การมีพาหนะคู่ใจก็เหมือนการเลือกเพื่อนเเท้ร่วมเดินทาง ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยทำงานสองสิ่งสำคัญที่หลายคนมักเก็บเงินก้อนนั่นก็คือ รถยนต์เเละบ้าน ซึ่งรถยนต์ก็เป็นของชิ้นใหญ่ชิ้นเเรกที่หลายคนเลือกซื้อ เเต่การเลือกซื้อรถยนต์สักคันไม่ใช่เเค่จ่ายเงินดาวน์เเละจ่ายเงินเป็นงวดๆ ไป เเต่ยังมีค่าประกัน ค่าซ่อมรถ ค่าน้ำมัน ค่าทำความสะอาด เเละอื่นๆ อีกมาก เราจึงจะนำข้อมูลในการเลือกซื้อรถเเละขั้นตอนเก็บเงิน สำหรับใครที่กำลังอยากจะซื้อรถค่ะ
ปัจจัยสำคัญในการเลือกซื้อรถ
รถยนต์คือพาหนะหลักเเละเป็นหนี้ก้อนโตหลายปีในเวลาด้วยกัน การเลือกรถจึงต้องคิดให้ถี่ถ้วน เพื่อไม่เกิดปัญหาทีหลังซึ่ง 2 ปัจจัยหลักที่คุณควรตัดสินใจก่อนเลือกซื้อรถคือ
1. ประเภทรถ
ทุกคนมีเป้าหมายในการซื้อรถไม่เหมือนกัน บางคนชอบรถกระบะ จะได้บรรทุกของชิ้นใหญ่ได้ ส่วนบางคนชอบรถเก๋งเพราะขับง่าย หรือบางคนชอบรถครอบครัวเพราะสมาชิกในบ้านเยอะ เมื่อคุณได้รู้ความต้องการของตัวคุณเองเเล้วคุณจะรู้ว่าประเภทรถเเบบไหนที่เหมาะกับคุณ จะได้วางเเผนการเงินได้ถูก
2. ราคา
ราคารถยนต์ เป็นปัจจัยสำคัญที่จะบอกว่าคุณต้องเก็บเงินเท่าไหร่ เเละเเต่ละเดือนต้องเสียอะไรบ้าง โดยเมื่อคุณทราบราคาที่จ่ายไหวเเละประเภทของรถยนต์เเล้ว คุณสามารถนั่งไล่ดูรถเเต่ละเเบรนด์ได้ว่าดีไซน์เเบบไหนที่ถูกใจ ถัดมาก็จะเป็นเรื่องการผ่อน ถือเป็นหนี้สินระยะยาวประมาณ 5-7 ปี คุณจึงต้องจัดสรรค่ารถเเละค่าใช้จ่ายในชีวิตให้สมดุลกัน
ค่าใช้จ่ายเมื่อจะซื้อรถ 1 คัน
ก่อนที่คุณจะซื้อรถยนต์ คุณควรทราบถึงค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเมื่อซื้อรถยนต์ 1 คัน เพราะไม่ได้มีเเค่เงินดาวน์กับผ่อนรถเท่านั้น เราจึงนำ 6 ค่าใช้จ่ายหลักที่คุณจะต้องเสียเเน่นอน เพื่อให้คุณได้จัดสรรเงินได้อย่างถูกต้อง
1. เงินดาวน์
เงินดาวน์คือเงินก้อนเเรกสำหรับซื้อรถยนต์ ยิ่งดาวน์มากก็ยิ่งผ่อนน้อย ส่วนใครดาวน์น้อยก็ยิ่งผ่อนนานเเถมจะโดนดอกเบี้ยในอัตราที่สูงเล่นงานอีก ซึ่งจริงๆ เเล้วเงินผ่อนควรอยู่ที่ 20-25% ของรายได้ทั้งหมดเพื่อให้การเงินของคุณยังมีสภาพคล่องอยู่ มิฉะนั้นรถยนต์จะเป็นภาระชั้นดีนานถึง 7 ปีเลยทีเดียว
2. ค่าผ่อนรถ
ค่าผ่อนรถเเต่ละท่านไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับเงินดาวน์เเละราคารถ ตัวอย่าง รถยนต์ราคา 500,000 ดาวน์ได้อัตราดอกเบี้ยที่ 3% ระยะเวลาการผ่อน 5 ปี ดาวน์รถที่ 100,000 บาท เเสดงว่าเหลืออีก 400,000 บาทซึ่งค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นมีดังนี้
3. ค่าน้ำมัน
ค่าใช้จ่ายส่วนนี้สามารถชดเชยกับค่าเดินทางที่คุณเคยเสียไปซึ่งตกเดือนละ 3,000-4,000 บาท ยังไม่ร่วมค่าทางด่วน ค่าที่จอดรถต่างๆ ที่คุณจะต้องเสียในเเต่ละวัน
4. ค่าต่อทะเบียน
เหมือนภาษีรถยนต์ที่ต้องจ่ายทุกปี เป็นค่าใช้จ่ายภาคบังคับตามกฎหมาย ราคาขึ้นอยู่กับขนาดเเละอายุของรถยนต์
5. ค่าบำรุงรักษา
รถก็เหมือนบ้านที่ต้องเจอความสกปรกในเเต่ละวัน เผลอๆ อาจจะต้องปัดกวาดเช็ดถูมากกว่าบ้านด้วยซ้ำ ไม่ว่าคุณจะให้ร้านหรือทำความสะอาดเองก็ต้องมีใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอยู่ดี
6. ค่าประกันรถยนต์
แม้กฎหมายจะไม่ได้บังคับให้ทุกคนที่มีรถยนต์ทำประกัน แต่การทำประกันรถยนต์ก็ยังถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุอะไรขึ้นกับรถ ประกันรถยนต์สามารถช่วยลดค่าใช้จ่ายได้มากถึง 100% ถือเป็นการประหยัดเงินจากเหตุไม่คาดฝันได้ ดังนั้น จึงแนะนำว่า เมื่อจะซื้อรถ ก็ควรเผื่อเงินค่าประกันรถยนต์ไว้ด้วย
7 วิธีการเก็บเงินซื้อรถ
เห็นค่าใช้จ่ายในการซื้อรถยนต์เเล้ว เชื่อว่าหลายท่านคงต้องกลับมาวางเเผนการเงินกันใหม่ ว่าเงินที่มีอยู่เพียงพอหรือยัง เพราะในการเลือกซื้อรถยนต์ถ้าคุณซื้อเงินสด ภาระต่างๆ ของคุณก็คงเหลือเเค่ค่าดูเเลรถยนต์ ประกันต่างๆ เเต่ถ้าเกิดการผ่อนชำระจะเกิดค่างวดเพิ่มขึ้นมา ยิ่งคุณใช้เวลาผ่อนชำระนานดอกเบี้ยก็จะเยอะ เราจึงจะมาบอกขั้นตอนการเก็บเงินทั้งเงินดาวน์เงินผ่อน เพื่อซื้อรถยนต์ที่ถูกต้องมาให้ทุกคนได้นำไปใช้กันค่ะ
1. หัก 10% ออกทุกเดือน
วิธีนี้เหมาะสำหรับมนุษย์เดือน เมื่อเงินออกปุ๊ปก็หัก 10% เข้าบัญชีเเยกไว้ห้ามถอนออกมาใช้ซึ่งเป็นวิธีการเก็บก่อนใช้อีกเเบบ ที่ช่วยให้คุณเก็บเงินซื้อรถได้เร็วขึ้นเเละจะส่งผลดีในระยะยาวเพราะครั้งเเรกที่คุณจ่าย จะเป็นค่าเงินดาวน์ที่ถูกหักจาก 10% มาหลายๆ เดือนเเละเมื่อคุณได้รถเเล้ว ก็นำเงิน 10% นี้มาเป็นค่างวดเเทน นอกจากช่วยให้คุณได้รถแล้วยังสร้างนิสัยการเก็บเงินให้คุณอีกด้วย
2. ออมเท่าค่างวด
วิธีนี้เป็นเหมือนการหักดิบสำหรับคนที่ยังคุมค่าใช้จ่ายไม่ได้ โดยการให้เดินเข้าไปในสนามผ่อนรถก่อนผ่อนจริงซะเลย ในเมื่อคุณทราบเเล้วว่าเดือนนึงค่าผ่อนรถในฝันจะต้องจ่ายเท่าไหร่ งั้นลองเสียก่อนจะได้ผ่อนจริงนอกจากจะได้เงินเก็บสำหรับซื้อรถเเล้วยังคอยเตือนคุณว่าจริงๆ เเล้วรายได้ที่คุณมีสามารถผ่อนรถในฝันของคุณได้จริงหรือเปล่า
3. เก็บเเบงค์ 50
วิธีพื้นฐานที่สำเร็จมานักต่อนัก เพราะวันนึงคุณไม่ได้เจอเเบงค์ 50 ทุกวัน การเก็บแบงค์ 50 อาจทำให้การเก็บเงินเป็นเรื่องง่ายก็เเค่ไม่ใช้เเบงค์นี้ พอครบเดือนคุณนำเเบงค์ 50 มารวมกันคุณจะพบว่า 50 บาท สามารถต่อยอดเป็นหลักพันได้และเงินจำนวนนี้สามารถช่วยคุณจ่ายค่างวดรถได้สบายมากขึ้น
4. เก็บเท่าใช้
เพราะยิ่งใช้มากคุณจะยิ่งเก็บน้อยลง เเต่ถ้าคุณใช้เท่ากับเก็บหละ หากจ่ายออกไปเยอะคุณก็มีเงินเก็บเยอะขึ้นเช่นกัน วิธีนี้จะช่วยให้เห็นภาพรวมของรายจ่ายต่อเดือนของคุณด้วยและเป็นอีกข้อดีที่ช่วยให้เห็นความสำคัญของเงินมากขึ้น
5. ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น
วิธีนี้เป็นสิ่งที่ทุกคนควรทำ ของบางอย่างที่อยากได้ต้องถามตัวคุณเองก่อนว่าสำคัญมั้ย ถ้าสำคัญจำเป็นคุณสามารถซื้อได้เลย เเต่ถ้าใจคุณอยากได้อย่างเดียวไม่ใช่ของจำเป็นเเละไม่เกิดการยับยั้งชั่งใจไว้ ก็เป็นเรื่องยากที่คุณจะจ่ายค่างวดรถได้อย่างสบายใจไม่กระทบการใช้เงินในชีวิต
6. ลงทุนในกองทุนรวม
เหมาะสำหรับเงินดาวน์ โดยผู้เริ่มต้นเเนะนำให้ซื้อ
กองทุนตลาดเงินหรือตราสารหนี้เพราะความเสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ ทางเลือกการลงทุนที่ให้ผลตอบเเทนที่สูงกว่าเงินฝาก หากกังวลว่าไม่ถนัดด้านลงทุนเเนะนำให้นำเงินไปฝาก
บัญชีฝากประจำปลอดภาษี เพื่อจะช่วยให้คุณได้เงินก้อนที่ตั้งใจไว้
7. ฝากเงินประจำระยะสั้น
ถ้าคุณลองมาหมดทุกวิธีเเล้วเเต่ยังไงก็เก็บไม่ได้ เเนะนำให้ธนาคารเก็บให้ โดยเป็นการฝากประจำระยะสั้น บางธนาคารจะมีเงินขั้นต่ำกำหนดไว้ จะช่วยให้คุณมีกรอบระเบียบในการเก็บเงินมากขึ้น โดยกรุงศรีเองก็มีบัญชีเงิน
ออมทรัพย์มีแต่ได้ออนไลน์ที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากประจำแบบธรรมดา เพียงฝากเงินทุกเดือน จำนวนเท่ากับที่ฝากเดือนแรกติดต่อกัน 6 เดือน คุณก็จะได้รับดอกเบี้ยพิเศษสูงสุด 1.5% ต่อปี ซึ่งถือเป็นวิธีกระตุ้นให้คุณอยากออมเงินมากขึ้นและสร้างวินัยการออมที่เข้มแข็ง
การจะมีรถยนต์สักหนึ่งคันคงไม่ยาก ถ้าหากคุณจัดระบบการเก็บเงินที่ดีซึ่งเเผนเเต่ละคนมีไม่เหมือนกัน เช่น บางคนซื้อสดเลยเพราะไม่อยากมีภาระ บางคนเลือกจะผ่อนนานถึงเเม้จะเสียดอกเบี้ยสูงเเต่ก็เต็มใจเพราะสะดวกสบายไม่ต้องหาเงินก้อนเยอะๆ และบางคนเลือกจะจะดาวน์สูงๆ ผ่อนสบายเสียดอกเบี้ยไม่มาก ซึ่งวิธีเก็บเงินซื้อรถทั้งหมดเป็นคำเเนะนำให้ทุกคนได้เก็บเงินซื้อรถกัน จะได้ไม่ต้องกังวลเรื่องภาระที่จะตามมาหลังจากมีรถหนึ่งคัน นอกจากนี้กรุงศรีมี
ให้บริการสินเชื่อ เช่าซื้อรถยนต์ เพื่อให้คุณมีรถยนต์ในฝันกับการเงินที่ดีไปพร้อมๆ กัน
บทความโดย
ขวัญชัย รุ่งเรืองกอสว่าง AFPT™
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา