เคล็ดลับการทำธุรกิจตามแนวคิด Social Enterprise

เคล็ดลับการทำธุรกิจตามแนวคิด Social Enterprise

By Krungsri GURU SME

เดี๋ยวนี้มีคนออกมาทำ Startup หรือธุรกิจ SME แบบที่ใส่ใจสังคมดูแลโลก และทำกำไรทางธุรกิจได้ หรือเรียกว่า “กิจการเพื่อสังคม” Startup เหล่านี้ มีวิธีการทำกำไรและดูแลสังคมคู่กันได้อย่างไรนะ สำหรับคนที่มีแนวคิดอยากเริ่มต้นธุรกิจแบบ Social Enterprise ต้องทำอย่างไร มาติดตามกันเลยครับ...

ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจแนวคิดของคำว่า Social Enterprise กันก่อนครับ สำหรับการทำธุรกิจแนวนี้ หรือเรียกง่าย ๆ ว่าทำธุรกิจโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมและสังคม หมายความว่า ธุรกิจที่เราทำต้องไม่ทำลายสังคม ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ดังนั้นแนวคิดการทำธุรกิจแบบ Social Enterprise จึงไม่ใช่ธุรกิจประเภทผิดกฎหมาย ก่อให้เกิดปัญหาในสังคม หรือธุรกิจผิดศีลธรรมอันดี และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการทำให้สิ่งแวดล้อมเกิดมลพิษ สำหรับเคล็ดลับในการทำธุรกิจตามแนวคิด Social Enterprise มีอะไรบ้างเรามาดูกันครับ
เคล็ดลับที่ 1 “มองหาธุรกิจที่ช่วยส่งเสริมสังคม”
หากเรามองไปรอบ ๆ ตัวเราจะเห็นปัญหาสังคมมากมาย ดังนั้น ถ้าเรามีแนวคิดการทำธุรกิจแบบ Social Enterprise ที่ช่วยลดปัญหาสังคม รับรองได้เลยครับว่าจะมีกลุ่มลูกค้าที่สนใจจำนวนหนึ่ง (ที่มากพอสมควรเลยนะครับ) อยากส่งเสริมให้ธุรกิจประเภทนี้เกิดขึ้น ยกตัวอย่างเช่น เราอยากให้สังคมลดการสูบบุหรี่ เราสามารถตั้งเพจ หรือเว็บไซต์ หรือแม้แต่แอปพลิเคชันที่ช่วยให้คนอยากเลิกบุหรี่ เลิกได้อย่างสนิทใจ... หากเรามีไอเดียดี ๆ เราสามารถนำไอเดียไปเสนอขอแหล่งทุนทำธุรกิจ อาจเป็นหน่วยงานรัฐฯ เช่น สสส. ที่ส่งเสริมด้านการลดสูบบุหรี่อยู่แล้วเป็นแหล่งทุน หรือแม้แต่รับบริจาคตามเว็บไซต์ก็ทำได้เช่นกันครับ
เคล็ดลับที่ 2 “มองหาธุรกิจที่ตอบโจทย์สิ่งแวดล้อม”
เคล็ดลับนี้ก็คล้าย ๆ กับเคล็ดลับแรก หากเรามองเห็นว่ากิจกรรมบางอย่างก่อให้เกิดมลพิษ ยกตัวอย่างเช่น มลพิษในอากาศเกิดจากควันเสียจากรถยนต์ ภาวะเรือนกระจกนั้นเกิดจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่ถูกปล่อยออกมาจากท่อไอเสียรถยนต์ทำให้เกิดกำแพงกั้นชั้นบรรยากาศโลก และเก็บความร้อนเอาไว้บนพื้นโลก ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกเริ่มละลาย ทำให้น้ำท่วม และปัญหาต่อเนื่องตามมามากมาย หากเราเป็นนักประดิษฐ์ หรือมีไอเดียดี ๆ ที่จะสร้างอุปกรณ์บางอย่างที่ติดบริเวณท่อไอเสีย และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ได้ รับรองได้เลยว่าจะมีนายทุนสนใจ และอยากให้เงินทุนสำหรับ Startup ลักษณะนี้อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นแนวคิดการทำธุรกิจแบบ  Social Enterprise ที่น่าสนใจเลยทีเดียว
เคล็ดลับที่ 3 “มองหาไอเดียธุรกิจจากหน่วยงานอิสระ”
หน่วยงานอิสระที่คอยจับตาดูแลสิ่งแวดล้อมนั้นมีมากมาย ที่มีแนวคิดการทำธุรกิจแบบ Social Enterprise ยกตัวอย่างเช่น NGO ย่อมาจาก Non-government Organizations หมายถึง องค์กรพัฒนาเอกชน ชื่อนี้เป็นชื่อที่รู้จักกันทั่วไปและเป็นชื่อที่นิยมเรียกกันในประเทศไทยครับ โดยองค์กรเหล่านี้จะรวบรวมปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม แม้กระทั่งปัญหาที่ส่งผลกระทบกับสังคม หากเรารวบรวมปัญหาเหล่านี้และนำมาต่อยอดหาคำตอบ จนกลายเป็นกิจการเพื่อสังคม หรือ Social Enterprise ได้จริง = เราได้เริ่มต้นธุรกิจ Social Enterprise จากปัญหาที่เกิดขึ้นจริง และไอเดียเหล่านี้สามารถนำมาต่อยอดได้ไม่รู้จบครับ
เคล็ดลับที่ 4 “มีจิตอาสา”
เคล็ดลับข้อนี้ถือว่ามีความสำคัญสูงสุด เพราะหากเรามีแนวคิดการทำธุรกิจแบบ Social Enterprise แต่เราไม่มีจิตอาสา เราจะทำได้ไม่สุดทาง เพราะกิจการประเภทนี้เราต้องทุ่มเททั้งแรงกาย แรงใจ และบางครั้งต้องทำธุรกิจโดยไม่หวังผลกำไร หรือหวังผลกำไรไม่มากนัก แต่เนื้อแท้แล้วแนวคิดการทำธุรกิจแบบ Social Enterprise นั้นต้องการให้สังคมดีขึ้น ต้องการให้สิ่งแวดล้อมน่าอยู่ขึ้น ซึ่งเป็น “หัวใจหลัก” ของการประกอบกิจการประเภทนี้ หากเราไม่มีใจรักที่จะทำมันจริง ๆ ผลของการกระทำจะส่งออกมาจากส่วนลึกของจิตใจครับ ดังนั้นการมีจิตอาสาถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งสำหรับแนวคิดการทำธุรกิจแบบ Social Enterprise นั่นเอง
 
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow