5 เทคนิค อาชีพอิสระขอสินเชื่อบ้านให้ผ่านฉลุย
รอบรู้เรื่องบ้าน
icon-Facebook icon-Twitter icon-line

5 เทคนิค อาชีพอิสระขอสินเชื่อบ้านให้ผ่านฉลุย

icon-access-time Posted On 17 กรกฎาคม 2565
by Krungsri The COACH
ถ้าย้อนกลับไปในอดีตคงไม่ค่อยมีใครชินกับคำว่า “อาชีพ Freelance” หรือที่เรียกว่า “อาชีพอิสระ” แต่ในปัจจุบันนี้ต้องบอกเลยว่า “อาชีพ Freelance” ถือเป็นเทรนด์การทำงานแห่งยุค โดยเฉพาะสำหรับกลุ่มคน GEN Z ที่ไม่นิยมทำงานแบบตายตัว ต้องการความเป็นอิสระในการทำงาน แต่ทว่าใครยังไม่รู้จักอาชีพนี้ รวมถึงอาชีพนี้มีความมั่นคงไหม มีสินเชื่อสำหรับอาชีพอิสระที่คิดจะสร้างอนาคตหรือเปล่า? หรือแม้แต่คำถามที่ว่า คนที่มีอาชีพอิสระ ซื้อบ้านได้ไหม? บทความนี้มีคำตอบ
 
5 เทคนิค อาชีพอิสระขอสินเชื่อบ้านให้ผ่านฉลุย

เหตุผลของคนรุ่นใหม่ที่สนใจในอาชีพ Freelance คือ มีอิสระในการทำงาน ลองนึกภาพตามว่า ถ้าหากเราสามารถทำงานอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นที่บ้าน สวนสาธารณะ หรือร้านกาแฟ โดยที่ไม่ต้องตื่นเช้าฝ่ารถติดทุกวันเพื่อไปทำงาน ไม่ต้องสแกนบัตรเข้า-ออก ให้ทันเวลา เพราะพวกเขามีอิสระในการทำงาน สามารถจัดตารางการทำงานเองได้ เพียงแค่ขอให้งานเสร็จภายในระยะเวลาที่ตกลงกับลูกค้าก็พอ ไม่เพียงแต่เท่านี้ สำหรับเหล่านักศึกษาเองที่ต้องการหารายได้เสริมระหว่างเรียน อาชีพ Freelance ก็สามารถทำได้เช่นกัน ซึ่งรายได้ก็อาจจะไม่แน่นอน ไม่เท่ากันทุกเดือนจึงต้องรู้จักบริหารการเงินและมีเงินสำรองในเดือนที่งานน้อยด้วย

จากคำถามที่ว่าอาชีพอิสระกู้ซื้อบ้านได้ไหม? เราจะพามาดู 5 เทคนิคขอสินเชื่อสำหรับอาชีพอิสระให้ผ่านฉลุย

1. เตรียมเอกสารยื่นกู้ให้พร้อม

โดยเอกสารพื้นฐานมักประกอบไปด้วย
  • สำเนาบัตรประชาชนผู้กู้
  • สำเนาทะเบียนบ้านผู้กู้
  • ใบเปลี่ยนชื่อ/นามสกุล/ทะเบียนสมรส/ใบหย่า (ถ้ามี)
  • บัญชีเงินเดือนหรือบัญชีรายรับ/รายการเดินบัญชี Statement ย้อนหลัง 6 เดือน – 1 ปี
  • ใบจองซื้อ/สำเนาโฉนดที่ดิน
  • เอกสารเพิ่มเติมสำหรับอาชีพ Freelance
  • Statement แสดงรายการเดินบัญชีย้อนหลัง อย่างน้อย 12 เดือน
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้มีเงินได้กรณีทั่วไป (ภ.ง.ด.90)
  • ใบเสร็จรับเงินชำระภาษีประจำปี
  • หนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 50 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร (ใบ 50 ทวิ)
  • ใบสัญญาจ้างงาน อาจมีเอกสารอื่น ๆ ร่วมด้วย

2. จ่ายภาษีและยื่นแบบครบถ้วนทุกปี

การจ่ายภาษีเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับอาชีพ Freelance ไม่ว่าเราจะมีรายได้มากหรือน้อยก็ตาม ทุก ๆ ปีเราต้องยื่นแบบภาษีภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด เมื่อยื่นแบบภาษีแล้วก็จะได้รับเอกสาร ภ.ง.ด.90 และใบเสร็จ เราควรเก็บย้อนหลังนาน 2-3 ปี เพื่อความฝันอยากมีบ้าน โดยเราจะมาลองแบ่งขั้นตอนจัดการภาษีผ่าน 3 ขั้นตอนดังนี้
  • รวบรวมเงินได้พึงประเมิน คำนวณเงินได้สุทธิ
    สิ่งที่เอามาคำนวณภาษี คือ จำนวนเงินได้สุทธิ ที่คิดจากเงินได้พึงประเมิน (หรือทำความเข้าใจง่าย ๆ ว่าเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษี) ต้องเตรียมเอกสาร และคำนวณเงินได้พึงประเมินด้วยตัวเอง หลักฐานสำคัญชิ้นนี้ ก็คือ ใบหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ซึ่งนายจ้างที่จ้างงาน ที่เราจะได้รับจากผู้ว่าจ้าง จ้างด้วยเงินค่าจ้างเกิน 1,000 บาทขึ้นไป ต้องเก็บไว้ให้ดี ๆ เพราะจะสามารถทำให้เราลดหย่อนภาษีได้ดีเลยทีเดียว
  • ค่าใช้จ่าย และการลดหย่อนภาษี
    ซึ่งเราจะหักจากเงินได้พึงประเมิน โดยหักแบบเหมา 50% แต่ไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนรายการที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ก็มาจากการทำประกัน ทั้งประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันสังคม หรือแม้แต่ หุ้น กองทุน LTF หรือ RMF นั่นเอง
  • พร้อมแล้วยื่นภาษีเลย!
    สำหรับการยื่นภาษีสามารถก็ทำได้ 2 วิธี คือ
    • ยื่นแบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90 ด้วยตัวเอง ที่สำนักงานกรมสรรพากรในจังหวัดที่เราอยู่ 
    • ยื่นออนไลน์ ในเว็บไซต์กรมสรรพากร แล้วชำระภาษีผ่านธนาคาร ไปรษณีย์ และบัตรเครดิต สะดวกสบายชำระได้หลายทาง
 
5 เทคนิค อาชีพอิสระขอสินเชื่อบ้านให้ผ่านฉลุย

3. ไม่มีหนี้สิน ไม่ติดเครดิตบูโร

เนื่องจากเจ้าหน้าที่สินเชื่อธนาคารจะขอให้เราเซ็นยินยอมให้มีการตรวจสอบประวัติทางธุรกรรมโดยผู้ดำเนินการเก็บข้อมูลไม่ว่าจะเป็น ผ่อนจ่ายบัตรเครดิต ผ่อนรถ ผ่อนสินค้า บัตรกดเงินสด หรือรายการทำธุรกรรมต่าง ๆ คือบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือที่เรียกติดปากว่า “เครดิตบูโร” นั่นเอง เพราะฉะนั้นหากเรามีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ดี ไม่มีหนี้สินก็จะทำให้ธุรกรรมต่าง ๆ ของเราสะดวกยิ่งขึ้น

4. วินัยในการออมเงินสำคัญมาก

การที่เรามีบัญชีเงินออม ฝากเงินเข้าบัญชีอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยแสดงศักยภาพและความมีวินัยด้านการเงินของเรา แม้ว่าจะทำอาชีพ Freelance ก็ตาม ทั้งนี้สามารถเลือกบัญชีเงินออมทรัพย์ของธนาคารไหนก็ได้อีกเช่นกัน

5. กู้ร่วม คือทางเลือกเพื่อให้สินเชื่อผ่านง่ายขึ้น

“กู้ร่วม” คือ การร่วมทำสัญญาเงินกู้สินเชื่อก้อนเดียวกัน เพื่อให้ทางธนาคารเห็นว่าจะมีอีกคนมาช่วยรับผิดชอบในวงเงินกู้ เพิ่มความมั่นใจความสามารถในการผ่อนชำระได้ตามกำหนด ทำให้ขออนุมัติสินเชื่อได้ง่ายขึ้น เปรียบเสมือนทางเลือกที่ทำให้ง่ายขึ้นด้วยวิธีการหาผู้กู้ร่วมในเครือญาติ หรือสามีภรรยามาร่วมรับภาระผ่อนวงเงินกู้ด้วยกัน ซึ่งผู้ที่กู้ร่วมกับเราก็จำเป็นต้องมีเอกสารแสดงรายได้ชัดเจนเช่นกัน

นี่ก็เป็น 5 เทคนิคง่าย ๆ ในการขอสินเชื่อบ้านที่เราหยิบยกมาแนะนำให้อาชีพ Freelance นั่นเอง และสำหรับฟรีแลนซ์ท่านใดที่กำลังมองหาสินเชื่อบ้านเราขอแนะนำ สินเชื่อบ้านกรุงศรีเพื่อที่อยู่อาศัย ที่ไม่ว่าจะวางแผนซื้อบ้านใหม่หรือบ้านมือสอง ก็สามารถกู้ซื้อบ้านได้ แถมเริ่มคำนวณสินเชื่อด้วยตัวเองได้ง่าย ๆ อีกด้วย

และไม่ว่าคนรุ่นใหม่ที่มีอาชีพอิสระฝันอยากมีบ้านคุณก็สามารถมีได้ แถมไม่ใช่เรื่องยากเลยหากเราทำตามคำแนะนำ พร้อมทั้งเราได้ลงมือทำ ทุกความฝันของเราก็จะเร็วขึ้นนั่นเอง…
ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง
บทความที่เกี่ยวข้อง
พิมพ์สิ่งที่ต้องการค้นหา