"รู้เขารู้เรา" วิธีเอาชนะคู่แข่ง

By Krungsri GURU SME

เป็นเรื่องปกติธรรมดาของการทำธุรกิจที่จะต้องมีคู่แข่งทางการตลาด ซึ่งถ้าจะว่าไปแล้วก็มีทั้งจุดดีจุดเสียในเวลาเดียวกัน ดังนั้นเพื่อให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนภายใต้การแข่งขันที่นับวันจะเข้มข้นขึ้น หลังจากเปิดเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือ AEC ในปลายปีนี้สิ่งสำคัญประการแรกต้องยึดหลัก "รู้เรารู้เขา" เสียก่อน แต่ก่อนจะรู้เขา จำเป็นอย่างยิ่งต้องรู้เราอย่างละเอียดลึกซึ้ง ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ ต้องมีข้อมูลอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในตัวสินค้าและบริการของเรา ทั้งเรื่องวัตถุดิบ ขั้นตอนการผลิต จนถึงการนำสินค้าไปถึงมือผู้บริโภค

ขณะเดียวกันก็ต้องรู้ข้อมูลของคู่แข่งในเรื่องต่าง ๆ ด้วยเพื่อจะนำมาประเมินเปรียบเทียบกัน ซึ่งในส่วนของคู่แข่งทางการตลาดนั้น มีทั้งคู่แข่งทางตรงและคู่แข่งทางอ้อม คู่แข่งทางตรงก็คือ ในรายที่ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน ส่วนคู่แข่งทางอ้อม อาจจะเป็นผู้ผลิตสินค้าประเภทอื่น ๆ แต่มีลูกค้ากลุ่มเดียวกัน
ที่ผ่านมาผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่และรายเล็กจำนวนมากใช้ “SWOT” เป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการธุรกิจและวิเคราะห์สถานการณ์ทางการตลาดซึ่งย่อมาจาก

 
Strength (จุดแข็ง) Weakness (จุดอ่อน) Opportunity (โอกาส) Threat (อุปสรรค)
ผู้ประกอบการบางคนอาจจะใช้อยู่แล้วแต่ไม่รู้ว่าคือ “SWOT”
ในทางการตลาดนั้นเมื่อมีคู่แข่งแสดงว่ากลุ่มลูกค้าจะต้องถูกแบ่งออกไป ดังนั้นเพื่อให้ได้ส่วนแบ่งทางการตลาดมากที่สุด ผู้ประกอบการก็ต้องนำสินค้าคู่แข่งมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์จุดเด่นจุดแข็งของทั้งคู่แข่งและของเราด้วย ซึ่งหากเริ่มต้นกันที่วัตถุดิบหากคู่แข่งซื้อได้ถูกกว่าก็อาจจะทำให้ขายได้ในราคาที่ถูกกว่าด้วยเช่นกัน ดังนั้นจะต้องหาทางแก้ไขในจุดนี้เสียก่อน รวมทั้งปัญหาอุปสรรคอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดรายจ่ายในขั้นตอนการผลิตเพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น
จากนั้นค่อยไล่เลี่ยทีละจุดไม่ว่าจะเป็นเรื่องขั้นตอน วิธีการผลิต ปริมาณ คุณภาพมาตรฐาน และราคา ต้องตรวจสอบทั้งกระบวนการว่าสินค้าเรามีจุดแข็งตรงไหน แล้วนำจุดแข็งนั้นมาเป็นจุดขายในการทำการตลาด
อย่างเช่น หากเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสินค้าเกษตร กรณีใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ 100% ใช้ระบบวิธีการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านผสมผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ ใช้สินค้าเกษตรที่ได้รับเครื่องหมาย GI (สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์) และมีเรื่องราวความเป็นมาที่น่าสนใจ อาจจะโยงกับเรื่องในอดีตด้วยก็ได้ ปัจจัยเหล่านี้สามารถหยิบมาใช้ในการทำการตลาด ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าได้รับทราบเพื่อดึงดูดความสนใจ
อย่างไรก็ตามอำนาจการซื้อก็อยู่ที่ลูกค้าที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์ที่ตัวเองชื่นชอบ ซึ่งในยุคปัจจุบันนอกจากคุณภาพมาตรฐานและราคาจะเป็นตัวกำหนดที่สำคัญแล้ว แพกเกจจิ้งโดดเด่นโดนใจและการหาซื้อสินค้าได้ง่ายสะดวกก็เป็นอีกปัจจัยที่สำคัญไม่แพ้กัน รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักกันในวงกว้างด้วย ปัจจัยเหล่านี้ก็ต้องนำมาประเมินเปรียบเทียบด้วยว่าคู่แข่งเขาทำได้ดีกว่า เหนือกว่าเราหรือไม่ อย่างไร
พร้อมกันนั้นเพื่อให้สินค้ามีช่องทางการจำหน่ายเพิ่มขึ้นก็ควรจะต้องหาตลาดใหม่ ๆ มาเสริม เพราะตลาดเดิมก็ยังคงจะต้องถูกแบ่งไปให้กับแบรนด์อื่นด้วย ซึ่งปัจจุบันการทำตลาดออนไลน์ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปแล้ว ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ รวมถึงการไปออกงานตามตลาดนัดใหญ่ ๆ ที่ผู้คนมีกำลังซื้อ หรือไปในงานแสดงสินค้าที่ภาครัฐและเอกชนจัดกันเป็นประจำ มีทั้งที่เสียค่าใช้จ่ายและไม่เสียค่าใช้จ่าย
ช่องทางเหล่านี้ถือเป็นการเปิดตลาดอีกอย่างหนึ่ง รวมทั้งเป็นการตรวจสอบความพึงพอใจของลูกค้าไปในตัว ซึ่งสิ่งที่จะได้รับกลับมาก็คือ คำติชมจากลูกค้าและนั่นจะทำให้สินค้าได้รับการพัฒนาปรับปรุงที่อยู่บนพื้นฐานความต้องการของผู้บริโภคอย่างแท้จริง
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow