ความจำเป็นของแต่ละคนที่ตัดสินใจซื้อรถนั้นแตกต่างกัน เช่น
- ซื้อรถมาใช้กับการทำงาน เช่น ฟรีแลนซ์ นักขายขับรถไปพบลูกค้าและขับไปทำงานที่ต่างจังหวัด คนค้าขายหรือเกษตรกรขนของไปวางขายที่ตลาด
- ซื้อรถมาเพื่อสร้างรายได้ เช่น ปล่อยเช่า ใช้รับส่งนักเรียน
- บางพื้นที่ระบบขนส่งสาธารณะยังเข้าไม่ถึง ก็จะต้องซื้อรถเพื่อใช้เดินทางในชีวิตประจำวัน
ความจำเป็นที่จะซื้อรถควรสอดคล้องกับเงินในกระเป๋าและเงินที่เราจะได้รับในอนาคตด้วย เพราะรถยนต์ 1 คันนั้นไม่ได้มีแค่ค่าผ่อนรายเดือนเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีค่าใช้จ่ายจิปาถะอีกมากมายที่หลายคนอาจจะมองข้ามไป อย่างค่าดาวน์รถ ดอกเบี้ยรถใหม่กรณีที่เรากู้ หรือค่าซ่อมบำรุงต่าง ๆ รวมถึงความกังวลว่า เราจะผ่อนรถไหวไหม เรามีรายจ่ายอะไรบ้างและจะแก้ไขความกังวลได้อย่างไร ลองติดตามข้อมูลดี ๆ ได้จากบทความนี้เลย
เราจะแบ่งค่าใช้จ่ายออกเป็น 2 รูปแบบ คือ รายจ่ายประจำและรายจ่ายทั่วไป
1. รายจ่ายประจำ
เป็นรายจ่ายที่เราต้องจ่ายทุกเดือนหรือทุกปี
ค่าผ่อนรถรายเดือน เป็นรายจ่ายก้อนใหญ่ที่เราจะต้องจ่ายทุกเดือนและหักเงินดาวน์รถออกไปแล้ว จำนวนเงินผ่อนในแต่ละเดือนนั้นจะคิดแบบอัตราดอกเบี้ยคงที่ คือ เงินต้นรวมกับดอกเบี้ยรถใหม่แล้วหารจำนวนเดือนที่จะผ่อน อย่าพึ่งมึนกับตัวเลขเพราะตอนนี้มีโปรแกรมช่วยเราคิดให้แล้ว
ตัวอย่าง เราต้องการซื้อรถคันใหม่ราคา 600,000 บาท มีเงินดาวน์รถ 300,000 บาท ผ่อน 60 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5% เราก็ใส่ตัวเลขลงในโปรแกรมแล้วกด “เริ่มคำนวณ” ข้างล่างจะเป็นตัวเลขยอดจัดเช่าซื้อ (กู้ยืมเงิน) 300,000 บาท ผ่อน 60 เดือน ๆ ละ 6,250 บาท
คำนวณได้ที่:
เครื่องมือคำนวณสินเชื่อรถยนต์
ช่วงนี้หลายคนอาจจะเห็นโปรโมชัน “ดาวน์น้อยผ่อนนาน” มาเป็นตัวกระตุ้นให้เราอยากซื้อรถ เพราะวางเงินดาวน์รถและจ่ายรายเดือนน้อย ๆ ก็ได้รถมาขับแล้ว แต่ใจเย็น ๆ ก่อนนะคะ ลองดูตัวเลขในตารางข้างล่างนี้เราจะเห็นความน่ากลัวของดอกเบี้ยจ่ายทั้งหมด (ตัวสีแดง)
จากตัวอย่างเดิม : เปรียบเทียบการเช่าซื้อ (กู้ยืมเงิน) มากและน้อย โดยใช้เวลาผ่อน 60 เดือน
ถ้าใช้เงินดาวน์รถ 300,000 บาทและเช่าซื้อ (น้อย) 300,000 บาท เราเสียดอกเบี้ยทั้งหมด 75,000 บาท
ถ้าใช้เงินดาวน์รถ 50,000 บาทและเช่าซื้อ (มาก) 550,000 บาท เราเสียดอกเบี้ยทั้งหมด 137,540 บาท
ความคุ้มค่าของรถญี่ปุ่นมีตั้งแต่การช่วยประหยัดน้ำมันมากที่สุด หรือใช้เครื่องยนต์ดีที่สุด อย่างรถ Mitsubishi Lancer หรือรถสปอร์ตนิสสันรุ่น GT-R ที่ใช้เครื่องยนต์แรงและดีระดับโลก อีกตัวอย่างหนึ่ง คือ ระบบเซนเซอร์ป้องกันการชนของโตโยต้า (Toyota Safety Sense) ที่มีเซนเซอร์ไวและแม่นยำ โดยใช้เซนเซอร์ถึง 2 ระบบ เพื่อสามารถให้เซนเซอร์ทำงานได้ทุกสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นยามอากาศไม่ดีหรือยามค่ำคืน
การเปรียบเทียบนี้จะทำให้รู้ว่า จากโปรโมชันที่ค่ายรถยนต์ออกมายั่วยวนใจเรานั้น ตอนแรกเราอาจจะรู้สึกดีที่ผ่อนจ่ายรายเดือนรวมกับดอกเบี้ยรถใหม่แล้วเป็นเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ แต่ความจริงแล้วเราควรดูภาพรวมว่า เราเสียเงินทั้งหมดเท่าไหร่ จะได้วางแผนการซื้อว่า จะใส่เงินดาวน์รถน้อยหรือมาก ผ่อนจ่ายสั้นหรือยาว
- รถทุกคันจะต้องมี พ.ร.บ. ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายทุกปี เป็นการทำประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 จ่ายปีละ 600 บาท
- รายจ่ายค่าต่อทะเบียน ค่าภาษีรถยนต์เป็นรายจ่ายที่จะต้องจ่ายทุกปี โดยมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 1,500-6,000 บาทต่อปี ขึ้นอยู่กับขนาดรถ ถ้ารถขนาดใหญ่ต้องเสียภาษีแพงขึ้น
- ประกันภัยรถยนต์ เป็นการโอนความเสี่ยงให้กับบริษัทประกันภัยรับผิดชอบ โดยมีให้เลือกประกันชั้น 1-3 ซึ่งรายละเอียดนั้นขึ้นอยู่กับโปรโมชันของแต่ละบริษัท ยิ่งรถมีราคาแพง ค่าเบี้ยประกันก็แพงเช่นกัน (จากตัวอย่างราคารถยนต์ 600,000 บาท ค่าเบี้ยประกันชั้น 1 ประมาณปีละ 15,000 บาท)
- ค่าเชื้อเพลิง (ค่าน้ำมัน, ค่าแก๊ส) ขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันในขณะนั้นและลักษณะการใช้งาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเฉลี่ยอยู่ที่ 3,000 บาทต่อเดือน
2. รายจ่ายทั่วไป
นอกจากเงินดาวน์รถและเงินผ่อนรวมกับดอกเบี้ยรถใหม่ที่เราต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือนแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษารถ ตกแต่งและอำนวยความสะดวกในการเดินทางต่าง ๆ เช่น ค่าเปลี่ยนยาง (ทุก 2 ปี หรือ 50,000 กิโลเมตร) เข้าศูนย์ตรวจสภาพรถยนต์ ค่าที่จอดรถ (ในห้างสรรพสินค้า, ออฟฟิศใจกลางเมือง) ค่าทางด่วน ค่าล้างรถ ค่าตกแต่งรถ ค่าปรับที่ทำผิดกฎจราจร เป็นต้น
เราจะผ่อนรถไหวไหม?
เมื่อเราเห็นตัวเลขค่าใช้จ่ายในการผ่อนรถแล้ว บางครั้งเกิดความรู้สึกว่าเราจะผ่อนไหวไหม เพราะมันต้องผ่อนต่อเนื่องกันหลายปี ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยรถใหม่ ถ้าอยากรู้ก็ต้องทดลองด้วยการ “ซ้อมออมเงิน” เราประมาณยอดหนี้คร่าว ๆ ว่าจะต้องจ่ายเดือนละเท่าไหร่ก็ซ้อมออมเท่านั้น เพื่อจะได้รู้ว่าตนเองจะปรับลักษณะการใช้ชีวิตให้เข้ากับจำนวนเงินที่น้อยลงได้หรือไม่ จะได้ไม่ต้องผ่อนจริงเจ็บจริง
ตัวอย่างเดิม: เราจะซื้อรถคันใหม่ราคา 600,000 บาท เช่าซื้อ (กู้เงินมาซื้อ) 300,000 บาท ผ่อน 60 เดือน อัตราดอกเบี้ย 5% ประมาณค่าใช้จ่ายรายเดือนเท่าไหร่
- ผ่อนเดือนละ 6,250 บาท รวมดอกเบี้ยรถใหม่เข้าไปแล้ว
- ค่าน้ำมันเดือนละ 3,000 บาท
- ค่า พ.ร.บ. + ค่าต่อทะเบียน + ค่าประกันภัยรถยนต์ จ่ายรายปีแต่เราเฉลี่ยเก็บรายเดือน เดือนละ 1,450 บาท
รวม: ประมาณค่าใช้จ่ายรายเดือน คือ 10,700 บาท (ยังไม่รวมรายจ่ายทั่วไป)
เราแยกบัญชีซ้อมออมเงินไว้ต่างหาก อาจจะเป็น “บัญชีออมทรัพย์ดอกเบี้ยสูง” เมื่อเงินเดือนเข้ามาปุ๊บก็สั่งโอนไปเก็บที่บัญชีนี้ทันทีเดือนละ 10,700 บาท สมมติว่าเราใช้เวลาซ้อม 1 ปีถึงจะปรับตัวกับเงินที่ใช้น้อยลงได้ ค่อยตัดสินใจซื้อรถ
การซ้อมออมเงินได้ประโยชน์ 2 เด้ง คือคือ
- เด้งที่ 1 เรามีเงินไปดาวน์รถเพิ่มขึ้น 10,700 x 12 = 128,400 บาท ทำให้เรากู้ยืมเงินน้อยลง และเสียดอกเบี้ยลดลงด้วย
- เด้งที่ 2 เวลา 1 ปีผ่านไป ราคารถที่เราอยากได้มันจะมีราคาลดลง ทำให้เราประหยัดเงินมากขึ้นอีกด้วย
เมื่อเราจำเป็นจะต้องซื้อรถ นอกจากหาข้อมูลของรถแล้วยังจะต้อง
ประมาณค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นด้วย เพื่อจะได้วางแผนการซื้อและซ้อมออมเงินเพื่อดาวน์รถ ผ่อนรถ ปรับวิธีการใช้ชีวิต และเตรียมความพร้อมก่อนการสร้างหนี้จริง