กลยุทธ์รับมือคู่แข่ง

กลยุทธ์รับมือคู่แข่ง

By Krungsri GURU SME

 

"คุณภาพ เป็นหัวใจหลักของการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ"
หากศึกษาสินค้าและบริการของแบรนด์ที่มีชื่อเสียงระดับโลก สิ่งหนึ่งที่เหมือนกันและเห็นได้ชัดเจนคือ คุณภาพต้องมาเป็นอันดับหนึ่ง เพราะนี่คือหัวใจหลักของการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จและอยู่ได้อย่างยั่งยืน แม้ในตลาดนั้น ๆ จะมีคู่แข่งดุเดือดแค่ไหนก็ตาม (อ่านธุรกิจติดตลาด คุณภาพต้องมาก่อน)
ด้วยเหตุนี้แบรนด์ระดับโลกที่ว่าจึงไม่เกรงกลัวหรือหวั่นไหวคู่แข่ง แต่ขณะเดียวกันก็พร้อมที่จะรับมืออย่างชาญฉลาด และมองคู่แข่งในมุมบวกเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อน ทำให้สินค้าและบริการของตัวเองได้รับการพัฒนามากยิ่งขึ้น และอีกสิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของตลาดในโลกยุคดิจิตอล รวมถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีไลฟ์สไตล์แตกต่างไปจากในอดีตเป็นอย่างมาก
หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมต้องคิดบวกกับคู่แข่ง ทั้ง ๆ ที่มาแย่งลูกค้าทำให้ยอดขายของบริษัทลดลงและก่อให้เกิดผลกระทบอีกหลายอย่างตามมา
ก่อนอื่นคงต้องอธิบายว่าการคิดบวกจะทำให้เกิดสิ่งที่ดี ๆ ประการแรกเลย คือ ทำให้ไม่เครียด และจะเกิดสติปัญญาเพื่อมองเรื่องราวที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้านและหาทางแก้ไข ป้องกัน รวมทั้งเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ แทนที่จะไปหมกหมุ่นอยู่กับการแข่งขันเพื่อเอาชนะเพียงอย่างเดียว …อันนี้เป็นเรื่องของจิตวิทยา
อย่างไรก็ตามในการทำธุรกิจจะต้องศึกษาข้อมูลของสินค้าและบริการของคู่แข่ง เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับของเราว่ามีจุดอ่อน-จุดแข็ง อะไรบ้าง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ แล้วค่อย ๆ แก้ทีละจุด สรุปคือ ตีโจทย์คู่แข่งให้แตก และต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมทั้งตั้งรุกและตั้งรับในเวลาเดียวกัน (อ่านบทความ "รู้เขารู้เรา" วิธีเอาชนะคู่แข่ง)
ยกตัวอย่างเรื่องวัตถุดิบ หากคู่แข่งซื้อได้ในราคาที่ต่ำกว่าเราควรต้องแก้จุดนี้ก่อน ซึ่งไม่ใช่เรื่องยาก เช่นอาจจะต่อรองราคาใหม่กับเจ้าที่ซื้ออยู่เดิม เปลี่ยนเจ้าใหม่ หรือปรับเปลี่ยนวิธีการจ่ายเงินให้เร็วขึ้นเพื่อจะได้ราคาที่ต่ำกว่าเดิม หรือคิดค้นวัตถุดิบใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อันเป็นการสร้างนวัตกรรม ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนการผลิตต่ำกว่าเดิมก็ได้
ขั้นตอนการผลิตก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกัน ต้องศึกษาสำรวจว่าบริษัทเราได้ใช้เทคโนโลยีเหมาะสมหรือไม่ประการใด ได้รับเครื่องหมายมาตรฐานสากลตามที่กำหนดหรือเปล่า คู่แข่งมีอะไรที่เหนือกว่าเรา ในเรื่องราคาต้องเน้นไปที่ความคุ้มค่าของผู้บริโภคเป็นหลัก
นอกจากนี้ยังมีเรื่องช่องทางการตลาด ต้องดูว่าลูกค้าเก่ายังอยู่ครบไหม จะทำให้อย่างไรให้มีลูกค้าใหม่ ๆ เข้ามาเสริมตลอด ซึ่งในยุคดิจิตอลนี้ ลูกค้าต้องการความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ซื้อ หรือบริการหลังการขาย ดังนั้นต้องมุ่งเน้นไปที่การค้าขายในตลาดออนไลน์ควบคู่ไปกับการมีหน้าร้านด้วย โดยใช้โซเชียลมีเดียทั้งหลายให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม หรือไลน์ ฯลฯ
นอกจากนี้การเชื้อเชิญให้ลูกค้าเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะก็เป็นอีกกิจกรรมที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งจะทำให้ภาพพจน์ของบริษัทดีในสายตาผู้บริโภค อันจะส่งผลไปถึงยอดขายด้วย ขณะเดียวกันก็ต้องหาพันธมิตรคู่ค้าให้มากขึ้น เพราะยิ่งเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี คู่แข่งก็ยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย
 
ฉะนั้นต้องพร้อมรับมือกับปัจจัยใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นอย่างรู้เท่าทันและตั้งรับด้วยสติปัญญาที่ชาญฉลาด
เพราะการทำธุรกิจและการค้าขายในยุคนี้คู่แข่งไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวเพียงอย่างเดียว ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโลกใบนี้ทั้งในแง่เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ล้วนส่งผลกระทบมาถึงทั้งนั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow