รู้จัก ธุรกิจแบบ Subscription ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

รู้จัก ธุรกิจแบบ Subscription ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

By Krungsri Plearn Plearn
หากพูดถึงโมเดลธุรกิจแบบ Subscription ตอนนี้ก็มีให้เห็นในแอปฯ สตรีมมิ่งต่าง ๆ เช่น Netflix หรือ Disney+ ที่เน้นให้คนจ่ายรายเดือนสร้างรายได้ไปเรื่อย ๆ ไม่ต้องซื้อขาดในราคาแพง ๆ สำหรับข้อดีของโมเดล ธุรกิจแบบ Subscription คือเราไม่จำเป็นต้องต่ออายุสมาชิกทุกเดือนก็ได้ หากเราเบื่อ หรืออยากลดรายจ่ายเราสามารถเลือกที่จะหยุดใช้บริการ มีเงินเมื่อไหร่ ค่อยมาสมัครแล้วดูผลงานของครีเอเตอร์ย้อนหลังก็ทำได้ และโมเดล Subscription ยังช่วยให้เราสร้างความสัมพันธ์กับสมาชิกด้วย เพราะเราสามารถรับความคิดเห็นของคนที่สนใจงานของเราจริง ๆ ว่าพวกเขาเหล่านี้ชอบงานแบบไหน อยากจะเห็นเราปล่อยผลงานแบบไหน เพื่อนำไปปรับปรุงผลงานให้ดีขึ้น และให้พวกเขาจ่ายเงินกับเราไปนานที่สุด ซึ่งนอกจาก Netflix หรือ Disney+ ยังมีอีกหลายธุรกิจที่นำโมเดลแบบ Subscription มาช่วยสร้างรายได้กลับเข้ามา ตัวอย่างเช่น
รู้จัก ธุรกิจแบบ Subscription ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

TikTok

โซเชียลมีเดียที่เน้นวิดิโอสั้น ๆ ที่มีการเติบโตสูงสุดในปีที่ผ่านมา ก็มีการใช้หลักที่ให้สมาชิกเข้ามา Subscription เหล่าครีเอเตอร์ได้แบบฟรี ๆ แต่ถึงจะเปิดให้ติดตามได้แบบฟรี ๆ ครีเอเตอร์ที่มีผู้ติดตามจำนวนมากก็สามารถสร้างรายได้อย่างมากมายจากการรับรีวิวจากสปอนเซอร์ หรือการใช้ฟังก์ชั่น Streaming บน TikTok ที่ผู้ชมสามารถส่งของขวัญเพื่อเป็นกำลังใจให้กับครีเอเตอร์ สำหรับของขวัญที่ส่งให้กันมีหลากหลายราคา ซึ่งครีเอเตอร์จะได้รับส่วนแบ่งจากการส่งของขวัญมาในรูปแบบ Coin ที่สามารถนำไปแลกกลับมาเป็นเงินจริงได้ หากว่าใครมีผู้ติดตามเยอะ ๆ แต่ไม่มีเวลาที่จะ Streaming ครีเอเตอร์สามารถรับบทเป็นนายหน้าฝากลิงก์ Affiliated จากบรรดาร้านค้าต่าง ๆ เพื่อให้สมาชิกที่ติดตามเรากดสั่งซื้อ แล้วครีเอเตอร์จะได้เงินเป็นค่าคอมมิชชั่นทุกคลิก

YouTube

โซเชียลมีเดียวิดีโออันดับ 1 ของโลกที่ให้ยูทูปเบอร์สามารถเปิดทำรายได้นอกเหนือจากโฆษณากับระบบที่เรียกว่า MemberShip ที่เจ้าของช่องสามารถกำหนดราคาค่าสมาชิกได้เหมือนกับ OnlyFans ต่างกันที่ของ OnlyFans สามารถปรับราคาค่า Subscription ได้ตลอดเวลาแต่ระบบ Membership สามารถกำหนดราคาได้ครั้งเดียว หากอยากเพิ่มหรือลดราคาเพื่อทำโปรโมชั่น จะไม่สามารถแก้ไขได้ในภายหลัง และระบบ MemberShip สามารถกำหนดแบ่งย่อยระดับขั้นของสมาชิกได้ อย่างเช่น สมาชิกที่เป็นเลเวล 1 จะไม่สามารถมองเห็นเนื้อหาของเลเวลอื่น ๆ ได้ หากจะรับชมเนื้อหาที่ถูกปิดกั้นจำเป็นต้องอัปเกรดค่าสมาชิก ซึ่งส่วนแบ่งของครีเอเตอร์จะได้รับ 70% ส่วนระบบ YouTube จะหักไป 30% ในส่วนนี้ยังไม่ได้รวมกับค่าโฆษณาที่ YouTube จะจ่ายให้ครีเอเตอร์แบบจำนวน Views ทำให้มียูทูบเบอร์หลายช่องเริ่มเปิดใช้ระบบ Membership กันมากขึ้น

Twitter

โซเชียลมีเดียชื่อดังก็มีบริการที่เปิดโอกาสให้เจ้าของบัญชี Twitter สร้างรายได้จากการทำ Subscription แบบเดียวกับ OnlyFans ในชื่อ Super Follower แต่จะมีเงื่อนไขสำหรับการเป็นครีเอเตอร์อย่างเช่น ต้องมีอายุมากกว่า 18 ปีขึ้นไป และมีผู้ติดตามอย่างน้อย 10,000 คนถึงจะเปิดใช้บริการนี้ได้ และสำหรับใครอยากเข้าถึงเนื้อหาพิเศษที่หาได้ใน Super Follower ก็จะมีค่าสมาชิกอยู่ประมาณ 150 บาทต่อเดือน

ในส่วนของบริการดังกล่าวยังอยู่ในช่วงทดลอง และยังใช้ได้แค่ในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น สำหรับครีเอเตอร์ชาวไทยที่อยากลองใช้ Super Follower อาจต้องอดใจรอสักหน่อย
รู้จัก ธุรกิจแบบ Subscription ที่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่

OnlyFans

โซเชียลมีเดียที่กำลังมาแรง ที่เปิดโอกาสให้ครีเอเตอร์สามารถสร้างรายได้จากการเปิดขาย Subscription แต่ OnlyFans แตกต่างจากธุรกิจอื่น ๆ คือตัวครีเอเตอร์จะได้รับส่วนแบ่งที่มากกว่าตัวแพลตฟอร์มพูดง่าย ๆ คือคนขายภาพ หรือคลิปวิดีโอจะได้ส่วนแบ่งมากถึง 80% และทาง OnlyFans จะได้เพียง 20% ส่วนรายได้ที่เข้ามาจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับว่าเราจะตั้งราคาค่า Subscription และเนื้อหาของเราไว้เท่าไหร่ จากจุดเด่นแบบนี้ทำให้มีครีเอเตอร์จำนวนมากสนใจมาสร้างรายได้บน OnlyFans รวมถึงเซเลบฯ คนดังอย่างเช่น
  • คาร์ดิ บี นักร้องชื่อดังก้องโลกก็ได้มาสร้างบัญชีใน OnlyFans เพื่อเปิดแบ่งปันเรื่องราว ชีวิต และไลฟ์สไตล์ รวมถึงผลงานพิเศษ ๆ ภาพเบื้องหลังการทำงานของเธอที่ไม่สามารถเห็นได้จากโซเชียลมีเดียอื่น ๆ ซึ่งปัจจุบัน คาร์ดิ บี มีผู้ติดตามทาง OnlyFans มากกว่า 81 ล้านฟอลโลเวอร์ และสร้างรายได้ต่อเดือนอยู่ราว ๆ 311 ล้านบาท
  • เบลล่า ธอร์น ดาราและนักร้องคนดัง อดีตนักแสดงเด็กในสังกัด Disney ที่มาสร้างรายได้บน OnlyFans โดยเนื้อหาของเธอจะลงภาพไลฟ์สไตล์ รูปภาพ และวิดีโอในทางเซ็กซี่ ให้กับทางแฟนคลับตัวจริงของเธอ สำหรับเบลล่า ธอร์น เป็นที่ฮือฮามากกับทาง OnlyFans เพราะเมื่อวันแรกที่เธอสร้างบัญชี OnlyFans เธอสามารถสร้างรายได้ทันทีถึง 1 ล้านดอลล่าร์ และทำเงินทะลุ 2 ล้านดอล่าร์ ใช้เวลาเพียง 1 สัปดาห์เท่านั้นเอง ปัจจุบัน เบลล่า ธอร์น มีผู้ติดตามทาง OnlyFans มากกว่า 24 ล้านฟอลโลเวอร์ และสร้างรายได้ต่อเดือนอยู่ราว ๆ 363 ล้านบาท
  • แบล็ค ไชน่า นางแบบและเซเลบฯ อดีตคู่รักของ ร็อบ คาร์ดาเชี่ยน หนึ่งในครอบครัวที่ทั่วโลกให้ความสนใจ ภายในบัญชี OnlyFans ส่วนใหญ่จะเป็นภาพ และวิดีโอไลฟ์สไตล์ตามประสาคนดังของสังคม ทำให้มีแฟนคลับอยากรู้ว่าเธอใช้ชีวิตแบบไหน เป็นอีกหนึ่งคนดังที่ใช้ OnlyFans สร้างรายได้อย่างมหาศาลต่อปี ปัจจุบัน แบล็ค ไชน่า มีผู้ติดตามทาง OnlyFans มากกว่า 16 ล้านฟอลโลเวอร์ และสร้างรายได้ต่อเดือนอยู่ราว ๆ 660 ล้านบาท
มาถึงตรงนี้หลายคนจะเห็นแล้วว่าโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เริ่มสร้างโมเดลธุรกิจแบบ Subscription ของตัวเองขึ้นมาเพื่อสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ และเหล่าครีเอเตอร์ได้ผลประโยชน์ที่คุ้มค่า ไม่มีใครเสียเปรียบ เชื่อได้ว่าธุรกิจ Subscription จะเข้ามามีบทบาทในธุรกิจอื่น ๆ ทึ่วันหนึ่งลูกค้าอาจไม่จำเป็นต้องซื้อของชิ้นใหม่ในราคาสูง ๆ แต่จ่ายค่าบริการรายเดือนแล้วได้ใช้สินค้าใหม่ ๆ ในราคาพิเศษแทน โมเดลธุรกิจแบบ Subscription นี่อาจเป็นตัวช่วยสร้างกำไรให้หลายธุรกิจที่ยังต้องเผชิญหน้ากับวิกฤติเศรษฐกิจในตอนนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow