“อั่งเปา” ได้มาแล้วเก็บอย่างไรดี?
เพื่อชีวิตสบาย
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

“อั่งเปา” ได้มาแล้วเก็บอย่างไรดี?

icon-access-time Posted On 09 กุมภาพันธ์ 2564
by Krungsri The COACH

หนึ่งในเทศกาลที่ถ้าให้ย้อนเวลากลับไปในช่วงเด็ก ๆ ของทุกคนจะต้องเป็นช่วงเวลาที่หลายคนชื่นชอบแน่นอน นั่นก็คือ “เทศกาลตรุษจีน” เพราะนอกจากจะได้พบปะกับญาติผู้ใหญ่ที่เปรียบเสมือนเป็นงานปาร์ตี้รวมญาติกันแล้ว เด็ก ๆ เองก็ยังได้รับ “อั่งเปา” ที่ถือว่าเป็นไฮไลท์เด็ดในช่วงวัยเด็กเลยก็ว่าได้


ซึ่งความหมายของ "อั่งเปา" หรือที่แปลว่า "ซองสีแดง" นั้นเป็นสัญลักษณ์ของซองเงินนั่นเอง แล้วการที่ญาติผู้ใหญ่ให้อั่งเปาแก่เด็ก ๆ ก็เปรียบเหมือนกับการอวยพรให้เด็ก ๆ มีโชคลาภ เจริญเติบโตแข็งแรง โดยทั่วไปแล้วการมอบอั่งเปาจะมอบให้เป็นจำนวน "เลขคู่" ตามความเชื่อของคนจีน เนื่องจากคนจีนถือว่าเลขคู่ คือ ความเป็นสิริมงคลยกเว้น "เลข 4" ในภาษาจีนจะออกเสียงว่า "ซื่อ (Sǐ)" ซึ่งเป็นคำพ้องเสียงกับคำว่า "ตาย" ในภาษาจีนทำให้คนจีนมักจะหลีกเลี่ยงเลข 4 นั่นเอง

แต่ถ้าลองกลับมามองในมุมของเด็ก ๆ การได้รับ "อั่งเปา" ก็เปรียบเทียบกับการได้เงินก้อนประจำปีเลยก็ว่าได้ แต่โดยทั่วไปแล้วตัวเด็ก ๆ เองก็จะไม่ได้มีการคิดเผื่ออนาคตหรือแบ่งเก็บเงินก้อนนี้ไว้สักเท่าไหร่ แนวโน้มการนำไปซื้อของที่อยากได้จึงมีแนวโน้มสูงอย่างมาก
 
เรื่องน่ารู้ของเงินอั่งเปาที่เด็กๆ ควรรู้เรื่องน่ารู้ของเงินอั่งเปาที่เด็กๆ ควรรู้
 

รู้หรือไม่ ประเทศญี่ปุ่นมีประเพณีการให้อั่งเปาเหมือนของคนจีน

“ประเทศญี่ปุ่น” มีเทศกาลที่ชื่อว่า “โอะโทชิดามะ” แต่โดยธรรมเนียมแล้วการให้เงินนั้นจะไม่ได้ให้กันเยอะแบบประเพณีของคนจีน และจะให้ในจำนวนที่แตกต่างกันไปตามวัยของเด็ก ๆ ยิ่งอายุมากก็ให้มากขึ้น เพราะถือว่ามีวุฒิภาวะในการบริหารเงินที่สูงขึ้น

สิ่งที่น่าสนใจ ก็คือ ชาวญี่ปุ่นถือว่าเงินปีใหม่นั้นเป็นสิริมงคลเช่นเดียวกัน และก็ยังถือโอกาสในการสอนการบริหารเงินให้กับเด็ก ๆ ไปในตัว โดยมักจะให้เริ่มต้นทำ "บัญชีรายรับรายจ่าย" แล้วให้แบ่งเงินปีใหม่ไปซื้อของที่ "จำเป็น" กับที่ "อยากได้" โดยให้เลือกซื้อของที่จำเป็นก่อน ส่วนของที่อยากได้ให้อดใจรอไม่ซื้อทันที เพื่อดูว่าเราต้องการของชิ้นนั้นจริง ๆ หรือไม่ ซึ่งถือว่าเป็นการบ่มเพาะนิสัยการเงินตั้งแต่วัยเด็กที่น่าสนใจของคนญี่ปุ่นเป็นอย่างมาก

การให้เงิน "อั่งเปา" เป็นเรื่องที่ดีอย่างแน่นอน แต่จะดีกว่ามั้ย ถ้าเราให้เงินเด็ก ๆ ที่เป็นลูกหลานของเราไปพร้อมกับการสอนวิธีการบริหารเงิน พร้อมทัศนคติการใช้เงินอย่างถูกต้องให้กับเด็ก ๆ เพื่อให้เห็นคุณค่าของเงินตั้งแต่เด็กไปด้วย ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่าการให้เงินเพียงอย่างเดียวโดยปราศจากการสอนแนวคิดที่ดีแฝงไปด้วย
 

เราควรสอนให้เด็ก ๆ ใช้ “อั่งเปา” อย่างไรให้ถูกวิธี?

การสอนให้รู้จักการเก็บออมเงิน เราอาจจะเริ่มต้นด้วยการนำเงินที่ได้จากการรับอั่งเปาไปใช้ตามที่ต้องการ และบางส่วนมาเก็บออม โดยอาจจะให้เริ่มต้นกับแหล่งออมเงินความเสี่ยงต่ำอย่างเงินฝากออมทรัพย์มีแต่ได้ ที่ให้ดอกเบี้ยที่สูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไป แล้วถ้าเปิดบัญชีผ่าน KMA ยังช่วยให้ได้รับดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้น แล้วยังเป็นการสอนให้รู้จัก “สังคมไร้เงินสด (Cashless Society)” ที่กำลังเป็นโลกอนาคต ที่เชื่อได้ว่ากำลังจะเกิดขึ้นในไม่ช้านี้

แต่ถ้าใครอยากลองออมเงินระยะยาว พร้อมสร้างวินัยการออมให้รู้จักแบ่งเงินจาก "อั่งเปา" มาออมทุกปี เพื่อให้เป็นเงินออมในอนาคตหรือเป็นทุนการศึกษาให้กับตัวเองได้ ก็สามารถเลือกใช้ "ประกันสะสมทรัพย์" ที่ช่วยสร้างวินัยการออมในระยะยาวได้เป็นอย่างดี ซึ่งประกันออมทรัพย์จากธนาคารกรุงศรีฯ มีให้เลือกหลากหลายแบบประกัน สามารถเลือกระยะเวลาจ่ายเบี้ยและระยะเวลาความคุ้มครองได้ตามต้องการ เพื่อให้เหมาะกับเป้าหมายการออมของแต่ละคนให้มากที่สุด

หรือสำหรับใครที่อยากสอนเรื่อง “การลงทุน” ไปด้วยในตัว อาจจะให้ลูกหลานศึกษาเรื่องของการลงทุนไปด้วย อาจจะให้เริ่มต้นลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นอย่างกองทุนรวม ที่ลงทุนในตราสารหนี้ หุ้น หรือ ทองคำ เป็นต้น ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าการลงทุน ยิ่งสามารถลงทุนได้นานมากเท่าไหร่ก็จะช่วยลดความเสี่ยงและความผันผวนของตราสารที่ลงทุนในระยะสั้นได้ และยิ่งเป็นช่วงวัยเด็กนั้นก็ยังมีเงินให้สามารถเติบโตได้อีกหลาย 10-20 ปี การทยอยลงทุนอย่างต่อเนื่องและปล่อยให้เงินงอกเงยอย่างเหมาะสมก็อาจจะทำให้เมื่อถึงช่วงเวลาที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรี สามารถก้าวขึ้นมาพร้อมกับเผชิญหน้าโลกแห่งการทำงานไปพร้อมกับการเริ่มต้นด้วยเงินหลักล้านบาทก็เป็นไปได้

แต่เนื่องจากการเปิดบัญชีการลงทุนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบัญชีกองทุนรวมหรือบัญชีหุ้นก็ตาม เจ้าของบัญชีต้องมีอายุมากกว่า 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ดังนั้นในช่วงแรกอาจจะต้องลงทุนให้ชื่อของผู้ปกครองแทนไปก่อนและเมื่ออายุของลูกครบ 20 ปีบริบูรณ์ก็สามารถย้ายเงินลงทุนกลับไปอยู่ในชื่อของลูกแทน
 
คลิกเลย (เปลี่ยนอั่งเปาจากก้อนเล็กเป็นก้อนใหญ่)


บทความโดย
ปริตา ธิติปรีชาพล
กลุ่มบริการที่ปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา