ปัญหาการนอน ส่งผลต่อสมองมากกว่าที่คิด

ปัญหาการนอน ส่งผลต่อสมองมากกว่าที่คิด

By Krungsri Plearn Plearn
รู้หรือไม่? สิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่มีสมองต้องนอน เพราะการนอนเป็นสิ่งสำคัญ การนอนหลับไม่ใช่เพียงแค่การพักผ่อนเท่านั้น ในระหว่างการนอนจะเกิดกระบวนการซ่อมแซมของสมองและส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เรานอนหลับแต่สมองของเราไม่ได้หลับด้วย สมองจะอยู่ในโหมดของการพัก คลื่นสมองจะทำงานช้าลง แต่สมองจะทำการเก็บรวบรวม คัดแยก คัดกรอง แล้วก็จัดหมวดหมู่ของสิ่งที่เราได้พบเจอมาในแต่ละวันในช่วงเวลาที่เรานอนหลับนั่นเอง

คุณภาพการนอนสำคัญกว่าปริมาณการนอน

การนอนหลับนอกจากสมองจะทำการจัดหมวดหมู่ เก็บรวมรวมข้อมูลต่าง ๆ แล้ว สมองยังทำการกำจัดของเสียที่อยู่ในสมองออกไปด้วยเช่นกัน โดยปกติแล้วเวลาที่เซลล์ในสมองทำงานก็จะมีของเสียเกิดขึ้น เช่น เบต้าอะไมลอยด์ ที่พบในคนไข้ที่เป็นความจําเสื่อม เบต้าอะไมลอยด์ในสมองจะถูกกำจัดทิ้งในระหว่างการนอน หากเรานอนไม่ดี นอนไม่พอ สมองกำจัดของเสียได้ไม่หมดก็จะเกิดการสะสมของเบต้าอะไมลอยด์มากขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดโรคทางสมองต่าง ๆ ตามมา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของโรคสมองเสื่อม ความจําเสื่อม หรือโรคอื่น ๆ ที่เกิดจากการสะสมของเสียในสมอง ดังนั้นคุณภาพของการนอนจึงเป็นสิ่งสำคัญ ในส่วนของระยะเวลาในการนอนนั้น ในแต่ละคนก็ต้องการจำนวนชั่วโมงในการนอนไม่เท่ากัน บางคนนอน 8 ชั่วโมงคุณภาพการนอนไม่ดี ก็ต้องการเพิ่มระยะเวลาในการนอนมากขึ้นอาจจะเป็น 10 ชั่วโมงแต่ในระหว่างวันก็ยังรู้สึกง่วงนอน รู้สึกเหมือนนอนไม่พอ จะเห็นได้ว่าการนอนนานขึ้นนั้นไม่สามารถชดเชยประสิทธิภาพการนอนที่ดีที่สูญเสียไปได้ ในขณะที่บางคนนอนเพียง 6 ชั่วโมง แต่มีคุณภาพการอนอนที่ดีจะรู้สึกว่าตื่นนอนตอนเช้ามาแล้วสดชื่น ทำงานได้เต็มที่โดยที่ไม่มีความผิดปกติของการทำงาน ทำงานได้ทั้งวัน ไม่ง่วงนอนในระหว่างขับรถ เป็นต้น
ปัญหาการนอน ส่งผลต่อสมองมากกว่าที่คิด

99% ของการนอนไม่หลับเกิดจากพฤติกรรม

สาเหตุของการนอนไม่หลับหลัก ๆ เกิดจาก 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ เช่น อายุ และปัจจัยที่ควบคุมได้ ซึ่ง 99% ของปัจจัยที่ควบคุมได้เกิดจากพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวันของเรานั่นเองที่ทำให้เรานอนไม่หลับ แต่จะมีอะไรบ้างไปดูกัน

การใช้โทรศัพท์มือถือ ไอแพด หรือคอมพิวเตอร์ช่วงเวลาก่อนนอน

ทำให้เราเจอกับแสงสีฟ้าซึ่งเป็นสาเหตุให้เมลาโทนินในร่างกายไม่หลั่งเพราะเมลาโทนินจะหลั่งเมื่อไม่มีแสง ซึ่งเมลาโทนินเป็นฮอร์โมนที่ร่างกายสร้างขึ้นเพื่อช่วยกระตุ้นให้ร่างกายนอนหลับ อีกทั้งร่างกายเองจะสามารถนอนหลับได้ดีในสภาวะที่ไม่มีแสงเช่นกัน

การออกกำลังกาย ช่วงใกล้เวลาเข้านอน

ร่างกายจะเกิดการตื่นตัว ทำให้นอนหลับยากขึ้น เราอาจจะนอนหลับเพราะความเพลียจากการออกกำลังกาย แต่โครงสร้างการนอนจะไม่ดี เราจะนอนหลับไม่ลึก นอนได้ไม่ต่อเนื่อง

ทานอาหารมื้อหนักก่อนนอน

เพราะการทานอาหารหนักเกินไปกระเพาะเราจะทํางานหนัก แล้วอาจเกิดกรดไหลย้อน ทำให้นอนยากขึ้น รวมถึงการทานคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โกโก้ ก่อนเข้านอนด้วยเช่นกัน

โรคทางการนอนหลับ

เช่น โรคนอนไม่หลับ โรคหยุดหายใจขณะนอนหลับ โรควิตกกังวล ความเครียด โรคซึมเศร้า หรือว่าจะเป็นโรคทางกาย เช่น โรคเบาหวาน โรคต่อมลูกหมากทำให้นอนหลับยาก เพราะตื่นมาปัสสาวะบ่อย ความดันโลหิตสูง ความอ้วน และอีกหลาย ๆ โรค
ปัญหาการนอน ส่งผลต่อสมองมากกว่าที่คิด

ทำอย่างไรให้นอนดี

การที่จะทำให้นอนดี มีสุขลักษณะการนอนที่ดี เริ่มต้นได้ง่าย ๆ เพียงแค่ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่า 99% ของการนอนไม่หลับเกิดจากพฤติกรรม ดังนั้นการจะทำให้นอนหลับให้ดีก็ต้องปรับที่พฤติกรรมเช่นกัน แต่จะทำอย่างไรบ้างไปติดตามกันเลย

กำหนดเวลาตื่นนอนในเวลาเดียวกันทุกวัน

จะทำให้เราเข้านอนในเวลาเดียวกันทุกวันได้ เพราะร่างกายเรามีนาฬิกาชีวิตซึ่งร่างกายเราจะเริ่มเซ็ตเวลาตั้งแต่เราตื่นนอน

การออกกำลังกาย

ควรออกกำลังกายในช่วงเช้า หรือถ้าจะออกกำลังกายตอนเย็นก็ควรออกกำลังกายให้เสร็จก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3 ชั่วโมง

หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนัก

ก่อนเวลาเข้านอนอย่างน้อย 3-4 ชั่วโมง

ไม่เข้านอนหากยังไม่ง่วง

เพราะยิ่งพยายามจะยิ่งทำให้นอนไม่หลับ หากเริ่มง่วงแล้วถึงจะเข้านอน

บรรยากาศในห้องนอน

ต้องมืด เงียบ และเย็นสบายแบบพอดี

ไม่ควรทำกิจกรรมอื่น ๆ ในห้องนอน

เช่น ดูซีรีส์ ทานขนม เล่มเกมส์ เป็นต้น
การนอนไม่หลับ นอนไม่พอ นอนไม่มีคุณภาพ หรือแม้กระทั่งนอนมากเกินไปอาจไม่ใช่เรื่องปกติที่ควรจะเป็น เพราะปัญหาการนอนนั้นส่งผลต่อสุขภาพสมอง สุขภาพร่างกาย รวมถึงสภาพจิตใจอีกด้วย โรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นอาจเป็นผลมาจากปัญหาการนอนของคุณก็เป็นได้ หากคุณอยากรู้ว่า นอนไม่หลับ...แบบไหนเป็นโรคนอนไม่หลับ และทุกปัญหาการนอนไม่ว่าจะนอนไม่หลับ นอนไม่พอ นอนเกินพอดีนั้นส่งผลต่อสมองและร่างกายของคุณอย่างไรอีกบ้าง หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถติดตามชมได้ในคลิปวิดีโอด้านล่างนี้

 
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow