ตำนาน Pride Month จากจราจลสโตนวอลล์สู่สิทธิเพื่อ LGBTQ ทั่วโลก

ตำนาน Pride Month จากจราจลสโตนวอลล์สู่สิทธิเพื่อ LGBTQ ทั่วโลก

By Krungsri Plearn Plearn
เดือนมิถุนายนของทุกปีคือเทศกาลแห่งความปังของชาว LGBTQ+ หรือวันของ LGBTQ+ นั่นเอง เป็นเดือนแห่งความภาคภูมิใจที่ทุกคนจะได้เฉิดฉายในแบบที่เป็นตัวเอง ไม่ต้องแคร์เรื่องเพศสภาพ แถมยังเป็นการประกาศให้โลกรู้ว่าทุกเพศเท่าเทียมกัน ซึ่งเราเรียกเดือนนี้กันว่า Pride Month นั่นเอง โดยในเมืองใหญ่ ๆ ของโลกจะมีการจัดงานตั้งแต่วันที่ 1 - 30 มิถุนายน วันนี้ น้องเพลินเพลิน ขอพาทุกคนมาย้อนดูอดีตว่าจุดเริ่มต้นของ Pride Month คืออะไร และจุดเริ่มต้นของ Pride Month เป็นอย่างไร?

ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่เริ่มเปิดใจรับเรื่องความหลากหลายทางเพศมากขึ้น แม้แต่คนดังหลายคนก็ออกมาประกาศตัวว่าความรักไม่มีข้อจำกัดเรื่องเพศ แถมยังมีคู่รัก LGBTQ+ ให้เห็นกันอย่างเปิดเผย โดยไม่มีข้อจำกัดว่าจะต้องเป็นคู่ชาย-หญิงเท่านั้น

ตัวอย่างบุคคลที่มีชื่อเสียง

ประกาศตัวเป็นคู่รักไม่จำกัดเพศ giorgio armani

Giorgio Armani ดีไซน์เนอร์เครื่องต่างกายชื่อดัง

ประกาศตัวเป็นคู่รักไม่จำกัดเพศ tim cook

Tim Cook ผู้บริหารของ Apple

ประกาศตัวเป็นคู่รักไม่จำกัดเพศ kristen stewart

Kristen Stewart นักแสดงชื่อดังจากภาพยนตร์ The Twilight Saga

นอกจากนี้สังคมก็ยังเปิดกว้างขึ้น ประเทศไทยก็มีการออกกฎหมายเพื่อให้สิทธิของคนทุกเพศมากขึ้นด้วยนะ เช่น พระราชบัญญัติความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ. 2558 ในมาตรา 3 ได้มีการกำหนดความหมาย การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมระหว่างเพศที่รวมทั้งในเพศชาย เพศชายหญิง และการแสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกำเนิด ทำให้ทุกเพศมีความเท่าเทียมกัน และตอนนี้สังคมไทยก็มีถึงจุดที่กำลังผลักดันกฎหมายการสมรสเท่าเทียม เพื่อให้สิทธิให้กลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้มีสถานะเทียบเท่ากับคู่สมรสชายหญิง

จะเห็นได้ว่ากว่าที่กลุ่ม LGBTQ+ จะเรียกร้องสิทธิความเสมอภาคต่อสังคมให้มาถึงจุดที่สามารถจัดงาน Pride Month แบบทุกวันนี้ได้นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย จะต้องผ่านการต่อสู้และการเรียกร้องมากมาย รูปแดร๊กควีน หรือรูปผู้ชายที่แสดงออกว่าเป็นเกย์

กว่าจะปั๊วปังขนาดนี้ Pride Month เริ่มต้นแค่จากบาร์เล็ก ๆ ใน New York

ก่อนโลกจะเปิดรับความหลากหลายทางเพศอย่างทุกวันนี้ ช่วงก่อนศตวรรษที่ 21 โลกของเรามองเรื่องเพศแบบ "ขาว-ดำ" แบ่งคนเป็น 2 เพศเท่านั้น คือ ชายกับหญิง ใครไม่ได้อยู่ในกรอบ และบรรทัดฐานของสังคมนี้ก็จะถูกมองเป็นเรื่องแปลกประหลาด เป็นเรื่องผิด ชาว LGBTQ+ ในยุคที่ผ่านมาจึงต้องใช้ชีวิตอย่างหลบ ๆ ซ่อน ๆ

แต่ในปี 1966 กลุ่มจีโนวิส ผู้ทรงอิทธิพลในอเมริกา มองเห็นโอกาสทางธุรกิจในกลุ่ม LGBTQ+ ที่ยังไม่มีใครสนใจ พวกเขาซื้อ “Stonewall Inn” มาแปลงโฉมเป็นบาร์เกย์สุดปังในปี 1967 กลายเป็นแหล่งรวมตัวของชาวหลากหลายทางเพศแห่งแรก ๆ เป็นจุดเริ่มต้นของการเปิดตัวสู่แสงสว่างของชาว LGBTQ+

แต่ถึงอย่างนั้น ด้วยความที่สังคมในสมัยนั้นยังไม่ได้เปิดกว้าง การไปเที่ยวผับหรือบาร์เกย์ในสมัยนั้นจึงเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงรอบด้าน หากถูกจับได้ว่าเป็น LGBTQ+ ก็อาจจะโดนไล่ออกจากงาน แถมยังทะเลาะกับที่บ้านอีกต่างหาก ขนาดกฎหมายยังไม่เข้าข้างเลยนะ บางรัฐในยุค 1960 ถึงขั้นห้ามบาร์เทนเดอร์ขายเหล้าให้ชาว LGBTQ+ เลยด้วยซ้ำ โดยให้นำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาที่ร้านเอง เรียกได้ว่า ชาว LGBTQ+ แค่จะเที่ยวแต่ละทีก็ลำบาก แถมยังกลายเป็นเป้าของตำรวจฉวยโอกาสบางกลุ่มที่เข้ามาตรวจค้นเป็นว่าเล่น รีดไถเงินชาว LGBTQ+ อยู่บ่อยครั้ง

แล้ววันที่จะถูกจารึกในประวัติศาสตร์ของชาว LGBTQ+ ก็มาถึง!

ในวันที่ 28 มิถุนายน 1969 จู่ ๆ ตำรวจก็ยกพลบุก Stonewall Inn แบบจัดเต็ม ทั้งในและนอกเครื่องแบบ พร้อมกับภารกิจตรวจเพศคนที่มาเที่ยว ใครแต่งตัวไม่ตรงเพศก็โดนจับ งานนี้ทำเอาชาว LGBTQ+ เดือดปุด ๆ คนที่ไม่ได้ถูกจับก็รวมตัวประท้วงหน้าร้านกัน

เมื่อข่าวเรื่องตำรวจใช้ความรุนแรงแพร่กระจายออกไป คนก็ยิ่งแห่กันมามากขึ้น เหล่าแม่ ๆ แดร็กควีนนำทีมตะโกนโห่ใส่ตำรวจ เพราะคิดว่าไม่มีอะไรจะเสียแล้ว ปาข้าวของใส่กันวุ่นวาย จนกลายเป็นจลาจลครั้งใหญ่!

การปะทะกับตำรวจในวันนั้นทำให้สังคมเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายทางเพศ และผลักดันให้เกิดความเท่าเทียมขึ้นมา จนกลายเป็นที่มาของ Pride Month ที่จัดขึ้นทุกปี เพื่อรำลึกถึงเหตุการณ์ Stonewall Inn ที่เป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง
pride month เพื่อรำลึกเหตุการณ์ stonewall

Pride Month แค่จุดสตาร์ท แต่ชาว LGBTQ+ ต่อสู้เพื่อสิทธิมาอย่างต่อเนื่อง!

หลังจากเหตุการณ์ Stonewall Inn บาร์เกย์เล็ก ๆ ที่เป็นจุดเริ่มต้นของ Pride Month การเรียกร้องความเสมอภาคทางเพศมีอย่างต่อเนื่องและทำให้เกิดการปรับปรุงแนวทางของการใช้กฎหมายเพื่อรองรับสิทธิของกลุ่ม LGBTQ+ ให้มากขึ้น อย่างในหลาย ๆ ประเทศในยุโรปก็ได้มีการต่อต้านการบำบัดแก้เพศวิถี (การเปลี่ยนให้ความรู้สึกตรงกับเพศกำเนิด) ซึ่งถูกมองว่าลิดรอนสิทธิมนุษยชน

ส่วนในประเทศไทยก็มีการรณรงค์การแก้กฎหมายจากคำว่า สามี-ภรรยา ที่บ่งบอกเพศอย่างชัดเจน เป็นคำว่า คู่สมรส เพื่อให้สามารถครอบคลุมกับกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศได้

แจก 3 พิกัดกิจกรรมเด็ด Pride Month 2024 ในไทย ห้ามพลาด!

ประเทศไทยถือว่าเป็นหนึ่งในจุดหมายการท่องเที่ยวของชาว LGBTQ+ ทั่วโลก เนื่องจากเป็นประเทศที่เปิดกว้างในเรื่องความหลากหลายทางเพศ มีความเป็นมิตรต่อทุกเพศทุกวัย มีแหล่งท่องเที่ยว ผับ บาร์ ที่ให้บริการเฉพาะกลุ่ม LGBTQ+ อีกด้วย

ดังนั้นการจัดกิจกรรม Pride Month ในประเทศไทยจึงเป็นงานที่หลาย ๆ คนเฝ้ารอคอย เพราะงานที่จัดในประเทศไทยมีความสนุกและไม่เคยทำให้ใครผิดหวัง โดยปีนี้จะมีธีมการจัดงานเกี่ยวกับการสมรสเท่าเทียม ซึ่งมีกิจกรรมที่น่าสนใจมากมาย เช่น

Bangkok Pride Parade 2024

เป็น Highlight ของ Pride Month ที่จะมีการเดินพาเหรดเพื่อให้ทุกคนสามารถนำเสนอความคิดเกี่ยวกับการสมรสเท่าเทียมของตัวเองอย่างสร้างสรรค์ โดยมี 5 ขบวน ได้แก่ การสมรสเท่าเทียม ตัวตน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สันติภาพ เสรีภาพ โดยขบวนจะเริ่มจากสนามกีฬาแห่งชาติไปถึงถนนราชประสงค์

Bangkok Pride Forum

จะมีเวทีสัมมนาให้เราได้ร่วมรับฟังและออกความเห็น เรียกว่าเป็นช่วงเวลาของความรู้และงานวิชาการของ Pride Month เลยก็ว่าได้ เพื่อผลักดันให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ปลอดภัยสำหรับคนทุกเพศ

Drag Bangkok Festival 2024

เป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่จะมีขบวนศิลปินแดร็กไทยและต่างประเทศมาร่วมขบวนกับ Bangkok Pride Parade 2024 ซึ่งจะมาในธีม I got the Power
bangkok pride moth 2024

แม้จะได้รับการยอมรับมากขึ้น แต่ก็ยังคงมีความท้าทายอีกมาก

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันโลกของเราได้เปลี่ยนไปมาก คนจำนวนมากได้เริ่มยอมรับในเรื่องความหลากหลายทางเพศมากยิ่งขึ้น จนสามารถจัดงาน Pride Month แบบนี้ได้ แต่ก็ยังพบเห็นความไม่เท่าเทียมจนถึงการใช้ความรุนแรงอยู่บ่อยครั้ง ตัวอย่างเช่น ประเทศไทยในหลาย ๆ ครั้งก็ยังพบว่าโอกาสต่าง ๆ ในหน้าที่การงานนั้นก็ยังไม่มีความเท่าเทียม และในบางสังคมที่ยังยึดถือจารีตประเพณีก็ยังมีการกีดกันกลุ่มคนที่ยังเป็น LGBTQ+

นอกจากนี้เราอาจจะได้เห็นข่าวต่าง ๆ ที่มีคนรุมทำร้ายชาว LGBTQ+ จากความหวาดกลัว ความไม่ชอบ และความเกลียดชังอีกหลาย ๆ ครั้ง รวมไปถึงการใช้ข้อความที่สร้างความเกลียดชังต่อชาว LGBTQ+ ในโลกออนไลน์และแม้กระทั่งในชีวิตประจำวัน

สรุป

อย่างไรก็ตาม ทุกคนควรมีสิทธิ์ที่จะรักและใช้ชีวิตกับคนที่ตนเองรักอย่างมีความสุข ปลอดภัย และเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะรักใคร หรือเป็นใคร ธนาคารกรุงศรีเอง เราก็ให้เกียรติความเท่าเทียมและความหลากหลาย พร้อมสนับสนุนทุกความฝันของชาว LGBTQ+ ไม่ว่าจะเป็นฝันเรื่องครอบครัว อนาคตที่สดใสกับคนรู้ใจ หรือเรื่องบ้าน ด้วยผลิตภัณฑ์ “สินเชื่อบ้านกรุงศรีสำหรับคู่เพื่อนที่ต้องการใช้ชีวิตร่วมกัน” ที่คู่รักชาว LGBTQ+ สามารถใช้สานฝันมีบ้านร่วมกันได้

สุดท้ายน้องเพลินเพลินอยากย้ำอีกครั้งว่า “ความรักเป็นสิ่งสวยงาม และเราทุกคนมีสิทธิ์ที่จะรักอย่างเท่าเทียม”
 
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow