ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ส่งผลกระทบอะไรกับเราบ้าง
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวคืออะไร? ปรับตัวให้ทันก่อนสายเกินไป

icon-access-time Posted On 09 มิถุนายน 2565
by Krungsri The COACH
“ขายของไม่ได้เลย เศรษฐกิจไทยตอนนี้ไม่ดี ไม่กล้าซื้อเลย เศรษฐกิจไทยแบบนี้ กลัวไม่มีเงินใช้ ของแพงขึ้นทุกวันเลย เพราะเศรษฐกิจไทย และเรามักจะได้ยินคำพูดเหล่านี้อยู่บ่อย ๆ”

แต่ทว่าเมื่อพูดถึงเศรษฐกิจไทยคงเป็นภาพรวมที่กว้างมาก ๆ เราอาจจะต้องลองเจาะลึกเข้าไปจะเห็นได้กว้างขึ้นว่าผลกระทบทางเศรษฐกิจไทยตอนนี้มีอะไรบ้าง และวันนี้เราจะพามารู้จักกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวส่งผลกระทบอะไรกับเราบ้าง และรับมือกับสถานการณ์นี้อย่างไร บทความนี้มีคำตอบ  
อาชีพที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

ก่อนอื่นเลยเรามาคำว่ารู้จักกับคำว่า ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวหรือที่เรียกว่า (Stagnation) ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวนี้คือภาวะที่เศรษฐกิจเติบโตน้อยไปจนถึงไม่เติบโต หรือวัดได้ว่าเติบโตไม่ถึง 2% ต่อปี อีกทั้งสามารถวัดได้จากอัตราการเติบโตของ GDP ที่ลดต่ำลง ซึ่งการที่เศรษฐกิจไทยเติบโตน้อย ก็จะส่งผลให้รายได้ และการบริโภคของประชาชน รายได้ของผู้ประกอบการ และการจ้างงานในภาคเศรษฐกิจไทยก็จะชะลอตัวลงตามไปด้วย

หนึ่งในปัญหาที่น่ากลัวที่สุดของภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว คืออัตราการว่างงานที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งนี่อาจเป็นผลกระทบที่ร้ายแรง เพราะเมื่อภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้เกิดการเลิกจ้างในระบบเศรษฐกิจ อัตราการว่างงานจึงสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการบริโภคของครัวเรือนที่ชะลอตัวลงตามไปอีก

สถานการณ์นี้จะเห็นได้จากการมีคนตกงานมากขึ้น อีกทั้งยังรวมไปถึงข้าวของที่ขึ้นราคา รายรับรายจ่ายไม่สมดุลกันบ้าง บางครอบครัวอาจจะเหลือคนทำงานเลี้ยงชีพเพียงคนเดียว หรือแม้แต่นักศึกษาจบใหม่อาจจะพบกับการหางานที่ยากลำบาก รวมไปถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจด้านอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น การท่องเที่ยวไทยที่หยุดชะงัก หรือแม้แต่การส่งออกสินค้าอุตสหกรรมต่าง ๆ ไปยังต่างประเทศได้อย่างลำบาก

ที่แย่ไปกว่านั้น คือเราไม่สามารถระบุได้เลยว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวจะดีขึ้นเมื่อไหร่ และสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจจะเปลี่ยนไปแค่ไหนในอนาคต
 
รับมืออย่างไรดีกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

เมื่อเรื่องเป็นแบบนี้ เราจะต้องเตรียมตัวเพื่อรับมืออย่างไรดีกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอย่างไรดี?
 

5 สิ่งที่ควรเตรียมเพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว

1. เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน

ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว เราจะเห็นว่ามีผู้คนมากมายที่ได้รับผลกระทบ ทั้งตกงาน ทั้งต้องเก็บตัวอยู่บ้าน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้ามากมายก็ปิด แล้วเราจะใช้ชีวิตอย่างไรหากไม่มีเงินเก็บ และไม่รู้จะตกงานอีกนานแค่ไหน ดังนั้นแล้วในภาวะแบบนี้ เราควรที่จะมีเงินสำรองเผื่อฉุกเฉินมากขึ้นเป็น 6-12 เดือน เพื่อให้เราอยู่รอดในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจชะลอตัว เงินสำรองส่วนนี้เผื่อฉุกเฉินในกรณี เจ็บป่วย และค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดอีกด้วย
 

2. จดบันทึกรายได้-ค่าใช้จ่าย

การจดบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายนั้นเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว การบริหารเงินให้มีเงินเก็บ เงินสำรอง หรือหากกำลังมีปัญหาทางการเงิน โดยเฉพาะในช่วงที่มีวิกฤติเศรษฐกิจแบบนี้ การบริหารเงินที่ดี ก็เริ่มจากการมีรายได้มากกว่าค่าใช้จ่ายก่อน แต่เราจะไม่สามารถรู้ได้เลยว่ามีรายได้มากหรือน้อยกว่าค่าใช้จ่ายได้ก็ต่อเมื่อมีการจดบันทึก
 

3. บริหารหนี้ให้ดี

ในภาวะวิกฤตแบบนี้ “การไม่มีหนี้เป็นลาภอันประเสริฐ” แต่ถ้ามีหนี้แล้ว ก็ต้องบริหารจัดการให้ดี เพื่อไม่ให้เป็นภาระที่หนักยากเกินจะแก้ไขในอนาคต การบริหารหนี้ จึงเป็นสิ่งสำคัญ เราไม่ควรมีหนี้ที่ต้องผ่อนชำระเกิน 50% ของรายได้ต่อเดือน เพื่อไม่ให้เงินตึงตัวจนเกินไป เพราะถ้าผ่อนไม่ไหวเมื่อไหร่อาจจะทำให้ต้องมีการกู้หนี้ยืมสิน หรือหมุนเงินจากการกู้หลาย ๆ ทางเพื่อมาผ่อนชำระ การผ่อนชำระที่ดีควรมีแค่ 30-40% ของเงินเดือนเท่านั้น
 

4. จัดพอร์ตการออม และการลงทุน

การออมและการลงทุนในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวจำเป็นต้องมีความรู้และการศึกษาที่เพียงพอ เริ่มตั้งเป้าหมายรวมถึงระยะเวลาที่เราตั้งใจไว้ เพื่อให้สามารถกำหนดสัดส่วนการลงทุนให้เหมาะสมตามระยะเวลา โดยอาจจะทดลองแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยระยะสั้นอาจจะแบ่งเป็นการออม 6-12 เดือน ระยะกลางอาจจะแบ่งเป็นการออม 2-3 ปี และระยะยาวอาจจะแบ่งเป็น 5 ปีขึ้นไป ตามระยะเวลา เงินส่วนนี้เราไม่ควรนำออกมาใช้หากยังไม่ถึงกำหนด เพื่อต่อยอดดอกเบี้ย หรือปันผลต่าง ๆ ที่จะได้รับนั่นเอง
 
ปรับตัวยังไงให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว
 

5. ปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว

แน่นอนว่าหลาย ๆ อาชีพได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว และการปรับตัวให้เข้ากับภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเป็นอีกหนึ่งที่สามารถช่วยรับมือได้ ยกตัวอย่างเช่น อาชีพค้าขาย ซึ่งต้องเสียค่าเช่าพื้นที่หน้าร้าน แน่นอนว่ายิ่งในช่วงภาวะเศรษฐกิจเป็นแบบนี้ ลูกค้าหาย รายได้หด เงินค่าเช่าต้องเสียเท่าเดิม ทางออกของปัญหาคือการปรับเปลี่ยนมาค้าขายผ่านออนไลน์เพิ่ม

เราอาจจะเห็นได้ชัดอยู่แล้วว่าการขายของออนไลน์นั้นมีต้นทุนที่ต่ำ ลงทุนน้อย หากจับทางถูกเราอาจจะได้รับผลตอบแทนที่น่าพอใจ หรือแม้แต่คนที่ยังตกงานอยู่ก็อาจจะลองหาอาชีพเสริมทางโลกออนไลน์ระหว่างรอการหางาน เพราะเราจะเห็นได้ว่าผู้คนส่วนใหญ่หันมาทำอาชีพเสริมทางออนไลน์เยอะ ไม่ว่าจะเป็น ค้าขายออนไลน์ สอนพิเศษออนไลน์ นักเขียน นักวาด และอื่น ๆ อีกทั้งอาชีพทางโลกออนไลน์นั้นอาจใช้ต้นทุนที่ไม่สูงนัก สำหรับบางคนแค่มีสมาร์ทโฟนเครื่องเดียวก็สามารถทำเงินได้แล้ว

เราอาจจะได้รู้จักกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวกันไปแล้ว ซึ่งจริง ๆ แล้วผลกระทบเหล่านี้แทบจะไม่ไกลตัวเราเลย อย่างไรก็ตามเราอาจจะต้องพร้อมสำหรับการรับมือกับภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวอยู่เสมอ และพยายามปรับตัวให้เข้ากับมันให้ได้ ในปัจจุบันนี้ ทว่าในอนาคตข้างหน้าไม่มีใครรู้ว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวตอนไหน หรือเป็นไปในทิศทางใด เรื่องราวของเศรษฐกิจไทยจะเป็นอย่างไรเราคงต้องรอติดตามไปเรื่อย ๆ
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา