อยากลาออกจากงานแต่ไม่กล้า รับมืออย่างไรเมื่อเปลี่ยนงานบ่อย

อยากลาออกจากงานแต่ไม่กล้า รับมืออย่างไรเมื่อเปลี่ยนงานบ่อย

By Krungsri Plearn Plearn

เปลี่ยนงานบ่อย ๆ คนก็ชอบตั้งข้อสังเกตว่าคุณต้องมีปัญหาอะไรสักอย่าง แต่ที่จริงแล้วยังมีเหตุผลอีกมากมายที่คนเราไม่ควรจมอยู่กับงานเดิม ๆ แล้วอะไรบ้างล่ะที่คนมักเข้าใจผิดเกี่ยวกับคนที่เปลี่ยนงานบ่อย เรามาทำความเข้าใจกันใหม่ดีกว่า

ใกล้จะสิ้นปีแล้ว หลาย ๆ คนก็คงกำลังรอที่จะเริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ กันอย่างใจจดใจจ่อใช่ไหมล่ะ โดยเฉพาะหลังช่วงสิ้นปีไปก็มักจะเข้าสู่มหกรรมย้ายงานกันอย่างเต็มตัว ที่เป็นอย่างนี้ก็เพราะช่วงปีใหม่เป็นช่วงที่หลาย ๆ อย่างเข้าสู่ “การขึ้นรอบใหม่” ไม่ใช่แค่วันเวลา แต่ยังรวมถึงรอบการจ่ายโบนัส การปรับผังองค์กร ขยับขยายแผนก การโยกย้ายถิ่นที่อยู่ ฯลฯ ทำให้หลาย ๆ คนเล็งช่วงเวลานี้เอาไว้ เพื่อเริ่มต้นงานใหม่ด้วยเช่นกัน แต่น่าเสียดายที่หลายครั้ง คนที่เปลี่ยนงานบ่อยกลับถูกสังคมภายนอกตัดสินว่าเป็นคนมีปัญหา จนบางคนไม่กล้าเปลี่ยนงาน ยอมทนทำที่เดิมไปเรื่อย ๆ จนพลาดโอกาสดี ๆ ในชีวิตไป ถ้าอย่างนั้น เราลองมาดูกันดีกว่าว่า ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเปลี่ยนงานบ่อยเหล่านั้นมีอะไรบ้าง และเรามองให้ต่างไปได้อย่างไรบ้าง

1. ความเข้าใจผิดของการเปลี่ยนการบ่อย : ชอบก่อปัญหาล่ะสิ ถึงอยู่ได้ไม่นาน

ความจริง: ต้องการเปลี่ยนงานเพื่อความก้าวหน้าในสายงาน
คนเปลี่ยนงานบ่อย มักถูกตั้งข้อสังเกตว่ามีปัญหากับที่เดิมแน่ ๆ ถึงไม่ยอมอยู่ที่ไหนนาน ๆ ทั้งที่จริงแล้ว คนส่วนใหญ่เปลี่ยนงานโดยไม่จำเป็นต้องทะเลาะกับเพื่อนร่วมงานเลย แต่การทำงานที่บริษัทเดิม ทำตำแหน่งเดิม อยู่กับที่เดิม ๆ อาจทำให้คุณรู้สึกเฉื่อยชา ไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ เพื่อนร่วมงานทีมเดิม หัวหน้างานคนเดิม หากพวกเขาไม่ขยันพัฒนาตนเองเสมอ คุณเองก็อาจจะได้รับอิทธิพลการใช้ชีวิตเรื่อย ๆ ตามไปด้วย เพราะเหตุนี้แหละที่เราควรเปลี่ยนงานเพื่อแสวงหาความก้าวหน้าในชีวิต ลองหาทีมใหม่ ประสบการณ์ใหม่ ความท้าทายใหม่ที่จะทำให้คุณเก่งและแข็งแกร่งขึ้น ได้ค้นพบจุดยืนของตนเอง ดังบทความเรื่อง 10 เหตุผลที่คนประสบความสำเร็จมักเปลี่ยนงานบ่อยของ Forbes ที่ได้กล่าวไว้เช่นกัน
ถ้ารู้ตัวว่าสุดเพดานของบริษัทเดิมแล้ว อย่าลังเล รีบเปลี่ยนงานหรือย้ายบริษัทใหม่ได้แล้วล่ะครับ เพื่อความก้าวหน้าในสายงานของตัวคุณเอง

2. ความเข้าใจผิดของการเปลี่ยนการบ่อย: สู้งานหนักไม่ไหว สงสัยไม่อึด

ความจริง: การเปลี่ยนงานคือทางลัดในการอัพเงินเดือน
ความรู้สึกภักดีต่อองค์กรหรือบริษัทนั้นเป็นสิ่งที่ดี การสู้งานและพยายามสร้างผลงานดี ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่การคิดว่า ความทุ่มเทอย่างหนักหน่วงจะทำให้ฐานเงินเดือนของคุณเติบโตในระยะเวลาอันสั้นนั้นอาจไม่จริงเสมอไป แท้จริงแล้ว การเปลี่ยนงานนี่แหละคือ วิธีในการปรับฐานเงินเดือนให้เติบโต รวดเร็วกว่าการปรับฐานเงินเดือนประจำปี มีหลายคนที่ยอมเปลี่ยนงานทั้ง ๆ ที่ยังรู้สึกดีกับที่ทำงานเก่าอยู่ ทั้งบรรยากาศการทำงาน เพื่อนร่วมงาน การเดินทาง ทุกอย่างลงตัวหมดไม่ได้มีปัญหาอะไร การเปลี่ยนงานเพื่อให้ฐานเงินเติบโตนั้นจึงเป็นอีกหนทาง แต่อย่างน้อย ก็ควรบอกหรือแจ้งล่วงหน้าเพื่อให้บริษัทเก่าของเราหาคนได้ทันก่อนเราออกด้วยเนอะ

3. ความเข้าใจผิดของการเปลี่ยนการบ่อย: เดี๋ยวไม่นานก็คงลาออกอีก

ความจริง: เปลี่ยนงานเพื่อให้ Work Life Balanceดีขึ้น
ความรู้สึกภักดีต่อองค์กรหรือบริษัทนั้นเป็นสิ่งที่ดี การสู้งานและพยายามสร้างผลงานดี ๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญ แต่การคิดว่า ความทุ่มเทอย่างหนักหน่วงจะทำให้ฐานเงินเดือนของคุณเติบโตในระยะเวลาอันสั้นนั้นอาจไม่จริงเสมอไป แท้จริงแล้ว การเปลี่ยนงานนี่แหละคือ วิธีในการปรับฐานเงินเดือนให้เติบโต รวดเร็วกว่าการปรับฐานเงินเดือนประจำปี มีหลายคนที่ยอมเปลี่ยนงานทั้ง ๆ ที่ยังรู้สึกดีกับที่ทำงานเก่าอยู่ ทั้งบรรยากาศการทำงาน เพื่อนร่วมงาน การเดินทาง ทุกอย่างลงตัวหมดไม่ได้มีปัญหาอะไร การเปลี่ยนงานเพื่อให้ฐานเงินเติบโตนั้นจึงเป็นอีกหนทาง แต่อย่างน้อย ก็ควรบอกหรือแจ้งล่วงหน้าเพื่อให้บริษัทเก่าของเราหาคนได้ทันก่อนเราออกด้วยเนอะ
แต่ไม่ว่าจะเปลี่ยนงานด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่ ยังไงก็อย่าลืมคำนึงถึง 2 เรื่องนี้ด้วยนะครับ เรื่องแรกคือ เด็กจบใหม่ที่ยังไม่มีประสบการณ์เท่าที่ควร ไม่ควรเปลี่ยนงานบ่อย ๆ เพราะถือว่าอยู่ในช่วงที่กำลังเก็บเกี่ยวความรู้ เพิ่มความสามารถให้กับตัวเองให้ถึงที่สุดอยู่ ดังนั้นอย่าเพิ่งใจร้อนที่จะเปลี่ยนงาน ลองเรียนรู้และสะสมประสบการณ์ไปก่อนดีกว่า
และอีกเรื่องคือ คนที่ทำงานมาหลายสิบปี จนเรียกง่าย ๆ ว่าใกล้เกษียณก็ไม่ควรเปลี่ยนงานเด็ดขาด เพราะเป็นวัยที่มีความเสี่ยงในชีวิตค่อนข้างสูง เนื่องจากมีอายุที่มากแล้ว จะทำงานทำการหรือปรับเปลี่ยนตัวเองก็คงไม่รวดเร็วเหมือนเด็กวัยรุ่น แถมค่าจ้างต่อเดือนยังสูงลิ่วไปตามประสบการณ์อีก ใครจะจ้างก็ต้องคิดมากหน่อย เพราะแบบนี้แหละถึงไม่ควรปล่อยให้ตัวเองหลุดจากตำแหน่งเด็ดขาด

วางแผนการเงินให้ดี เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนงานแบบกะทันหัน


หลังจากที่เข้าใจถึงเหตุผลที่ทำให้คนเราควรเปลี่ยนงานกันไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทีนี้เพื่อน ๆ ก็ต้องหันกลับมามองตัวเองสักนิดนึงว่าเรามีโอกาสที่จะเปลี่ยนงานมากน้อยแค่ไหน ซึ่งบางคนไม่ถนัดหางานใหม่ไปด้วย และทำงานประจำไปด้วย ก็อาจจะวางแผนลาออกจากงานมาพักผ่อนก่อนสัก 1 อาทิตย์แล้วค่อยลงมือหางานใหม่ หรือที่ทำงานใหม่อาจให้เงินเดือนน้อยลงในขณะที่ยังไม่ผ่านโปร ซึ่งระหว่างนี้ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของเราก็จะยังคงเท่าเดิม ทำให้เรื่องของการวางแผนการเงินนั้นเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามก่อนที่จะเปลี่ยนงาน ทางที่ดีแนะนำว่าก่อนที่จะเปลี่ยนงานพยายามเก็บเงินให้เพียงพอกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันช่วงระหว่างหางานนี้ให้อยู่ไปได้แบบชิล ๆ สัก 2-3 เดือนก่อน แล้วค่อยตัดสินใจลาออกจากงานหรือเปลี่ยนงานใหม่ ไม่อย่างนั้นถ้าเราหางานใหม่ไม่ได้สักที ค่าใช้จ่ายที่ประดังเข้ามาก็อาจทำให้เราต้องไปกู้หนี้ยืมสินคนอื่นเอาได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับเราในภายหลังนั่นเองครับ
ทางที่ดีแนะนำว่าพยายามเก็บเงินให้พอมีใช้จ่ายในชีวิตประจำวันช่วงระหว่างหางานนี้ไปได้แบบชิล ๆ สัก 2-3 เดือนก่อน แล้วค่อยตัดสินใจลาออกจากงานหรือย้ายงานใหม่ ไม่อย่างนั้นถ้าเราหางานใหม่ไม่ได้สักที ค่าใช้จ่ายที่ประดังเข้ามาก็อาจทำให้เราต้องไปกู้หนี้ยืมสินคนอื่นเอาได้ ซึ่งจะเป็นการสร้างความเดือดร้อนให้กับเราในภายหลังนั่นเองครับ
สำหรับใครที่รู้สึกว่าตัวเองเก็บเงินไม่เก่ง กลัวว่าจะไม่มีเงินเหลือพอใช้ในยามฉุกเฉิน ก็แนะนำให้ศึกษาข้อมูลการเปิดเงินฝากออมทรัพย์แบบพิเศษของทางธนาคารกรุงศรีฯ ไว้เลย เพราะให้อัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากออมทรัพย์ทั่วไปสุด ๆ และช่วยให้การออมของเรากลายเป็นเรื่องง่าย ๆ เพิ่มเงินในบัญชีได้แบบติดจรวด คราวนี้จะเปลี่ยนงานเมื่อไหร่ก็สบายใจไประดับหนึ่งได้แล้วล่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow