เชื่อไหมว่า จากข้อมูลสถิติสำนักทะเบียนราษฎร กรมการปกครอง ประมวลผลโดยกองพัฒนาข้อมูลและตัวชีวิตสังคม สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าคู่รักที่จดทะเบียนสมรสในปี 2560 - 2564 มีอัตราการหย่าร้างต่อการสมรสสูงขึ้นทุกปี โดยปี 2564 มีมากถึง 46%
และแน่นอนว่าหลังจากการหย่าร้าง ทุกคู่ก็จะต้องพบปัญหาที่ต้องรับผิดชอบร่วมกันต่อ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเรื่องลูก ความรู้สึกที่จะต้องเยียวยา และเรื่องที่สำคัญคือการจัดการทรัพย์สิน ตัวอย่างเช่น หลาย ๆ คู่ได้มีการซื้อบ้านร่วมกันแต่เลิกกันต้องเคลียร์ปัญหาสินเชื่อที่กำลังผ่อนร่วมกันกับทางธนาคาร
Krungsri The COACH ขอเป็นกำลังใจให้ทุกคนที่กำลังเผชิญปัญหาอยู่และพร้อมแนะนำข้อมูลดี ๆ ในการจัดการปัญหาเรื่องการซื้อบ้านร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนสามารถไปต่อและกลับมามีชีวิตที่มีความสุขอีกครั้ง
3 วิธีการจัดการปัญหาเรื่องบ้าน หลังเลิกรา เมื่อกู้ร่วมกันไว้
แม้ว่าความรักจะจบลงไปแล้ว แต่ความรับผิดชอบต่อภาระหนี้สินจากการผ่อนบ้านนั้นยังไม่หมด หลายคนอาจจะคิดไม่ตกว่าจะต้องทำอย่างไรกับบ้านที่อยู่ด้วยกัน ซึ่งเราสามารถจัดการได้ 3 วิธีดังนี้
ทางออกที่ 1: ขายบ้านและแบ่งทรัพย์สินกัน
สำหรับคู่รักที่ซื้อบ้านร่วมกัน แต่เลิกกัน หลายคู่อาจจะพูดคุยและตกลงกันว่า จะสิ้นสุดความสัมพันธ์จริง ๆ โดยไม่ต้องการให้มีภาระใด ๆ ในการผ่อนบ้านให้กังวลใจในอนาคตอีก หรือตกลงเรื่องการแบ่งทรัพย์สินไม่ลงตัว การขายบ้านและแบ่งเงินตามการผ่อนชำระที่ผ่านมาหรือแล้วแต่ตกลง ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง
โดยเราสามารถประกาศขายบ้านของเราให้กับผู้ที่สนใจเพื่อที่จะซื้อบ้านเราต่อได้ เมื่อมีผู้ที่สนใจ เราจะทำตามขั้นตอนของการซื้อขายบ้านด้วยการทำสัญญาซื้อขายบ้าน มีการวางเงินมัดจำ และทางผู้ที่ซื้อบ้านต่อจะต้องติดต่อกับทางธนาคารเพื่อประเมินราคาบ้านและขอสินเชื่อธนาคาร หลังจากนั้นจะทำการโอนกรรมสิทธิ์ ซึ่งทางผู้ซื้อที่อาจขอกู้สินเชื่อบ้านหรือซื้อสดก็จะได้รับบ้านไป ส่วนเราอาจจะได้รับเงินส่วนต่างจากค่าขายบ้านกับยอดหนี้คงเหลือ
ทางออกที่ 2: ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งต้องการเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านหลังนี้ต่อแต่เพียงผู้เดียว
2.1 ฝ่ายหนึ่งเต็มใจยกกรรมสิทธิ์ให้อีกฝ่าย โดยไม่ได้ต้องการส่วนที่เคยผ่อนชำระไปด้วยคืน หรือฝ่ายหนึ่งขายกรรมสิทธิ์ในส่วนที่เคยเป็นเจ้าของร่วมกันให้อีกฝ่าย โดยฝ่ายที่รับซื้อต่อมีเงินก้อนเพียงพอในการซื้อก็จะสามารถตกลงกันได้ว่าใครจะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านหลังนี้ต่อ และใครจะเป็นผู้ที่ต้องถูกถอนชื่อผู้กู้ร่วม
เรื่องนี้จะต้องมีการเจรจากันดี ๆ เมื่อเราตกลงกันได้แล้ว อาจทำสัญญายินยอมยกกรรมสิทธิ์ หรือสัญญาซื้อขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของผู้ขายตามแต่ที่ตกลงกันไว้เป็นหลักฐาน แล้วไปแจ้งธนาคารด้วยกันว่าจะถอนชื่อใครออก ซึ่งธนาคารจะพิจารณาฝ่ายที่จะต้องผ่อนบ้านต่อคนเดียวว่ามีความสามารถในการผ่อนต่อหรือไม่ โดยเบื้องต้น ยอดเงินที่ผ่อนนั้นจะต้องไม่เกิน 65% ของรายได้ (รวมภาระหนี้อื่น ๆ แล้ว)
ตัวอย่าง คู่รักเคยผ่อนบ้านด้วยกันเดือนละ 30,0000 บาท แต่เมื่อเลิกรากันไป จะต้องถอนชื่อของสามีออกแต่ภรรยามีรายได้เพียงเดือนละ 30,000 บาท ซึ่งรายได้นี้ไม่เข้าเกณฑ์ที่จะผ่อนต่อด้วยตัวเองได้ ธนาคารก็จะแนะนำว่าจะต้องหาคนอื่นมาใส่ชื่อให้เป็น
คนกู้ร่วม ซึ่งอาจจะต้องขอให้พ่อแม่หรือพี่น้องเข้ามาเป็นคนที่กู้ร่วมแทน
ในกรณีกลับกัน หากผู้ที่จะต้องผ่อนต่อมีรายได้สูง เช่น มีเงินเดือน 150,000 บาท สามารถผ่อนต่อด้วยตัวเองได้อย่างสบาย ก็จะสามารถถอนชื่อผู้กู้ร่วมและให้ผ่อนต่อเองได้
2.2 ฝ่ายหนึ่งขายกรรมสิทธิ์ในส่วนที่เคยเป็นเจ้าของร่วมกันให้อีกฝ่าย โดยฝ่ายที่รับซื้อไม่มีเงินก้อนเพียงพอ สามารถทำเรื่องขอสินเชื่อกับธนาคารได้ดังนี้
แจ้งถอนชื่อผู้กู้ร่วมและขอวงเงินสินเชื่อจากส่วนต่างบ้านที่ผ่อนชำระไปแล้วกับธนาคารเดิม ปกติเวลาที่เราผ่อนบ้านไปสักระยะหนึ่ง ยอดหนี้จะลดลง และตัวบ้านก็มีโอกาสที่จะราคาสูงขึ้น ซึ่งเงินส่วนต่างตรงนี้ที่เราสามารถกู้ออกมาใช้ได้ โดยทำสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของผู้ขายแล้วนำไปประกอบกับหนังสือการจดทะเบียนหย่า เพื่อไปแจ้งกับทางธนาคาร แล้วธนาคารจะพิจารณาวงเงินที่ขอเพิ่มรวมกับที่เราจะต้องผ่อนบ้านต่อคนเดียว ว่าเรามีความสามารถเพียงพอในการขอวงเงินส่วนเพิ่มพร้อมผ่อนต่อหรือไม่ ซึ่งรวมแล้วต้องไม่เกิน 65% ของรายได้เช่นกัน (รวมภาระหนี้อื่น ๆ แล้ว)
ตัวอย่าง คู่รักกู้บ้านวงเงิน 5 ล้านบาทร่วมกัน ผ่อนชำระเดือนละ 30,000 บาท นาน 30 ปี โดยออกคนละ 15,000 บาท/เดือนเท่ากัน ผ่านไป 10 ปี วงเงินสินเชื่อคงเหลืออยู่ 3 ล้านบาท ผู้ที่จะขายกรรมสิทธิ์ร่วมจึงขายต่อในราคา 1 ล้านบาท แต่ผู้ที่รับซื้อไม่มีเงินก้อนไปจ่ายในคราวเดียว จึงทำเรื่องขอวงเงินสินเชื่อ 1 ล้านบาทนั้นจากส่วนต่างค่าบ้านที่ผ่อนชำระไปแล้วกับธนาคาร
โดยวงเงิน 1 ล้านบาทที่ขอเพิ่ม ธนาคารอาจพิจารณาแล้วว่าทำเรื่องกู้ได้สูงสุด 20 ปี (พิจารณาจากอายุของผู้กู้) ผ่อนชำระเดือนละ 10,000 บาท เมื่อรวมกับยอดผ่อนชำระเดิม 30,000 บาท จะรวมเป็น 40,000 บาท/เดือน และเมื่อรวมกับภาระหนี้อื่น ๆ ของผู้ที่จะซื้อต่อแล้ว เกิน 65% ของรายได้หรือไม่ หากเกินอาจแนะนำให้พ่อแม่ พี่น้องเข้ามาเป็นคนที่กู้ร่วมด้วย
หากคู่รักที่เลิกรากู้บ้านกับธนาคารกรุงศรีอยู่แล้ว เรามีสินเชื่อกรุงศรีโฮมฟอร์แคช พร้อมรองรับในส่วนนี้ ซึ่งให้วงเงินสูงสุด 85% ของราคาประเมิน (รวมกับวงเงินกู้เดิม)
ทางออกที่ 3: การขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์
ในกรณีที่ฝ่ายหนึ่งขายกรรมสิทธิ์ในส่วนที่เคยเป็นเจ้าของร่วมกันให้อีกฝ่าย การรีไฟแนนซ์อาจเป็นอีกหนึ่งทางเลือก
รีไฟแนนซ์ (refinance) คือการย้ายหนี้บ้านจากธนาคารเดิมที่เราผ่อนชำระอยู่ไปธนาคารอื่น ซึ่งสามารถทำเรื่องกับธนาคารใหม่ได้ว่าจะขอถือกรรมสิทธิ์คนเดียว โดยแนบสัญญาจะซื้อจะขายกรรมสิทธิ์เฉพาะส่วนของผู้ขายพร้อมหนังสือการจดทะเบียนหย่า ประกอบการยื่นขอสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน
ตัวอย่าง คู่รักกู้บ้านวงเงิน 5 ล้านบาทร่วมกัน ผ่อนชำระคนละเท่า ๆ กันทุกเดือนจนเงินต้นเหลือ 3 ล้านบาท ผู้ที่จะขายกรรมสิทธิ์ร่วมขายต่อในราคา 1 ล้านบาท จึงทำเรื่องขอรีไฟแนนซ์ไปธนาคารใหม่รวม 4 ล้านบาท
ธนาคารก็จะพิจารณาว่าผู้ที่จะซื้อต่อนั้นสามารถผ่อนชำระหนี้ 4 ล้านบาทต่อคนเดียวได้หรือไม่ โดยใช้เกณฑ์ยอดเงินที่ผ่อนรวมภาระหนี้อื่น ๆ แล้ว ต้องไม่เกิน 65% ของรายได้ เช่นกัน ถ้าธนาคารพิจารณาแล้วว่าเพียงพอก็จะอนุมัติวงเงินออกเป็น 2 ส่วน คือ
- ส่วนที่ 1: 1 ล้านบาท เพื่อนำมาจ่ายให้กับผู้ขายกรรมสิทธิ์
- ส่วนที่ 2: 3 ล้านบาท เพื่อนำไปปิดสินเชื่อกับธนาคารเดิม
รวม 2 ส่วน 4 ล้านบาท และเริ่มผ่อนกับธนาคารใหม่
Krungsri The COACH แนะนำสินเชื่อรีไฟแนนซ์บ้าน เมื่อตัดสินใจแล้วว่าเลิกและจะกู้เดี่ยว
เมื่อชีวิตคู่มาถึงทางแยกการแบ่งทรัพย์สินและตกลงกรรมสิทธิ์ในการเป็นเจ้าของบ้านอย่างชัดเจน จะทำให้เราไม่ต้องพบกับปัญหาและความขัดแย้งตามมาในอนาคต “สินเชื่อบ้านกรุงศรีรีไฟแนนซ์ พร้อมเพิ่มวงเงิน!” สามารถตอบโจทย์การซื้อบ้านร่วมกัน แต่เลิกกันได้อย่างลงตัว ผู้ที่ผ่อนบ้านต่อก็สามารถผ่อนได้อย่างไม่ยากแถมประหยัดดอกเบี้ยได้มากขึ้น ทั้งนี้สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
“สินเชื่อบ้านกรุงศรีรีไฟแนนซ์
- กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว | อัตราดอกเบี้ยลดต้นลดดอกตลอดอายุสัญญาอยู่ระหว่าง 4.55% - 5.93% ต่อปี*
*สมมติฐานการคำนวณมาจากอัตราดอกเบี้ย MRR ณ วันที่ 6 ต.ค. 66 = 7.40% ต่อปี ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวสามารถเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้
หมายเหตุ: อัตราดอกเบี้ยนี้เป็นข้อมูล ณ วันที่โพสต์บทความ สามารถตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยปัจจุบัน และรายละเอียดการคำนวณเพิ่มเติมได้ที่ www.krungsri.com
อ้างอิง