ไม่เจ็บไม่จน เป็นคนสุขภาพดีด้วยแผนการเงินสุดฉลาด

ไม่เจ็บไม่จน เป็นคนสุขภาพดีด้วยแผนการเงินสุดฉลาด

By Krungsri Society
เมื่อความเจ็บป่วยกลายเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่งของชีวิต การวางแผนการเงินแต่เนิ่น ๆ อาจช่วยให้เราดูแลสุขภาพได้ดี ไม่เจ็บและไม่จนอย่างที่คนอื่นกลัว
เวลาที่เราพูดถึงแผนการเงินกันทีไร หลาย ๆ คนมักจะไปนึกถึงเรื่องการลงทุนมาก่อนเป็นอันดับแรกเลย ถ้าถามเป็นเรื่องที่ดีมั้ยที่เราหันมาสนใจเรื่องการลงทุน ต้องบอกว่าดีมาก แต่นั่นไม่ใช่สูตรสำเร็จเสมอไปหรอก เพราะยังมีอีกทางเลือกหนึ่งคือ เราอาจเริ่มต้นวางแผนการเงินด้วยการบริหารความเสี่ยงก่อน ค่อยคิดถึงการลงทุนมาเป็นอันดับหลัง ๆ ก็ได้เหมือนกัน
แล้วทำไมเราต้องมาเริ่มต้นบริหารความเสี่ยงก่อนด้วยล่ะ ? ก็เราอยากรวยก็ต้องลงทุนให้เงินงอกเงยสิถึงจะถูก !!
ใจเย็นกันก่อน ก่อนอื่นเราต้องมาเข้าใจก่อนว่าการบริหารความเสี่ยงอันนี้หมายถึงอะไร พอพูดถึงเรื่องการเงินแล้วมีคำว่าความเสี่ยงขึ้นมา ส่วนใหญ่ก็จะไปนึกถึงเรื่องการกระจายการลงทุน (Asset Allocation) ต่าง ๆ แต่ความเสี่ยงที่เรากำลังพูดกันนี้คือ "ความเสี่ยงที่แท้จริง" เช่น การเกิดอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยต่าง ๆ รวมไปถึงกรณีที่เราป่วยหนักด้วยนะ
ลองนึกถึงเหตุการณ์ที่เรากำลังเก็บเงินลงทุนตามแผนการลงทุนได้เป็นอย่างดี สมมติเราตั้งใจว่าจะเก็บเดือนละ 10,000 บาทแล้วเอาเงินไปลงทุนในกองทุนรวมที่เป็นที่นิยมไปเรื่อย ๆ แล้วสมมติว่าพอเราเก็บเงินมาได้ 3 ปีเราก็มีเงินในกองทุนรวมสักประมาณ 400,000 บาท เนื่องจากผลตอบแทนจากการลงทุนทำได้ไม่เลวเลยทีเดียว (ประมาณ 7% ต่อปี)
แต่อยู่ ๆ เราก็เกิดปวดหน้าอกขึ้นมาทำให้ต้องรีบไปโรงพยาบาลโดยด่วน คุณหมอสรุปออกมาว่า "เส้นเลือดหัวใจตีบ" ต้องทำบอลลูนโดยด่วน ใช้เงินค่ารักษา 200,000 บาท เราไม่ได้เตรียมตัวเรื่องการบริหารความเสี่ยงเราก็ต้องไปถอนเงินจากการลงทุนออกมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล สุดท้ายพอร์ตการลงทุนของเราก็ต้องหายไปมากกว่าครึ่ง
 
แต่จะดีกว่าไหม ถ้าเรามีการวางแผนบริหารความเสี่ยงไว้ด้วย เช่น การที่เรามีประกันสังคมหรือประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท และถ้าเพิ่มเติมด้วยประกันโรคร้ายแรงอย่างเช่น โรคมะเร็ง หรือประกันอุบัติเหตุ ก็จะครอบคลุมและสบายใจในการรักษาได้กว้างขึ้น
โดยการแบ่งเงินจากที่เราตัดเข้าพอร์ตเดือนละ 10,000 บาท ลดเหลือ 9,000 บาท แล้วอีก 1,000 บาทเอามาทำประกันเพื่อบริหารความเสี่ยง แน่นอนว่าพอร์ตเราจะโตไม่ถึง 400,000 บาท เพราะว่าเงินต้นที่ใส่เข้าพอร์ตลดน้อยลงเหลือประมาณ 360,000 บาท แต่สมมติเกิดเหตุแบบเดียวกันเราก็ไม่จำเป็นต้องถอนเงินออกมาจากพอร์ตการลงทุนเพื่อมารักษาตัวเอง อันนี้เป็นตัวอย่างโรคร้ายแรงเพียงโรคเดียว จริง ๆ แล้วปัจจุบันตอนนี้เราก็มีปัจจัยเสี่ยงเยอะแยะไปหมดไม่ว่าจะจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมไปถึงอุบัติเหตุด้วย
ตัวอย่างที่เราพูดคุยกันเป็นกรณีที่เจ็บป่วยไม่ได้มาก และเรายังสามารถตัดเงินจากพอร์ตมาลงทุนได้ แต่สำหรับบางกรณีแล้ว เงินไม่พอสำหรับค่าใช้จ่าย หลาย ๆ ครั้งก็ไม่ได้รักษาหรือรักษาไม่ทัน และบางคนตัดสินใจรักษาตัวเองก็ต้องกลายเป็นหนี้เป็นสินเข้าไปอีก
สุดท้ายเรื่องการบริหารความเสี่ยงเราต้องเน้นที่มีพอ ไม่ใช่แค่พอมีเท่านั้น เพราะหลาย ๆ ครั้งถึงเวลาที่เราต้องใช้ขึ้นมา สวัสดิการต่าง ๆ ที่เรามีกลับไม่พอ นอกจากจะเจ็บตัวแล้วยังต้องมาจนเพราะต้องเอาเงินมารักษาตัวเองก็คงเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากเจอหรอกจริงไหม
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow