เงินเดือนเยอะ..ทำอย่างไร? ให้มีเงินเก็บเหลือใช้
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

เงินเดือนเยอะ..ทำอย่างไร? ให้มีเงินเก็บเหลือใช้

icon-access-time Posted On 15 สิงหาคม 2566
By Krungsri The COACH
หลายคนมีรายรับที่เยอะในแต่ละเดือน แต่ทำไม? ชีวิตในบั้นปลายหลายคนกลับไม่มีเงินเก็บ สุดท้ายต้องเป็นหนี้ตลอดชีวิต หรือซ้ำร้ายบางคนจนยิ่งกว่าเดิม แม้จะได้ฐานเงินเดือนที่สูง แต่ถ้าบริหารจัดการเงินในทิศทางที่ไม่ถูกต้อง พอเงินเดือนเข้าก็โอนจ่ายออกทันที เมื่อรู้ตัวอีกทีก็ไม่มีเงินเก็บใช้จ่ายสำรองในยามฉุกเฉิน

แน่นอนว่าการได้รับเงินเดือนที่สูงอาจเป็นก้าวสำคัญในอาชีพการงาน จนถึงขั้นทำให้ความมั่นคงทางการเงินของเรานั้นมีสะดวกสบาย มีกินมีใช้มากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามแม้จะดูมีรายได้มากมายสักแค่ไหน หลายคนก็ออมเงินไม่อยู่ และไม่มีเงินเก็บสักที ทำไมถึงเป็นแบบนี้ไปได้นะ?

ขอยกตัวอย่าง..อุปสรรคการออมเงินให้เข้าใจง่าย ๆ อย่างคนทั่วไปได้เข้าใจกัน

เมื่อเราเริ่มมีรายได้เยอะขึ้น ไลฟ์สไตล์ทางการเงินก็ยิ่งสูงตาม เช่น หากเงินเดือนเรา 40,000 บาท แล้วอยากจะผ่อนรถสักคันประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน หลายคนที่มีรายได้ประมาณเท่านี้ก็คงคิดว่าผ่อนไปเดือนละเท่านี้เอง พอสิ้นเดือนก็มีเงินเหลือเก็บใช้อีกเยอะ จนบางทีไม่ทันคิดว่ายังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ตัวเองไม่ทันนึกถึง อย่างค่าภาษีรถยนต์ ค่าบำรุงรักษา ถ่ายน้ำมันเครื่อง เปลี่ยนยาง หรือค่ารักษาพยาบาลในวันที่เจ็บป่วยฉุกเฉิน เป็นต้น
 
วางแผนการเงินเพื่อออมเงิน

ดังนั้น “การที่เรามีรายได้เยอะ ≠ เราจะใช้จ่ายเงินไปเท่าไรก็ได้” เพราะหากเรามีไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่ฟุ่มเฟือย ไม่รู้จักการออมเงิน สุดท้ายปลายทางเราก็ไม่เหลือเงินเก็บ ไม่มีเงินสำรองฉุกเฉินตอนวัยเกษียณอายุ พอถึงตอนนั้นอาจสายเกินไปที่จะเก็บเงิน ทำให้ชีวิตลำบากได้

เราเลยอยากมาแนะนำเรื่องแผนการออมเงินเพื่อไม่ให้ใครต้องพบกับเหตุการณ์แบบนี้ในอนาคตมาให้ทุกคนนำไปปรับใช้กัน ลองไปดูเลย!!

เทคนิคบริหารการออมให้เงินเหลือใช้

1. จัดสรรเงินออม เพื่ออุดรอยรั่วทางการเงิน

ยอดออมเงินเติบโตเรื่อยๆ

ถ้ารายได้ต่อเดือนอยู่ที่ประมาณ 50,000 บาท หากเราต้องการออมเงินสำรองฉุกเฉินอย่างน้อย 6 – 12 เดือน สิ่งแรกที่เราควรทำคือ สร้างบัญชีเงินออมไว้อีกบัญชี และคำนวณค่าใช้จ่ายคงที่ (Fixed Cost) ต่อเดือนอีกที ว่าเราต้องใช้จ่ายในเรื่องอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง เช่น
 
รายการใช้จ่าย ค่าใช้จ่าย
ค่าผ่อนบ้าน / เช่าคอนโด 9,000 บาท
ค่าผ่อนรถยนต์ 6,000 บาท
ค่าเดินทางไปทำงาน 4,000 บาท
ค่าโทรศัพท์ 500 บาท
ค่าใช้จ่ายประจำวัน 300 บาท x 31 วัน 9,300 บาท
รวม 28,800 บาท / เดือน
แล้วนำรายจ่ายคงที่ทั้งหมดที่มี นำมาคำนวณเป็นเงินเก็บสำรองฉุกเฉิน โดยใช้สูตร
“30,000 (ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือน) x ระยะเวลา 6 – 12 เดือน = เงินสำรองฉุกเฉิน”
นั่นหมายความว่าเราควรมีเงินสำรองเก็บฉุกเฉินไว้ในบัญชีประมาณ 180,000 – 360,000 บาทต่อปี

ดังนั้นในแต่ละเดือนเมื่อได้รับเงินเดือนเข้ามาในบัญชี เราควรหักเงินออมไว้ส่วนหนึ่งประมาณ 5,000 บาท แยกเข้าบัญชีเงินเก็บสำรองฉุกเฉินแบบอัตโนมัติ เก็บเป็นประจำอย่างนี้ให้ครบในระยะเวลา 6 – 12 เดือน เพียงเท่านี้เราก็จะมีเงินสำรองเก็บฉุกเฉินติดตัวแบบไม่ต้องกลัวเหตุไม่คาดฝันอีกต่อไป
 

2. ลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่ำ

ถ้าหากบางคนไม่กล้าเก็บเงินด้วยตัวเอง สามารถใช้วิธีหักเงินเดือนที่ได้นำไปลงทุนแบบ DCA (Dollar Cost Averaging) ตอนนี้ธนาคารกรุงศรีมีกลุ่มลงทุนที่เน้นการลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารหนี้ และเพิ่มการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงอื่น ๆ เล็กน้อย อย่างกลุ่มกองทุน “กรุงศรี The One” (KF1MILD, KF1MEAN, KF1MAX) ตัวช่วยจัดพอร์ตตามระดับความเสี่ยง ใช้เงินลงทุนไม่มาก เพียง 500 บาทก็เริ่มต้นลงทุนได้แล้ว ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ krungsri.com

กองทุนป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน จึงมีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจทำให้ผู้ลงทุนขาดทุน หรือได้รับกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน/หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน


หรือเลือกต่อยอดการออมเงินในแอปฯ ออมเงิน Kept ที่เป็นทั้งบัญชีเก็บเงินออนไลน์ที่เอาไว้ใช้ โอนฟรี! กี่ครั้งก็ได้ พร้อมรับดอกเบี้ยสูงสุด 1.7 % ต่อปีเลยทีเดียว

หรือถ้าหากอยากลงทุน ก็มีตัวเลือกที่น่าสนใจอย่างการลงทุนในกองทุนรวมผ่านแอปฯ KMA (Krungsri Mobile app) ที่ให้เราลงทุนด้วยแผนการลงทุนหลากหลายเป้าหมาย คัดกองทุนเด็ดมาให้เลือกจากหลากหลาย บลจ. โดยทั้ง 3 วิธีการออมนี้ สามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ที่เราจะเก็บได้เองเลย
 

3. ทำบัญชีรายรับรายจ่ายให้เป็นนิสัย

จดบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อออมเงิน

นอกจากการจัดสรรเงินออมแล้ว การจดบัญชีรายรับรายจ่ายก็เป็นเรื่องสำคัญด้วยเช่นกัน ที่จะทำให้เราติดตามดูค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เราได้ใช้ในแต่ละเดือน ว่าเราใช้จ่ายไปทั้งหมดไปกับอะไรบ้าง และเหลือเงินเก็บในบัญชีเท่าไร? ซึ่งวิธีนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลยไม่ว่าใครก็สามารถทำตามง่าย ๆ โดยการแยกค่าใช้จ่าย ให้ลองจัดเป็นประเภท และหมวดหมู่ดังต่อไปนี้
  • รายจ่ายจำเป็น เช่น ค่าอาหาร ค่าข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน
  • รายจ่ายไม่จำเป็น เช่น ชอปปิงออนไลน์ หรือปาร์ตี้สังสรรค์
  • รายจ่ายประจำ เช่น ค่าผ่อนรถยนต์ ค่าผ่อนบ้าน ค่าน้ำ-ไฟ และค่าอินเทอร์เน็ต
  • รายจ่ายไม่แน่นอน เช่น ค่าของขวัญวันเกิดให้เพื่อน ๆ

เมื่อรู้ว่าค่าใช้จ่ายของเราหมดไปกับอะไรบ้าง จากนั้นเราก็ลองประเมินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เราพอตัดออกได้ เช่น ค่าใช้จ่ายการรับประทานอาหารนอกบ้านในแต่ละสัปดาห์ หรือลด ละ เลิก การปาร์ตี้สังสรรค์ หากเราลองทำตามวิธีนี้รับรองออมเงินได้เพียบเลยล่ะ

เป็นอย่างไรกันบ้างกับแผนออมเงินให้มีเงินกินเหลือใช้ ถึงแม้ว่าการได้รับเงินเดือนสูงจะทำให้เรารู้สึกมีความมั่นคงทางการเงิน แต่ก็ไม่สามารถรับประกันได้ว่าบั้นปลายชีวิตเรานั้นจะมีอิสรภาพทางการเงินจับจ่ายใช้สอยได้อย่างสุขสบาย สิ่งสำคัญ คือ เราต้องตระหนักถึงความสำคัญของการออมเงิน ฝึกให้เป็นนิสัย ใช้จ่ายทางการเงินอย่างมีวินัย เพื่อสร้างรากฐานทางการเงินที่ดีให้อนาคตของเราสดใสในภายภาคหน้า ไปเริ่มทำแผนการออมเงินของตัวเองกันได้เลย

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา