ลงทุนในกองทุน RMF ทำไมต้องรอ
รอบรู้เรื่องลงทุน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

ลงทุนในกองทุน RMF ทำไมต้องรอ

icon-access-time Posted On 09 กรกฎาคม 2564
By Krungsri the COACH

เมื่อพูดถึง กองทุนเพื่อการเลี้ยงชีพ หรือ RMF (Retirement Mutual Fund) มนุษย์เงินเดือนอย่างเราๆ ก็พอจะทราบกันดีว่าเป็นกองทุนที่ช่วยประหยัดภาษีได้ แต่ต้องถือลงทุนค่อนข้างนาน เพราะต้องถือครองจนเรามีอายุ 55 ปีเต็ม คำถามยอดฮิตของ RMF ที่ได้ยินคนถามเสมอก็คือ ควรซื้อ RMF ตอนอายุเท่าไหร่? ฉันยังห่างไกลจากการเกษียณอยู่มาก วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจว่าทำไมเราควรต้องรีบซื้อ RMF

  • เป็นการลงทุนที่ยาวนานเกินไป จริงหรือ? หากเราคิดว่าอายุ 55 ปี อีกยาวไกล ลองคิดดูเล่นๆ ว่าวันนึงที่เราเกษียณและไม่มีรายได้ประจำแล้ว จะต้องมีค่าใช้จ่ายต่อเดือนประมาณเท่าไหร่ อย่าลืมคิดรวมค่าใช้จ่ายเรื่องการดูแลรักษาสุขภาพที่เสื่อมถอยตามกาลเวลาด้วยนะ แล้วยังต้องแบ่งเงินไว้สำหรับไปใช้ชีวิตหลังเกษียณตามใจฝัน รวมถึงจะเก็บไว้ให้เป็นมรดกของลูกหลาน ซึ่งหากเราอยากจะมีความสุขในยามเกษียณ ได้มีชีวิตที่สบายและได้ทำเรื่องต่างๆ ตามที่ฝัน ก็ต้องเริ่มคิดได้แล้วว่าต้องเก็บเงินให้ได้เท่าไหร่ก่อนจะเกษียน แล้วการที่เราเริ่มลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อยและมีการลงทุนอย่างต่อเนื่อง จะทำให้เงินมีเวลาค่อยๆ ออกดอกออกผล อย่างที่หลายๆ คนคงเคยได้ยินคำว่า “ออมก่อน รวยกว่า”
  • มีเงื่อนไขต้องลงทุนต่อเนื่อง กองทุน RMF ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือที่ช่วยประหยัดภาษีได้เท่านั้น แต่จริงๆ แล้วยังช่วยฝึกฝนให้เรามีวินัยในการเก็บเงิน และทำให้เรามีเงินก้อนไว้ใช้ยามเกษียณ แม้ว่ากองทุน RMF มีเงื่อนไขที่ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี หรืออย่างน้อยที่สุดคือปีเว้นปี แต่เราขอแนะนำให้ใช้วิธีการทยอยลงทุนแบบถัวเฉลี่ยต้นทุน (DCA : Dollar-Cost Averaging) ซึ่งก็คือ การทยอยซื้อกองทุนเป็นงวดๆ งวดละเท่าๆ กัน ช่วยลดผลกระทบจากความผันผวนของราคากองทุนและลดโอกาสพลาดจังหวะการลงทุนทั้งในช่วงตลาดขาขึ้นและขาลงและเพิ่มโอกาสทำให้เงินของเรางอกเงยได้ในระยะยาว โดยสำหรับคนที่มีบัญชีกองทุนและลงทุนผ่านธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็สามารถวางแผนการลงทุนแบบประจำ หรือที่เรียกว่า Regular Saving Plan เอาไว้เลย จะทำที่สาขาหรือทำด้วยตัวเองผ่าน KMA-Krungsri Mobile App ก็ได้ สะดวกสุดๆ ที่สำคัญไม่ต้องห่วงว่าจะลืมลงทุนอีกด้วย
  • สามารถเลือกสไตล์การลงทุนให้เหมาะกับตัวเราได้ เพราะกองทุน RMF มีหลากหลายประเภทให้เลือกลงทุนได้ ทั้งที่ลงทุนในตราสารหนี้ หุ้น รวมถึงสินทรัพย์ทางเลือก มีให้เลือกตามระดับความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ รวมถึงเลือกลงทุนในประเทศหรือต่างประเทศก็ได้
    • หากเรารับความเสี่ยงได้น้อยก็เลือกลงทุนในกองทุนประเภทตราสารหนี้ ซึ่งเปิดโอกาสรับผลตอบแทนที่ดีกว่าการฝากเงินทั่วๆ ไป เช่น กองทุน KFSINCRMF (กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลสมาร์ทอินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ) ที่เน้นลงทุนในตราสารหนี้คุณภาพดีหลากหลายประเภททั่วโลก ผ่านกองทุนรวมต่างประเทศ PIMCO GIS Income Fund เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV (ความเสี่ยงระดับ 5)
    • แต่ถ้าคิดว่าตัวเรารับความเสี่ยงได้สูง ก็สามารถเลือกลงทุนในกองทุนที่มีนโยบายลงทุนเฉพาะธีมการลงทุน หรือกลุ่มอุตสาหกรรมที่เราสนใจได้ เช่น กองทุน KFGBRANRMF (กองทุนเปิดกรุงศรีโกลบอลแบรนด์อิควิตี้เพื่อการเลี้ยงชีพ) ที่เน้นลงทุนในหุ้นของบริษัทหรือแบรนด์ที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงทั่วโลก ที่มีแบรนด์ที่ติดตลาด ยากที่จะลอกเลียนแบบ ผ่านกองทุนรวมต่างประเทศ Morgan Stanley Investment Fund - Global Brands Fund เฉลี่ยรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV (ความเสี่ยงระดับ 6) หรือ กองทุน PRINCIPAL iPROPRMF (กองทุนเปิดพรินซิเพิล พร็อพเพอร์ตี้ อินคัมเพื่อการเลี้ยงชีพ) ที่เน้นลงทุนในหลักทรัพย์หรือตราสารในหมวดอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ทั้งในและต่างประเทศ โดยเน้นประเทศไทยและสิงคโปร์ เช่น หน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ และ/หรือ กองทรัสต์ เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (”REITs”) หรือ ตราสารทางการเงินอื่นใดที่ให้ผลตอบแทนเชื่อมโยงกับอสังหาริมทรัพย์ ไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV (ความเสี่ยงระดับ 8)
อ่านมาถึงตรงนี้ คุณคงเข้าใจแล้วว่าซื้อ RMF ไม่ควรรอซื้อตอนอายุเยอะใกล้เกษียณ นาทีนี้ถ้าใครมาบอกว่าอายุเท่านี้ไม่เหมาะกับ RMF หรอก คุณก็คงไม่เชื่ออีกแล้ว และซื้อแล้วก็ต้องปฏิบัติให้ถูกเงื่อนไขการลงทุนใน RMF ด้วย เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี เงื่อนไขการลงทุนในกองทุน RMF เพื่อให้ได้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีมีอยู่ 3 ข้อ คือ
  1. ลงทุนสูงสุดไม่เกิน 30% ของเงินได้พึงประเมินที่ต้องเสียภาษีและเมื่อรวมกับเงินลงทุนเพื่อการเกษียณอายุอื่นๆ (ประกอบด้วย กองทุนรวมเพื่อการออม (SSF), กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF), กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.), กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน, กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.), เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ) ต้องไม่เกิน 500,000 บาทในปีภาษีนั้น
  2. เมื่อเริ่มลงทุนแล้ว ต้องลงทุนต่อเนื่องทุกปี (เว้นได้ไม่เกิน 1 ปี)
  3. ต้องถือหน่วยลงทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อครั้งแรก และขายคืนได้เมื่อผู้ลงทุนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์

หากสนใจเริ่มลงทุนกับ RMF แล้วไม่รู้จะเริ่มยังไงดี ธนาคารกรุงศรีอยุธยาพร้อมดูแลคุณให้ทุกเรื่องการลงทุนในกองทุนรวม ให้เป็นเรื่องง่าย ด้วยผลิตภัณฑ์กองทุนรวม และบริการให้คำปรึกษากับคุณ
  • หากคุณอยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุนรวม ธนาคารกรุงศรีอยุธยามีทีม Plan Your Money คอยให้คำแนะนำการลงทุน สามารถติดต่อขอรับคำแนะนำได้ที่ 02-2965959 หรือฝากข้อมูลเพื่อให้เจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ คลิก
  • เริ่มต้นลงทุนกับ ธนาคารกรุงศรี ง่ายจริงๆ เพราะสามารถเปิดบัญชีและซื้อกองทุนรวมได้ด้วยตัวเองผ่าน KMA-Krungsri Mobile App เหมาะกับยุคนี้ ที่ทุกอย่างทำได้ง่ายๆ บนมือถือ
  • ลงทุนที่ ธนาคารกรุงศรี ได้ครบจบในที่เดียว เพราะมีกองทุนรวมเด็ดมากมาย จากหลากหลาย บลจ.ชื่อดัง ที่ ธนาคารกรุงศรีคัดมาให้แบบเน้นๆ แถมยังสะดวกสุดๆ เพราะมีแค่บัญชีกองทุนเดียว ก็สามารถซื้อขายกองทุนรวมได้ทุก บลจ. ที่ธนาคารเป็นตัวแทนจำหน่าย
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน • RMF เป็นกองทุนที่ลงทุนเพื่อเกษียณอายุ ผู้ลงทุนจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน • KFGBRANRMF, PRINCIPAL iPROPRMF อาจทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินในหลักทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศที่กองทุนถืออยู่ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของบริษัทจัดการ ซึ่งอาจมีต้นทุนสำหรับการทำธุรกรรมฯ โดยทำให้ผลตอบแทนของกองทุนโดยรวมลดลงจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น และในกรณีที่ไม่ได้ทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเงิน ผู้ลงทุนอาจขาดทุนหรือได้รับผลกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงิน หรือได้รับเงินคืนต่ำกว่าเงินลงทุนเริ่มแรกได้ • PRINCIPAL iPROPRMF ลงทุนกระจุกตัวในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ จึงอาจมีความเสี่ยงและความผันผวนของราคาสูงกว่ากองทุนรวมทั่วไปที่มีการกระจายการลงทุนในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม โดยหากมีปัจจัยลบที่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนดังกล่าว ผู้ลงทุนอาจสูญเสียเงินลงทุนจำนวนมาก ผู้ลงทุนควรขอคำแนะนำเพิ่มเติมก่อนทำการลงทุน
pym logo
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา