ถ้าลองย้อนกลับไปเมื่อปี 1970 ในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งนั้นถูกเรียกกันว่า “ยุคอุตสาหกรรม 3.0” ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและตอบสนองกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นในยุค Baby Boomer โดยถือว่าเป็นช่วงที่มีอัตราการเกิดสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรย่อมมาพร้อมกับความต้องการสินค้าและบริการที่มากขึ้น
แต่เมื่อเวลาผ่านไป การผลิตสินค้าในปริมาณที่เยอะขึ้นไม่ได้ช่วยให้เศรษฐกิจโลกเติบโตได้ เนื่องจากจำนวนประชากรโลกเรามีอัตราการเกิดที่ลดลง รวมถึงทุกคนบนโลกสามารถเข้าถึงสินค้าและบริการต่าง ๆ ได้แล้ว ทำให้เริ่มมีการพูดถึง “อุตสาหกรรม 4.0” ที่กำลังมาเข้ามาเป็นอนาคตใหม่ที่โลกกำลังจับตามอง
อุตสาหกรรม 4.0 หรือที่ถูกเรียกว่า “อุตสาหกรรมแห่งเทคโนโลยี” จะเป็นการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารระหว่างบุคคล รวมถึงการสื่อสารระหว่างคนและเครื่องจักรต่าง ๆ ซึ่งพื้นฐานที่ทำให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในยุคนี้ก็คืออินเทอร์เน็ตที่ทำให้ข้อมูลข่าวสารเชื่อมถึงกันได้ในระยะเวลาอันสั้น ถึงแม้ว่าจะอยู่กันคนละมุมโลกก็ตาม ยุคนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า ‘ยุค Internet of things’
‘ยุค Internet of things’ ทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เชื่อมต่อกันได้ผ่านสิ่งที่เรียกว่า ‘อินเทอร์เน็ต’ จนทำให้จากโทรศัพท์ธรรมดาก็ถูกเปลี่ยนเป็น Smart Phone หรืออย่างบ้านทั่ว ๆ ไป เมื่อเพิ่มการเชื่อมต่อเข้าก็ถูกเรียกว่า Smart Home เพื่อตอบสนองความต้องการใหม่ ๆ ของผู้บริโภค และเราจะเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าบริษัทที่กำลังอยู่ในอุตสาหกรรมเก่าจะเริ่มมีการเติบโตที่ลดลง สวนทางกับบริษัทเทคโนโลยีที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด
ถ้าเราลองไปดูผลตอบแทนหุ้นเทคโนโลยีจากดัชนี NASDAQ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าผลตอบแทนย้อนหลังสูงถึง 16.58% ทบต้นต่อปี เมื่อเทียบกับดัชนี Dow Jones ที่คำนวณดัชนีจาก
หุ้นที่เป็นอุตสาหกรรมเก่าเป็นส่วนใหญ่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยเพียง 10.59% เท่านั้น
ถ้าหากเจาะลึกไปที่หุ้นเทคโนโลยีที่เป็นผู้นำตลาดอย่างกลุ่ม FAANG Stock ประกอบไปด้วย Facebook, Apple , Amazon, NETFLIX และ Google หลายบริษัทถูกสร้างขึ้นไม่ถึง 10 ปี แต่มูลค่าบริษัทกลับติดระดับท็อปของโลก รวมถึงส่งให้เจ้าของบริษัทเหล่านี้กลายเป็นมหาเศรษฐีที่ติดอันดับต้น ๆ ของโลกด้วย ซึ่งในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาต้องยอมรับว่าหุ้นเหล่านี้สร้างผลตอบแทนได้อย่างโดดเด่น
ในมุมของนักลงทุน ถ้าเราต้องการลงทุนใน “หุ้นเทคโนโลยี” จะต้องไปลงทุนที่ตลาดหุ้นต่างประเทศเท่านั้น โดยการเปิดพอร์ตซื้อขายหุ้นต่างประเทศ และต้องแลกเงินบาทไปเป็นสกุลเงินต่างประเทศเพื่อลงทุน สำหรับนักลงทุนมือใหม่ที่ยังไม่เคยไปลงทุนหุ้นต่างประเทศมาก่อนอาจจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างวุ่นวายและซับซ้อน วิธีการหนึ่งจะช่วยทำให้เราสามารถลงทุนหุ้นเหล่านี้ได้ก็คือ การลงทุนผ่านกองทุนรวม
ซึ่งทางกรุงศรีเองก็มีกองทุนรวมเทคโนโลยีมากมายหลายประเภทให้เลือกลงทุนตามความถนัดของนักลงทุนแต่ละคน ไม่ว่าเป็น “กรุงศรีโกลบอลเทคโนโลยีอิควิตี้ (KFGTECH)” ที่เน้นลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีชั้นนำของโลกซึ่งถ้าพูดชื่อที่กองนี้ถืออยู่อันดับแรก ๆ เชื่อได้ว่าทุกคนต้องรู้จักแน่นอนไม่ว่าจะเป็น Alibaba, Amazon, Facebook, Netflix เป็นต้น
หรือถ้าลงทุนเฉพาะหมวดอุตสาหกรรมเองก็มี “
กองทุนเปิด ทิสโก้ โกลบอล ดิจิตอล เฮลธ์ อิควิตี้ (TGHDIGI)” ที่จะเลือกลงทุนในหุ้นเทคโนโลยีกลุ่มสุขภาพ (Digital Health) จากแนวโน้มของโครงสร้างประชากรที่มีแนวโน้มเป็นผู้สูงอายุมากขึ้น และปริมาณผู้ป่วยที่เพิ่มสูงขึ้นไม่ว่าจะเป็นเบาหวาน หัวใจ มะเร็ง ฯลฯ ประกอบกับการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ทำให้หุ้นเทคโนโลยีกลุ่มสุขภาพ (Digital Health) มีการเติบโตได้อย่างก้าวกระโดดในช่วงที่ผ่านมา
หรือถ้าใครเป็นขาช้อปแล้วอยากลงทุนในกลุ่มที่เป็น e-Commerce ก็มี “
กองทุนเปิด วรรณ โกลบอล อีคิมเมิร์ซ (ONE-GECOM)” กองทุนที่เน้นลงทุนในธุรกิจ e-Commerce ที่เป็นกลุ่มธุรกิจอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับได้ประโยชน์จาก Covid-19 เต็ม ๆ เมื่อก่อนคนอาจจะยังไม่ชินกับการสั่งของออนไลน์ แต่เมื่อต้องอยู่ในช่วงปิดเมือง (Lockdown) ทำให้การสั่งของออนไลน์กลายเป็น New Normal ไปเป็นที่เรียบร้อย แล้วถ้าไปดูงบการเงินกลุ่ม e-Commerce ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ากำไรก้าวกระโดดอย่างชัดเจน
แต่ถ้าใครมีความสนใจในเทคโนโลยีด้านการศึกษาก็มี “
กองทุนเปิด ยูไนเต็ด เอ็ดดูเคชั่น เทคโนโลยี ฟันด์ (UEDTECH)” ที่จะลงทุนในกลุ่มผู้ผลิตหรือจัดทำข้อมูลแพลตฟอร์มและการนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ รวมไปถึงระบบโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวกับการศึกษาให้กับนักลงทุนเลือกลงทุนได้ ซึ่งแนวโน้มเรื่องเทคโนโลยีการศึกษา (Edtech) ถือว่ามีโอกาสในการทำตลาดที่สูงมาก เนื่องจากมูลค่าอุตสาหกรรมการศึกษาสูงกว่า 5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยในปัจจุบัน Edtech มีขนาดไม่ถึง 3% เมื่อเทียบกับมูลค่าอุตสาหกรรมการศึกษาทั้งหมด
หรือถ้าใครมองภาพใหญ่อยากลงทุนในระบบการจัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประสิทธิภาพที่สุดตัวหนึ่งอย่าง Cloud Computing ซึ่งเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการทั้งซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึง ‘ข้อมูล’ ที่เราต้องการได้ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนของโลก ที่เวลานี้กำลังเป็นที่ต้องการของโลกก็สามารถลงทุนผ่าน “
กองทุนเปิด ทิสโก้ Cloud Computing อิควิตี้ (TCLOUD)” ที่เน้นลงทุนในหุ้นที่ให้บริการ Cloud Computing ทั้งส่วนที่เป็นบริการระบบซอฟต์แวร์ (SaaS) บริการแพลตฟอร์ม (PaaS) บริการโครงสร้างพื้นฐาน (IaaS) รวมถึงทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REITs) ที่เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลด้วยเช่นกัน