็นเงินลงทุนก้อนใหญ่ จากนั้นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ก็จะนำกองทุนไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วนำไปลงทุนตามนโยบายที่กำหนดไว้ นอกจากนี้เราก็ยังเอามาใช้ในรายการลดหย่อนภาษีประจำปีได้อีกด้วย

การเก็บเงินสำรองฉุกเฉินควรเลือกเก็บในสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง หรือก็คือสามารถแปลงกลับมาเป็นเงินให้เราได้ทันทีที่ต้องเร่งด่วนใช้เงิน ซึ่งการออมเงินกับประเภทบัญชีเงินฝากอาจทำให้เราได้ดอกเบี้ยกลับมาไม่มากนัก เราจึงควรแบ่งเงินออมเพื่อนำส่วนที่เหลือไปลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่ถ้าเกิดในกรณีที่เราต้องใช้เงินก้อนอย่างเร่งด่วน แต่ “เก็บเงินไม่ทัน” ทำอย่างไรได้บ้าง...
 
การออมเงิน เพื่อใช้ตอนเหตุฉุกเฉิน

“เก็บเงินสำรองฉุกเฉินไม่ทัน” ทำอย่างไร?

เอาเข้าจริง ๆ ไม่ว่าใครก็คาดเดาเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันไม่ได้เหมือนกันว่าจะเกิดอะไรขึ้นตอนไหน เมื่อไหร่ และที่ไหน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุต่าง ๆ กรณีที่วงเงินประกันไม่สามารถช่วยจ่ายในจำนวนที่เราสู้ไหวก็ต้องหาทางเพิ่ม แต่ต้องเร่งใช้เงินด่วน “สินเชื่อส่วนบุคคล” ก็เป็นตัวเลือกหนึ่งที่พอจะเข้ามาช่วยในสถานการณ์นั้น ๆ ได้

จริงอยู่ที่ว่าเราไม่ควรสร้างหนี้ให้ตัวเองเพิ่ม แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ไม่มีใครที่อยากมีหนี้ให้ตัวเองจริง ๆ หรอก มันมีแค่ทางเลือกนี้เจ็บน้อยกว่าอีกทางหนึ่ง ดังนั้นเราจึงต้องจัดระเบียบการใช้ชีวิต รวมไปถึงการวางแผนเรื่องเงินต่าง ๆ ให้ดี เพื่อไม่ให้เรามีหนี้ติดตัวในอนาคต…ใครที่กำลังหาทางออก หรือเตรียมตัวเผื่อไว้ว่าวันหนึ่งต้องใช้เงินเร่งด่วน ก็อาจใช้การพึ่งพา “สินเชื่อส่วนบุคคล” จากธนาคาร ซึ่งส่วนมากแล้วการทำธุรกรรมกับธนาคารก็จะไม่ค่อยยุ่งยากเท่าเมื่อก่อน อีกทั้งเจ้าหน้าที่ธนาคารก็ยังพร้อมให้ความช่วยเหลือ และคำแนะนำต่าง ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการทำรายการสินเชื่อส่วนบุคคลด้วยเช่นกัน

ยกตัวอย่าง สินเชื่อส่วนบุคคล กรุงศรี iFIN เป็นสินเชื่ออเนกประสงค์แบบไม่ต้องมีหลักประกัน หรือผู้ค้ำประกัน สามารถทำธุรกรรมผ่านแอปฯ KMA krungsri app รู้ผลภายใน 1 วัน สะดวก สบาย ง่ายสุด ๆ โดยธนาคารจะกำหนดวงเงินสินเชื่อ และอัตราดอกเบี้ยที่เราจะได้รับ คิดอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าเงินกู้นอกระบบด้วยวิธีคิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก อีกทั้งยังสามารถเลือกระยะเวลาผ่อนชำระคืนได้ระหว่าง 12 – 60 เดือน ศึกษารายละเอียด และเงื่อนไขอื่น ๆ ได้ที่นี่เลย

ที่มาข้อมูล
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา