เก็บเงินอย่างไรให้ไปเที่ยวญี่ปุ่นได้ปีละ 2 ครั้ง

เก็บเงินอย่างไรให้ไปเที่ยวญี่ปุ่นได้ปีละ 2 ครั้ง

By Krungsri Society

ฝันอยากเที่ยวญี่ปุ่น แต่ไปแค่ปีละครั้งก็ยังไม่ฟิน
ลองหาวิธีวางแผนการออมให้ดี จะทำให้คุณมีโอกาสไปญี่ปุ่นถึงปีละสองครั้ง

ถ้าพูดถึงประเทศที่เขาว่ากันว่าชีวิตต้องไปเที่ยวสักครั้ง แน่นอนว่าหนีไม่พ้นการเที่ยวญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจและมีให้เที่ยวแบบทุกสไตล์ไม่ว่าจะธรรมชาติ เที่ยวเมือง เครื่องเล่นหรืออะไรบู๊ ๆ อย่างเล่นล่องแก่งก็สวยงามไม่ใช่เล่น ๆ เหมือนกัน ถ้าใครเคยได้ไปเกือบทุกคนต้องอยากจะกลับไปอีกแน่นอนเพราะเที่ยวครั้งเดียวยังไงก็ไม่หมด แค่ไม่กินร้านอาหารไม่ซ้ำก็สนุกแล้ว
ถึงแม้เดี๋ยวนี้ค่าตั๋วเครื่องบินจะไม่แพงเท่าไร แต่ว่ายังไงการไปเที่ยวครั้งหนึ่ง แน่นอนว่าต้องใช้เงินไม่น้อยอยู่เหมือนกัน... แล้วเราจะต้องเก็บเงินยังไงเพื่อไปเที่ยวญี่ปุ่นได้ปีละ 2 ครั้ง ?
การวางแผนเพื่อไปเที่ยว จริง ๆ แล้วก็ไม่ต่างจากการวางแผนการเงินโดยทั่วไปเท่าไร เราต้องมีการกำหนดเป้าหมายการเงินก่อน อย่างกรณีนี้คือ การที่เรากำหนดงบไปเที่ยว แล้วจากนั้นก็หาวิธีเพื่อที่ทำให้เป้าหมายเราประสบความสำเร็จ แล้วก็ประเมินทางเลือกว่าวิธีไหนเหมาะกับเรามากที่สุดและเป็นไปได้มากที่สุด
ก่อนอื่นเลยเมื่อเราเริ่มเก็บเงินเราต้องรู้ก่อนว่าการไปเที่ยวญี่ปุ่นครั้งหนึ่งใช้งบเท่าไร เดี๋ยวนี้การวางแผนทริปก็ทำได้ไม่ยาก แค่ลองค้นหาใน Google ว่า เที่ยวญี่ปุ่น pantip ก็ขึ้นมาเยอะแยะแล้ว พร้อมทั้งรีวิวร้านค้า ร้านอาหารที่ควรไป รวมถึงงบประมาณเลยก็ว่าได้ ถ้าสมมติว่าลองเลือกที่จะไป เที่ยวฮอกไกโดแบบประหยัด ด้วยงบประมาณสัก 50,000 บาท รวมค่าตั๋ว ค่าที่พักและกินอยู่ต่าง ๆ แล้วทั้งหมด
ซึ่งถ้าเราต้องการไปเที่ยวญี่ปุ่นปีละ 2 ครั้ง นั่นแปลว่าเรามีเวลาเก็บเงิน 6 เดือนต่อการไปเที่ยว 1 รอบโดยประมาณ ถ้าเอาแบบง่าย ๆ ไม่คิดอะไร เราก็เอา 50,000 มาหาร 6 ได้เลย เราก็จะรู้ว่าเราต้องออมเงินเดือนละ 8,333 บาท ง่าย ๆ ไม่คิดอะไร แล้วพอเก็บเงินได้ก็เอาไปฝากกับ บัญชีฝากออมทรัพย์มีแต่ได้ เพราะการออมเงินระยะสั้นไม่เหมาะกับการนำเงินไปลงทุนที่มีความเสี่ยง เพราะถ้านำเงินไปลงทุนในตลาดหุ้นที่มีความเสี่ยงสูง พอถึงเวลาที่เรากำหนดอาจไม่ได้ไปเที่ยวเพราะเงินลงทุนเราขาดทุนอยู่ก็เป็นไปได้
แต่ถ้าเรารู้สึกว่าการเก็บเงินเดือนละ 8,333 บาทดูเยอะเกินไปสำหรับเรา เราก็ต้องวางแผนเที่ยวให้ละเอียดขึ้น ตัวอย่างเช่น

1. วางแผนไปเที่ยวญี่ปุ่นของเราให้ประหยัดลง

อาจจะทำได้โดยการจองตั๋วเครื่องบินล่วงหน้านานหน่อย ถ้าเรามีการวางแผนที่ดีก็สามารถจองล่วงหน้าได้นาน เราก็จะประหยัดค่าตั๋วลงไปได้หรือการไปเที่ยวเองโดยไม่ผ่านทัวร์ แต่เราอาจจะต้องวางแผนการเดินทางเอง ถ้าเพื่อนในกลุ่มที่ไปด้วยกันยังไม่เคยมีใครไปเลย ก็จะแนะนำให้ไปกับทัวร์ก่อนในครั้งแรก แล้วครั้งอื่น ๆ ค่อยดำเนินการจัดการเองได้

2. วางแผนออมเงินใหม่

ถ้าเรารู้สึกว่าการเก็บเงินในแต่ละเดือนมากเกินไป เราอาจจะใช้วิธีการไปเที่ยวญี่ปุ่นโดยเก็บเงิน 12 เดือนต่อการเที่ยว 1 ครั้ง แล้วอีกครั้งหนึ่งที่เราจะไปก็อาจจะแบ่งโบนัสที่จะได้ในแต่ละปีเพื่อไปเที่ยวก็สามารถทำได้ เราก็จะเก็บเงินต่อเดือนน้อยลงจากเดิม 8,333 บาท จะเหลือ 4,167 บาท ก็ดูมีความเป็นไปได้มากขึ้น ซึ่งวิธีการออมเงินไม่มีอะไรตายตัว เราอาจจะไม่ได้มีรายได้เท่ากันทุกเดือน เดือนไหนมีมากเราก็ค่อยเก็บออมมากขึ้นตามไปด้วย

3. หารายได้เสริม

ถ้าพูดถึงเรื่องการวางแผนการเงิน การหารายได้เพิ่มเป็นเหมือนยาผีบอกที่จะช่วยทำให้การวางแผนง่ายขึ้น เป็นไปได้มากขึ้น เพราะว่าเรามีเงินออมที่เยอะขึ้น เราอาจจะทำโอทีเพิ่มเติมหลังเวลางาน หรือหารายได้เสริมจากการขายของช่วงเสาร์ อาทิตย์ ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลวเช่นกัน ชีวิตเราก็ง่าย ๆ ตรง ๆ ถ้าเราอยากจะได้อะไรมากขึ้น เราก็ต้องทำอะไรมากขึ้น ทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม ผลลัพธ์ถึงจะออกมาต่างกัน
การไปเที่ยวนับว่าเป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่ง ที่จะช่วยทำให้เรากลับมามีแรงทำงานได้ การทำงานเก็บเงินเป็นเรื่องที่สำคัญ แต่ความสุขระหว่างทางก็เป็นเรื่องที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน ถือว่าเป็นการให้รางวัลชีวิตตัวเองจากที่ทำงานมาอย่างเหน็ดเหนื่อยทั้งปี จริง ๆ แล้วการวางแผนเพื่อไปเที่ยวญี่ปุ่นเป็นเพียงตัวอย่างของการวางแผนการเงินรูปแบบหนึ่งเท่านั้น ยังสามารถเอาวิธีการประมาณนี้ไปประยุกต์ใช้ได้แทบจะทุก ๆ การวางแผนทางเงินเช่นกัน
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow