เงินเดือน 30,000 ควรลงทุนแบบไหนเพื่อที่จะได้เงินถึง 1 ล้านบาท ปัจจุบันมีวิธีการมากมายที่ช่วยให้การออมและการลงทุนทำได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น ทำให้เป้าหมายเงินล้านไม่ใช่แค่ฝันอีกต่อไป และนี่คือเคล็ดลับการลงทุนที่นักลงทุนมือใหม่ควรรู้เพื่อการก้าวไปสู่เงินล้านในระยะเวลาที่ต้องการ
เคล็ดลับการลงทุนสำหรับคนเงินเดือน 30,000
สังคมไทยเป็นสังคมที่เต็มไปด้วยความหลากหลายทางการเงิน ตัวเลข 30,000 บาทนี้จึงเป็นตัวเลขสมมติขึ้นมาเพื่อเปรียบเทียบเท่านั้น ไม่ว่าเงินเดือนของคุณจะมากกว่าหรือน้อยกว่า ก็สามารถใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อต่อยอดเงินสร้างความมั่งคั่งให้กับตัวเองได้แตกต่างกันไปตามปัจจัยแวดล้อมสำหรับแต่ละคน
โดยเคล็ดลับสำหรับคนที่อยากลงทุนมีด้วยกัน 3 ข้อ คือ
- จัดสรรเงินลงทุนให้เหมาะสม
- เริ่มต้นการลงทุนแบบ DCA
- การกระจายการลงทุน
หากคุณมีการจัดสรรเงินลงทุนอย่างเหมาะสม มีความต่อเนื่องในการลงทุน และสามารถกระจายการลงทุนได้อย่างมีคุณภาพแล้วล่ะก็ การได้เงินล้านในระยะเวลาไม่กี่ปีย่อมไม่ใช่เรื่องเกินความคาดหมายแต่อย่างใด โดยเคล็ดลับการลงทุนต่างๆ สามารถทำได้ดังนี้
การจัดสรรเงินลงทุนที่เหมาะสม
การจัดสรรเงินลงทุนที่เหมาะสมนั้น ควรอยู่ประมาณ 10%-20% ของรายรับในแต่ละเดือน หรือก็คือ 3,000-6,000 บาท สำหรับคนที่มีรายรับ 30,000 บาท เพื่อการจัดสรรเงินลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพและเห็นมูลค่าผลตอบแทนที่ชัดเจน
ทั้งนี้การจัดสรรเงินทุนย่อมขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน เช่น เงินเดือน ค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน หากในกรณีเงินเดือนต่ำและรายจ่ายมาก ก็สามารถปรับสัดส่วนเงินออมและเงินลงทุนลงมาได้เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง แต่หากเงินเดือนเพิ่มมากขึ้นแต่ค่าใช้จ่ายต่างๆ เท่าเดิมก็ควรลงทุนให้มากขึ้นเพื่อให้ถึงเป้าหมาย 1 ล้านบาทเร็วขึ้น
การลงทุนแบบ DCA
DCA (dollar-cost averaging) หรือที่หลายคนรู้จักในชื่อของการลงทุนแบบถัวเฉลี่ย คือการลงทุนด้วยเงินที่เท่ากันทุกครั้งโดยไม่สนใจราคาหน่วยลงทุนหรือราคาหุ้นที่ซื้อ โดยอาจลงทุนเป็นรายเดือน เพื่อทำให้ได้ผลตอบแทนอยู่ในค่าเฉลี่ยที่มีความเสี่ยงไม่สูงมากนัก ทั้งนี้ควรเลือกลงทุนใน
กองทุนหรือหุ้นที่เหมาะสม และมูลค่าไม่แกว่งมากนัก
ตัวอย่าง ถ้าเราลงทุนอย่างต่อเนื่องในกองทุนที่มีผลตอบแทนเฉลี่ย 10% นี่คือโอกาสที่ DCA สามารถช่วยเก็บเงินให้กับคุณ
นอกจากจะเป็นการฝึกวินัยในการลงทุนแล้ว DCA ยังทำให้ผู้ลงทุนสามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ของตลาดเพื่อเพิ่มความรู้ความสามารถในการลงทุนระยะยาวได้มากขึ้นอีกด้วย
การกระจายการลงทุน
ลงทุนเดือนละ 3,000 - 6,000 แน่นอนว่าสามารถถึง 1 ล้านบาทได้ แต่จะนานเกินไปหรือเปล่า และสิ่งที่เราลงเงินไปนั้นคุ้มค่าแค่ไหน? หากเทียบกับอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ราว 3% ของไทยแล้วจะพบว่าในการลงทุนด้วยการฝากธนาคารเพียงอย่างเดียวไม่อาจเอาชนะมูลค่าของเงินที่ลดลงแต่ละปีได้
นั่นทำให้
การกระจายการลงทุน กลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่ต้องการสร้างเงินให้งอกเงย ไม่ว่าจะเงินเดือนมากกว่าหรือน้อยกว่า 30,000 บาทก็ตาม
ตัวอย่าง
ชายคนหนึ่งออมเงินด้วย
การฝากออมทรัพย์ (อัตราดอกเบี้ย 0.3) เดือนละ 6,000 บาท ผ่านไป 5 ปี จะมีเงินราว 363,253 บาท
ชายอีกคนออมเงินเดือนละ 6,000 เช่นกัน แต่ใช้วิธีแบ่งเงินออกเป็นสองส่วน นำไปฝากออมทรัพย์ 2,000 (อัตราดอกเบี้ย 0.3) และนำไปลงทุนกองทุนรวม (ผลตอบแทนคาดหวัง 7%) 4,000 บาท ผ่านไป 5 ปี ชายคนนี้จะมีเงินราว 416,442 บาท
นั่นเท่ากับว่าชายคนที่สองมีโอกาสจะได้เงินมากกว่าชายคนแรกถึง 416,442-363,253 = 53,189 บาทเลยทีเดียว แน่นอนว่าตัวเลขสมมติที่ยกมาอาจน้อยหรือมากกว่า แต่ก็แสดงให้เห็นแล้วว่าโอกาสที่ได้รับจากการกระจายการลงทุนนั้น ช่วยให้เงินงอกเงยมานอกเหนือจากการฝากออมทรัพย์ไม่น้อย
การลดความเสี่ยงในอนาคตยังสามารถทำได้อีกหลายทาง เช่น การทำ
ประกันชีวิตและ
ประกันสุขภาพ ที่จะลดโอกาสในการสูญเสียเงินก้อนใหญ่หากว่าเราเจ็บป่วย ไปจนถึงการซื้อกองทุนเพื่อลดหย่อนภาษีเพื่อให้ภาษีที่เสียในแต่ละปีนั้นน้อยลง
หากคุณไม่มั่นใจว่ารายรับของตัวเองควรลงทุนแบบไหนเพื่อให้เงินเก็บถึง 1 ล้านบาทในเวลาที่ต้องการ แอปพลิเคชันกรุงศรี Smart Advisor เป็นอีกตัวช่วยทำให้คุณเข้าถึงการลงทุนที่เหมาะสมได้ง่ายขึ้น
สรุป
การลงทุนสำหรับคนเงินเดือน 30,000 ไปสู่เงิน 1 ล้านบาทไม่ใช่เรื่องเป็นไปไม่ได้ ซึ่งเคล็ดลับสำคัญคือการจัดสรรเงินลงทุนที่เหมาะสม มีการลงทุนแบบถัวเฉลี่ยและการกระจายการลงทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนของตัวเองให้ได้มากที่สุด
ถ้าคุณสนใจการลงทุนที่มีคุณภาพ ต้องการต่อยอดเงินให้งอกเงยอย่างยั่งยืน สามารถปรึกษาทีมที่ปรึกษาด้านการลงทุน ผ่านช่องทางฮอตไลน์ได้ที่ 02-296-5959 จันทร์ - ศุกร์ 9.00 น. - 17.00 น.
บทความโดย
ขวัญชัย รุ่งเรืองกอสว่าง AFPT™
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา