รับมืออย่างไร? เมื่อโดนเกรียนคีย์บอร์ด หมิ่นประมาทออนไลน์

รับมืออย่างไร? เมื่อโดนเกรียนคีย์บอร์ด หมิ่นประมาทออนไลน์

By Krungsri Plearn Plearn
ในปัจจุบันการจะมีเรื่องบาดหมางกันนั้นช่างแตกต่างจากในสมัยก่อนโดยสิ้นเชิง ซึ่งนั่นก็เป็นผลมาจากเรื่องของการพัฒนาสื่อโซเชี่ยลมีเดียต่าง ๆ ที่มีผู้ใช้งานกันอย่างหลากหลาย ซึ่งการใช้งานเหล่านี้นั้นก็สามารถที่จะพิมพ์สื่อสารโต้ตอบ หรือแสดงความคิดเห็นกันได้แบบอิสระ แต่ด้วยความอิสระที่เกิดทำให้เกิดกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า “เกรียนคีย์บอร์ด” แล้วเราจะรับมือกับคนเหล่านี้ได้อย่างไร? หากเกิดเรื่องนี้ขึ้นกับเราบนโลกออนไลน์ จะมีวิธีไหนช่วยป้องกันตัวเราให้ปลอดภัยบ้าง มาดูกัน
เด็กน้อยเครียดเจอหมิ่นประมาทออนไลน์

เกรียนคีย์บอร์ด คือใคร?

เกรียนคีย์บอร์ด หมายถึง กลุ่มคน หรือใครก็ได้ที่ชอบก่อกวนบนโลกโซเชียล โดยการพิมพ์และคอมเมนต์ไปในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง คุกคาม และให้ร้าย รวมถึงยังสร้างความไม่สบายใจให้กับผู้ที่ถูกคุกคามอีกด้วย ซึ่งก็มีหลาย ๆ คน ที่ต้องเจอกับกลุ่มคนเหล่านี้ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะเหล่าศิลปินดารา หรือคนที่มีชื่อเสียงเป็นบุคคลสาธารณะ

ส่วนใหญ่คอมเมนต์ที่เกรียนคีย์บอร์ดมักจะเลือกใช้นั้นก็จะเป็นเชิงดูถูก ดูหมิ่น และการบูลลี่ต่าง ๆ นั่นเอง แต่ไม่ว่าอย่างไรสิ่งที่คนเหล่านี้ทำก็ล้วนแล้วแต่เป็นการหมิ่นประมาทออนไลน์ทั้งสิ้น ซึ่งเราก็อยากมาแชร์ข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับการรับมือเหล่านี้ให้ได้รู้ว่าจะรับมือเรื่องนี้แบบไหนดีที่สุด

วิธีรับมือกับเกรียนคีย์บอร์ดแบบไหนดีที่สุด

1. อย่าเสียเวลาโต้ตอบ

เมื่อเราเห็นคอมเมนต์จากเกรียนคีย์บอร์ดตามโชเชียลมีเดีย หากเป็นคอมเมนต์ที่เข้าข่ายการดูหมิ่นไม่จำเป็นต้องตอบ เพราะการตอบคนพวกนี้จะยิ่งทำให้พวกเขาได้ใจ และทำการโต้ตอบกลับมาแบบไม่มีจุดสิ้นสุด ดังนั้นให้นิ่งเฉยไว้จะดีที่สุด แต่หากคอมเมนต์นั้นค่อนข้างรุนแรงและสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง หรือสร้างความไม่พอใจแก่เรา ก็ควรเซฟภาพคอมเมนต์เหล่านั้นเอาไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการฟ้องหมิ่นประมาทออนไลน์ได้เลย

2. ตอบกลับอย่างมีชั้นเชิง

หากเราต้องการที่จะตอบกลับคอมเมนต์จากเกรียนคีย์บอร์ด ควรเลือกใช้คำตอบที่ไม่ง่ายเกินไป หรือการตอบแบบมีชั้นเชิงแบบผู้ดี ไม่ใช้คำหยาบแต่ตอบแล้วเจ็บแบบทีเดียวจบ และหากเขาตอบกลับมา ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องไปตอบโต้ให้เสียเวลาต่อไป ปิดหน้าจอแบบเชิ่ด ๆ ได้เลย

3. อย่าหลงกลโมโหตามคอมเมนต์

แน่นอนว่าการถูกคอมเมนต์ที่ไม่ดีต่อตัวเรานั้นไม่ว่าใครก็มักที่จะไม่พอใจกันทั้งนั้น เพราะฉะนั้นอย่าหลงกล คอมเมนต์กลับแบบทันที เพราะอาจทำให้คุณเผลอคอมเมนต์ไปไม่ทันคิด ทำให้การเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายเกิดความผิดพลาด ทำให้ไม่เกิดประโยชน์ต่อตัวคุณได้นั่นเอง จากเรื่องดี ๆ เราอาจโดนเกรียนคีย์บอร์ดกลุ่มนั้นเล่นงานเพิ่มเติมได้อีก

คอมเมนท์แบบไหน? เข้าข่ายหมิ่นประมาทออนไลน์

หลากหลายคอมเมนต์ที่เราได้อ่าน หรือได้เห็นผ่านตากันมานั้น จะรู้ได้อย่างไรว่าคอมเมนต์แบบไหนเข้าข่ายการหมิ่นประมาทออนไลน์ ซึ่งทางกฎหมายนั้นก็มีการแยกแบ่งระหว่าง “คำด่า” และ “หมิ่นประมาท” เอาไว้อย่างชัดเจน ดังนี้

คำด่า คือ คำพูดหรือข้อความที่มีความหยาบคาย ที่จะทำให้ผู้ถูกด่านั้นรู้สึกด้อยค่า และสร้างความไม่พอใจ แต่ถึงจะไม่ได้ด่าเราโดยตรง ก็ยังเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ที่ว่า “ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือด้วยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่ง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ”
คอมเมนต์บูลลี่ หมิ่นประมาท
เรื่องของหมิ่นประมาท คือ การพูด หรือแสดงความคิดเห็นที่เป็นการใส่ร้าย ใส่ความ และไม่เป็นความจริง ที่ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทนั้นเกิดความเสียหาย และเกิดความไม่พอใจ ไม่ว่าจะเป็นการพูดเรื่องราวของบุคคลนั้นแบบเป็นเรื่องเป็นราวโดยไม่มีหลักฐาน หรือมูลเหตุที่แน่ชัด หรือจะเป็นการกล่าวอ้างถึงบุคคลนั้นโดยที่ไม่มีหลักฐานมายืนยัน ล้วนแล้วแต่เป็นการหมิ่นประมาททั้งสิ้น

ซึ่งหากเรื่องที่บุคคลนั้นพิมพ์ หรือพูดออกมาอาจจะเป็นความจริงแต่ก็ทำให้ผู้ที่ถูกกล่าวอ้างเสียหายนั้น ก็ถือเป็นการหมิ่นประมาทอีกด้วย เช่น ระวังพี่คนนี้นะ เขาชอบขโมยของเพื่อน ๆ เป็นต้น

โดยการกระทำเหล่านี้ก็เข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 328 ที่ว่า “ถ้าความผิดฐานหมิ่นประมาทได้กระทำโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพ หรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฏไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร กระทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท”

การแจ้งความหมิ่นประมาทออนไลน์ ทำอย่างไรบ้าง?

เมื่อถูกหมิ่นประมาทออนไลน์ และต้องการดำเนินคดีตามกฎหมายนั้น สามารถทำได้ดังนี้

1. รวบรวมพยานหลักฐาน

แชทหมิ่นประมาท
สำหรับการหมิ่นประมาทออนไลน์หากต้องการเข้าสู่กระบวนการทางกฎหมายไม่ว่าจะเป็นด้วยคำพูด การเขียน การวาด หรือการโฆษณาต่าง ๆ นั้น ผู้ที่ต้องการแจ้งความจะต้องเก็บหลักฐานเหล่านั้นเอาไว้เพื่อใช้ในการแจ้งความ เช่น หากเป็นการหมิ่นประมาทโดยการคอมเมนต์บนโซเชียลมีเดีย ก็สามารถบันทึกหน้าจอแล้วพิมพ์ออกมาเป็นกระดาษ A4 จัดเรียงเอกสารใส่แฟ้มให้เรียบร้อย แล้วทำการยื่นเรื่องต่อไป

2. มีพยานบุคคลที่รู้เห็น

โดนนินทา หมิ่นประมาทซึ่งๆ หน้า
เมื่อมีพยานหลักฐานที่สามารถใช้แจ้งความได้แล้วจะต้องมีพยานบุคคลที่รับรู้ถึงการหมิ่นประมาทนั้น ซึ่งเราก็จะเรียกเขาว่า “บุคคลที่สาม” ที่รับรู้ถึงสถานการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อเข้าไปแจ้งความกับตำรวจได้นั่นเอง โดยเมื่อทำทั้งสองอย่างนี้เสร็จแล้ว ทางตำรวจก็จะดำเนินการโดยการเรียกให้คู่กรณีที่มีปัญหากันมาทำการพูดคุย หรือตกลงเจรจากันก่อน แต่หากคู่กรณีไม่มา หรือไม่ให้ความร่วมมือนั้น ก็จะเข้าสู่กระบวนการของศาลในการฟ้องหมิ่นประมาทออนไลน์ต่อไป

3. ค่าใช้จ่ายในการฟ้องหมิ่นประมาท

ปรึกษาทนาย ฟ้องหมิ่นประมาท
สำหรับค่าใช้จ่ายในการฟ้องหมิ่นประมาทนั้น ก็จะมาจากการจ้างทนาย หรือการแต่งตั้งทนายให้ส่งฟ้องนี้ต่อศาล ซึ่งค่าใช้จ่ายของทนายแต่ละคนนั้นก็จะไม่เท่ากัน ซึ่งก็จะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของของการเตรียมคดี หรือรายละเอียดของคดี แต่เบื้องต้นนั้นก็จะมีเรื่องของค่าปรึกษา ค่าเดินทาง รวมไปถึงค่าเขียนคู่ความต่าง ๆ ด้วยนั่นเอง

4. การเรียกค่าสินไหมทดแทน

การฟ้องหมิ่นประมาทออนไลน์นั้นสามารถเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ ซึ่งการเรียกค่าสินไหมนี้ทางศาลก็จะพิจารณาตามอาชีพ อายุ ที่ทำให้ผู้ถูกหมิ่นประมาทนั้นเกิดความสูญเสียชื่อเสียงซึ่งก็ขึ้นอยู่กับแล้วแต่บุคคล

ดังนั้นการรับมือกับเกรียนคีย์บอร์ดเหล่านี้ถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมาก ซึ่งก็จะทำให้คุณนั้นสามารถที่จะรู้ได้เท่าทัน และเตรียมการได้ล่วงหน้า และที่สำคัญเบื้องต้นหากพบเกรียนคีย์บอร์ดผ่านมาทางช่องทางออนไลน์ของเรานั้น การมีสติก่อนเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ๆ ซี่งหากเขาคนนั้นยังไม่หยุด และสร้างความไม่สบายใจให้แก่ตัวคุณนั้น เรื่องของกฎหมายก็สามารถเริ่มใช้ได้เลย
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow