ภาษีร้านค้าออนไลน์ แม่ค้าทั้งหลายไม่รู้ไม่ได้แล้ว!!

ภาษีร้านค้าออนไลน์ แม่ค้าทั้งหลายไม่รู้ไม่ได้แล้ว!!

By Krungsri Plearn Plearn

ใครที่รู้สึกเบื่อเหลือเกินกับงานประจำที่ทำอยู่ ทั้งเบื่องาน เบื่อเพื่อนร่วมงาน เบื่อหัวหน้า จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ แล้วรู้สึกร่ำๆ อยากออกจากงานมาทำธุรกิจของตัวเองแล้ว หรือมนุษย์เงินเดือนบางคนที่รู้สึกว่างานที่ตัวเองทำอยู่ ทำไมนิ่ง จำเจจังช่วงนี้ อยากลองหารายได้พิเศษหรือทำอะไรเพิ่มเติม เชื่อเหลือเกินว่าสิ่งแรกหรืออาชีพแรกที่คุณจะนึกถึง คือ การขายของออนไลน์

เหตุผลที่เลือกการขายของออนไลน์เป็นอาชีพเสริมอาชีพแรก นั่นก็เพราะคุณไม่ต้องลงทุนมากเหมือนการเปิดร้านทั่วไป ที่ต้องหาทำเล ลงทุนค่าแผง ค่าเช่าตึก ค่าคนงาน คุณสามารถใช้พื้นที่ Social Media ของคุณในการขายได้ หรือจะไปฝากขายกับร้านใน Market Place ก็ได้เช่นกัน สิ่งที่คุณต้องลงทุนน่าจะมีเพียงสินค้าที่จะขายเท่านั้น
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วอาชีพขายของออนไลน์จึงหอมหวนสำหรับใครหลายคน แต่ว่าที่แม่ค้า/พ่อค้าออนไลน์ทั้งหลาย ฟังทางนี้ก่อน ก่อนที่จะผันตัวเองมาทำอาชีพนี้จริงจังหรือจะเลือกทำเป็นอาชีพเสริมก็ตาม คุณควรทำความเข้าใจและทำความรู้จักกับประเภทของการหาเงินออนไลน์กันก่อน รวมทั้งกฎ กติกาใหม่ในการเสียภาษี แล้วจึงค่อยตัดสินใจยึดเป็นอาชีพนะ

ประเภทของการขายของออนไลน์

รูปแบบการขายของออนไลน์มีด้วยกันหลัก ๆ 3 ประเภทด้วยกัน คุณจะเลือกขายประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจะขายในทั้ง 3 ประเภทเลยก็ได้
1. ขายให้กลุ่มลูกค้าใน Social Media
การขายออนไลน์ให้กับลูกค้าใน Social Media คือ กลุ่มลูกค้าที่ใช้งาน Facebook, Instagram, Line เป็นต้น มักเป็นทางเลือกอันดับต้นๆ ของพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์มือใหม่ ที่ยังไม่มีความรู้เรื่องการขายของมาก่อน การขายให้กับลูกค้าในกลุ่ม Social Media นี้ คุณสามารถใช้ Account ส่วนตัวขายตรง หรือสร้าง Account เพื่อการค้าโดยเฉพาะเลยก็ได้ การขายของให้ลูกค้ากลุ่ม Social Media จะเข้าถึงผู้ใช้งานได้จริง มักเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม ที่นิยมขาย มีตั้งแต่เสื้อผ้าวินเทจ เครื่องสำอาง ไปจนถึงของแบรนด์เนม กลุ่มนี้จะขายง่าย ทำราคาได้ในระดับหนึ่ง คู่แข่งจะไม่มากนัก เพราะส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าเฉพาะกลุ่ม ช่องทาง Social Media จึงเป็นช่องทางที่อยากแนะนำให้พ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์มือใหม่ทั้งหลาย
2. ขายผ่านเว็บไซต์ที่เป็น Marketplace
การนำสินค้าไปฝากขายกับ Marketplace ของเว็บไซต์ต่างๆ ถือเป็นการขยับขึ้นอีกก้าวสำหรับการขายของออนไลน์ คุณสามารถขายทั้ง Marketplace ที่เป็นของไทยหรือของต่างประเทศก็ได้ ถ้าเป็นของต่างประเทศคนน่าจะคุ้นกับชื่อ ebay.com และ amazon.com สำหรับ Marketplace ของไทย ที่ติดอันดับได้แก่ KAIDEE, Shopee, LAZADA, Pantip Market, Weloveshopping และ TARAD เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แต่ละเว็บไซต์ก็จะมีเงื่อนไขในการสมัครเข้าไปขายและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันออกไป พ่อค้า/แม่ค้าควรศึกษาให้ดีก่อนเริ่มต้นขาย
3. เปิดเว็บไซต์เป็นของตัวเอง
สำหรับคนที่ต้องการลงทุนแบบเต็มตัว การเปิดเว็บไซต์ขายสินค้าเป็นของตัวเองคือตัวเลือกของคุณ เมื่อเป็นเจ้าของร้านอะไรก็ตาม แม้จะในโลกออนไลน์ก็ต้องมีการลงทุนด้วยกันทั้งสิ้น ซึ่งการเปิดเว็บไซต์ของตัวเอง ถ้าไม่ใช่ฟรีเว็บไซต์นั้น มีราคาเริ่มต้นที่ประมาณ 20,000 บาท เป็นต้นไป คุณควรมีความรู้ในเรื่องการออกแบบเว็บไซต์บ้าง รวมถึงการทำ Branding การตลาดออนไลน์ เป็นต้น แต่การมีเว็บไซต์ร้านค้าเป็นของตัวเองแบบนี้ ถ้าร้านค้าของคุณติดตลาดแล้วละก็ คุณจะได้ขายกันแบบยาว ๆ ไปเลย

เรื่องต้องรู้เมื่อเปิดร้านค้าออนไลน์

เมื่อคุณเป็นพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์เต็มตัวแล้ว สิ่งต่อมาที่คุณต้องรู้และคำนึงถึง กฎเกณฑ์การขายของออนไลน์ต่างๆ หนึ่งในนั้นคือ เรื่องการเสียภาษีของร้านค้าออนไลน์ ซึ่งถือเป็นกฎหมายใหม่ล่าสุด หลังจากมีการพูดถึงแนวทางการจัดเก็บภาษีกับพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์มาโดยตลอด ในที่สุดกฎหมายก็ได้คลอดออกมาแล้ว โดยมีชื่อว่า ภาษีอีเพย์เมนต์ พ.ศ. 2562 โดยให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2562 และให้สถาบันการเงินส่งรายงานธุรกรรมครั้งแรกต่อกรมสรรพากร ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2563 ใจความสำคัญคือ การกำหนดให้สถาบันการเงิน และผู้ให้บริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ e-wallet ต้องรายงานข้อมูลผู้มีบัญชีธุรกรรมเฉพาะให้กรมสรรพากรทราบ ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล (ผู้ที่จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัด หรือบริษัท) ทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ โดยบัญชีธุรกรรมเฉพาะจะต้องมีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
 
ซึ่งจะทำให้กรมสรรพากรได้รับข้อมูลที่จะเป็น คือ เลขประจำตัวประชาชน, ชื่อ-สกุล, เลขที่บัญชีเงินฝาก, จำนวนครั้งของการฝากหรือโอนรับเงิน, ยอดรวมของการฝากหรือโอนรับเงิน เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลและดำเนินการเก็บภาษีได้จำนวนที่ถูกต้องต่อไป

แม่ค้าออนไลน์ตั้งรับภาษีอีเพย์เมนต์อย่างไร

อ่านมาถึงตรงนี้อย่าเพิ่งตกใจกลัวไปครับ ถ้าเราไม่อยู่ในเกณฑ์ทั้ง 3 ข้อข้างต้น ก็เพียงแค่ยื่นภาษีแสดงรายได้ประจำปีปกติ เพราะปัจจุบันร้านค้าออนไลน์ก็ต้องยื่นภาษีเป็นปกติอยู่แล้ว หากรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ดังนี้
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หากมีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาท/ปีขึ้นไป ใช้เกณฑ์เดียวกับมนุษย์เงินเดือนทั่วไป
  • ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หากมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี จะเรียกเก็บที่ 7%
สำหรับพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ที่ยังไม่เคยมีประสบการณ์ตรงเรื่องการเสียภาษีมาก่อน ควรเริ่มต้นเตรียมตัวอย่างไร ตรงนี้มีคำตอบ
  • ทำบัญชีรายรับ รายจ่ายไว้ เมื่อคิดจะประกอบอาชีพค้าขายแล้ว คุณต้องระวังและใส่ใจรายละเอียดเรื่องตัวเลขเป็นอย่างมาก ถ้าไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี ให้เครื่องมือวางแผนทางการเงินช่วยคุณได้
  • เก็บหลักฐานทุกอย่าง เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการค้า การทำธุรกรรมทางการเงิน ทั้งการซื้อขายและกับธนาคาร จะเล็กน้อย หรือมากแค่ไหนก็ต้องเก็บรวบรวมไว้ให้หมด เพราะทุกหลักฐานจะต้องนำมาใช้ประกอบการยื่นภาษี
  • ศึกษาเรื่องภาษีให้ละเอียด เช่น ร้านค้าของคุณเป็นนิติบุคคล หรือบุคคลธรรมดา จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วหรือไม่ ฯลฯ
สำหรับพ่อค้า/แม่ค้าออนไลน์ที่มียอดโอนเพื่อซื้อสินค้าไม่ถึง 3,000 ครั้ง/ปี หรือยอดเงินรวมไม่ถึง 2,000,000 บาท ก็ไม่ต้องกังวลว่าตัวเองจะโดนภาษีอีเพย์เมนต์นี้ คุณเพียงแค่ยื่นภาษีรายปีแสดงรายได้ของตัวเองเท่านั้นเอง ปลอดภัยหายห่วงไม่โดนภาษีรายปีและภาษีย้อนหลังแน่นอน
วางแผนการเงิน
 
ขอบคุณข้อมูลจาก: shorturl.at/rvDH4, d0dz.com/, page365.net/all-articles/7-websites-for-create-store-online, money.kapook.com/view203300.html
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow