ทำไมกองทุน ESG ถึงมาแรงในประเทศไทย?
ตอนนี้หลาย ๆ ประเทศรวมทั้งประเทศไทยตื่นตัวเรื่องภาวะโลกร้อนมาก ส่งผลต่อแนวทางการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนตามหลัก ESG ข้อมูลจาก United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) ระบุว่า
“ประเทศไทยของเราถูกจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหา Climate Change เป็นอันดับที่ 13 ของโลก ด้วยคะแนน 68.3 คะแนน” (ข้อมูล ณ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2566) เนื่องจากประเทศไทยมีแนวฝั่งที่ยาวถึง 3,219 กิโลเมตร ดังนั้นจึงได้รับผลกระทบโดยตรงจากระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น
ซึ่งอาจทำให้ประชาชนที่อยู่ริมชายฝั่งดังกล่าวกว่า 11 ล้านคน ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้ผลกระทบของภาวะโลกร้อนจากเอลนีโญ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์สภาวะอากาศแปรปรวนฉับพลันที่ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างมาก ทำให้บริเวณที่เคยฝนตกชุกจะกลับแห้งแล้ง บริเวณที่แห้งแล้งกลับฝนตกชุกกว่าปกติ ซึ่งปรากฏการณ์เอลนีโญอาจทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หากอุณหภูมิของโลกสูงขึ้น หากเราไม่ตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องนี้ ภัยพิบัติหนัก ๆ คงเกิดขึ้นอย่างบ่อยครั้ง
ดังนั้น เรื่องการคำนึงถึง สิ่งแวดล้อม สังคมส่วนรวม และความยั่งยืน (Sustainability) จึงเป็นส่วนผลักดันให้บริษัทต่าง ๆ เริ่มหันมาให้ความสำคัญ เป็นแนวทางในการประกอบธุรกิจ รวมทั้งผู้บริโภคเองก็มีการตื่นตัวเรื่องดังกล่าว มีการเปลี่ยนการซื้อสินค้า และบริการจากบริษัทที่ทำธุรกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
ความน่าสนใจของธุรกิจ ESG
ปัจจุบันมีหลายธุรกิจ หลายอุตสาหกรรมที่มี
การลงทุนในเรื่อง ESG เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน โดยทุก ๆ ปี S&P Global จะมีการประเมินผลด้านความยั่งยืนของธุรกิจที่เรียกว่า Corporate Sustainability Assessment (CSA) รวมรายชื่อบริษัทกว่า 7,000 บริษัททั่วโลกในกว่า 60 อุตสาหกรรม การประเมินผลจะนำมาสู่การจัดอันดับองค์กรที่รักษาความยั่งยืนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
โดย Sustainability Yearbook ปี 2023 ในประเทศไทยมี 12 บริษัทที่ได้รับการประเมินในระดับ Top 1% S&P Global ESG Score (เป็นบริษัทที่ได้คะแนนประเมินด้านความยั่งยืนตั้งแต่ 85 คะแนนจาก 100 คะแนน)
(ที่มา
S&P Global Sustainability Yearbook)
ส่วนในประเทศไทยเองนั้นในปี 2566 ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มีการประเมินบริษัทที่คำนึงถึงเรื่อง ESG โดยเปลี่ยนชื่อ “รายชื่อหุ้นยั่งยืน THSI (Thailand Sustainability Investment)” เป็น
“หุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings”
พร้อมทั้งประกาศผลประเมินในรูปแบบ ESG Ratings เป็นปีแรก เพื่อส่งเสริมให้นักลงทุนมีข้อมูลประกอบการตัดสินใจลงทุน โดยมีบริษัทจดทะเบียนที่ได้ที่ผ่านการคัดเลือก และได้รับการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings 193 บริษัท
แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการที่สำคัญในการเปิดเผยข้อมูลด้าน ESG เช่น ข้อมูลการจัดการความเสี่ยงด้าน ESG นโยบายการจัดการสิ่งแวดล้อม ข้อมูลผลการดำเนินงานด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานต่อพนักงาน ชุมชน และสังคมผ่านกระบวนการทางธุรกิจ เป็นต้น
บริษัทที่ได้รับการประกาศผลประเมินหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ประกอบด้วย
- บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในระดับ AAA (คะแนน 90 – 100 คะแนน) มีจำนวนทั้งสิ้น 34 บริษัท
- บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในระดับ AA (คะแนน 80 – 89 คะแนน) มีจำนวนทั้งสิ้น 70 บริษัท
- บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในระดับ A (คะแนน 65 – 79 คะแนน) มีจำนวนทั้งสิ้น 64 บริษัท
- บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในระดับ BBB (คะแนน 50 – 64 คะแนน) มีจำนวนทั้งสิ้น 25 บริษัท
(ที่มา:
https://setsustainability.com)
จากผลการประเมินความยั่งยืนนี้ จะเห็นได้ว่าทุกหมวดหมู่อุตสาหกรรม ได้ให้ความสำคัญในเรื่อง ESG ไม่ว่าจะเป็น
- กลุ่มการเงิน (Financial sector)
- กลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร (.AGRO)
- กลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภค (.CONSUMP)
- กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม (.INDUS)
- กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง (.PROPCON)
- กลุ่มทรัพยากร (.RESOURC)
- กลุ่มบริการ (.SERVICE)
- กลุ่มเทคโนโลยี (.TECH)
ทั้งนี้ หากใครอยากรู้ว่าบริษัทมหาชนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ บริษัทไหนบ้าง ที่ให้ความสำคัญในเรื่อง ESG และได้รับเกรดอะไร สามารถเข้าไปดูเพิ่มเติมได้ที่
https://setsustainability.com
เกณฑ์การให้คะแนนแบบประเมินความยั่งยืน ESG มีอะไรบ้าง?
ซึ่งเกณฑ์การให้คะแนนนั้นจะเป็นแบบประเมินความยั่งยืน ใน 3 มิติ คือ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล ซึ่งลักษณะคำถามครอบคลุม ดังนี้
1) ESG ในกระบวนการดำเนินธุรกิจ (ESG in practices) เช่น
- ความเสี่ยงด้าน ESG ของทั้งบริษัทและคู่ค้า
- ความเสี่ยงด้าน ESG ของทั้งบริษัทและคู่ค้ำ
- การจัดการห่วงโซ่อุปทาน
- การใช้พลังงาน/ไฟฟ้า น้ำ จัดการของเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
2) คำนึงถึงผลประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม หรือสังคม
นอกเหนือจากผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของธุรกิจ เช่น
- การสร้างสรรค์นวัตกรรมทางธุรกิจ
- การพัฒนาศักยภาพของพนักงาน
- การพัฒนาชุมชน/สังคมผ่านกระบวนการทางธุรกิจ
3) ให้ความสำคัญประเด็น ESG ที่เป็นความเสี่ยงสำคัญของธุรกิจ เช่น
- Climate Risk
- Human Rights Risk
ซึ่งอย่างน้อยเป็นการเริ่มต้นที่ดี ที่บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 193 บริษัทได้ให้ความสำคัญ ใส่ใจในเรื่อง ESG ในการดำเนินธุรกิจนอกเหนือจากกำไรเพียงอย่างเดียว ซึ่งในอนาคตแน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ย่อมเป็นแรงผลักดันให้บริษัทอื่น ๆ ที่เป็นคู่ค้าดำเนินธุรกิจแบบ ESG ตามอย่างแน่นอน
แนะนำกองทุน ESG
สำหรับธีมการลงทุนในหุ้นในกองทุน ESG เป็นธีมที่น่าสนใจสำหรับลงทุนระยะยาว มากกว่าคาดหวังผลตอบแทนในระยะสั้น และหากอยากลงทุนในบริษัทที่ดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG สามารถลงทุนได้ผ่านกองทุน Thai ESG ซึ่งเป็นกองทุนน้องใหม่ โดยนอกจากจะลงทุนเพื่อความยั่งยืนในอนาคต กองทุน ESG ยังมีสิทธิพิเศษช่วยลดหย่อนภาษีสูงสุดได้ถึง 1 แสนบาท
KFTHAIESG
กองทุนเปิดกรุงศรีเอ็นแฮนซ์เซ็ทไทยเพื่อความยั่งยืน (KFTHAIESG) กองทุนลดหย่อนภาษีรูปแบบใหม่
"Thai ESG Fund” จาก บลจ.กรุงศรี
โดยลงทุนในหุ้นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และ/หรือตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ที่ได้รับการคัดเลือกว่ามีความโดดเด่นด้านความยั่งยืนจากองค์กรหรือสถาบันที่มีความน่าเชื่อถือ
เลือกลงทุนในกองทุน ESG ได้ 2 รูปแบบ:
- KFTHAIESGA กองทุนแบบสะสมมูลค่า เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ต้องการรับเงินปันผลระหว่างลงทุน
- KFTHAIESGD กองทุนแบบจ่ายเงินปันผล เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการรับเงินปันผลระหว่างลงทุน
ระดับความเสี่ยง 6 (เสี่ยงสูง)
ทำไมต้องเลือกลงทุนในกองทุน KFTHAIESG?
- ลงทุนในบริษัทชั้นนำที่มีความโดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการที่ดี (ESG)
- เน้นลงทุนในหุ้นที่อยู่ในดัชนี SETESG
- ลงทุนในเชิกรุก สัดส่วนประมาณ 10% เพื่อโอกาสสร้างผลตอบแทนที่เหนือกว่าดัชนี
โดยสรุป กองทุน ESG เป็นการลงทุนอย่างยั่งยืน นอกจากจะช่วยเพิ่มโอกาสสร้างผลตอบแทนที่ดีในระยะยาวแล้ว ยังมีข้อดีคือ หากเราลงทุนในบริษัทที่มีการจัดการเรื่อง ESG ได้ดี จะช่วยลดความเสี่ยงให้กับนักลงทุนได้ เช่น กรณีเกิดข้อพิพาททางกฎหมายต่างๆ ทำให้บริษัทต้องหยุดชะงักลง
นอกจากนี้ ได้ร่วมลงทุนไปกับบริษัทที่อาจจะมีแนวโน้มเติบโตไปกับเทรนด์ในอนาคต เช่น บริษัทที่อยู่ในกลุ่มพลังงานสะอาด กลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า ล้วนเป็นกลุ่มที่อยู่ธีม ESG ที่กำลังมาแรง และสุดท้ายคือ การมีส่วนร่วมทางอ้อมที่ช่วยให้โลกของเราดีขึ้นอีกด้วย ดังนั้น ปัจจัย ESG จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี สำหรับนำมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจลงทุน
- ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน
- กองทุน Thai ESG เป็นกองทุนที่ส่งเสริมการออมระยะยาว และสนับสนุนการลงทุนเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย ผู้ถือหน่วยลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน และจะต้องคืนสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่เคยได้รับมาภายในกำหนดเวลา มิฉะนั้นจะต้องชำระเงินเพิ่มและ/หรือเบี้ยปรับตามประมวลรัษฎากร