Seamless ของธุรกิจออนไลน์ กับการจ่ายและรับเงินผ่าน e-Payment

Seamless ของธุรกิจออนไลน์ กับการจ่ายและรับเงินผ่าน e-Payment

By Krungsri Plearn Plearn

การทำธุรกิจทุกวันนี้ แค่มีหน้าร้านอย่างเดียวอาจจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อีกต่อไป เพราะร้านค้าออนไลน์กลายเป็นอีกหนึ่งช่องทางการซื้อ-ขายสินค้าของผู้คนในยุคดิจิทัลไปแล้ว ด้วยจุดเด่นที่สร้างความสะดวกสบาย และรวดเร็วเพียงดำเนินการผ่านสมาร์ตโฟน แท็บเล็ต หรือคอมพิวเตอร์ พร้อมด้วยช่องทางรับเงินผ่าน e-Payment การปิดดีลทุกอย่างก็เป็นอันเรียบร้อย

ข้อมูลจากสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กล่าวถึงภาพรวมและแนวโน้มอุตสาหกรรมดิจิทัลในปี 2563 พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าธุรกิจ E-Commerce เป็นกลุ่มธุรกิจดิจิทัลที่มาแรงในประเทศไทย โดยคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าประมาณ 748,000 ล้านบาท สูงเป็นอันดับ 1 ในภูมิภาคอาเซียน เหล่านี้เป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่าในอนาคต E-Commerce จะเป็นช่องทางการซื้อ-ขายสินค้าของคนไทยที่มีมูลค่ามหาศาล
ที่ผ่านมา เราจะเห็นว่าหลายแบรนด์ธุรกิจเริ่มมีการปรับกลยุทธ์ทางการตลาดมากขึ้น โดยหันมาให้ความสำคัญกับช่องทางออนไลน์ผ่านแพลตฟอร์มยอดนิยมในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็น มาร์เก็ตเพลส เว็บไซต์ และ สื่อสังคมออนไลน์ เพื่อเป็นช่องทางการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ อาจจะเป็นภาคบังคับของผู้ประกอบการธุรกิจยุคใหม่ที่ต้องให้ความสำคัญกับการดำเนินงานทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ควบคู่กันไป โดยการควบรวมทั้งสองช่องทางเข้าด้วยกัน และปรับตัวในเรื่องของการซื้อขาย และการบริหาร รวมถึงช่องทางจ่ายเงินสำหรับธุรกิจออนไลน์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขายสินค้ามากขึ้น ดีกว่ายึดติดอยู่กับช่องทางเดียว
อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่ธุรกิจกำลังขยับเข้าสู่โลกออนไลน์ ทำให้การชำระเงินผ่าน e-Payment กลายเป็นที่พูดถึงกันในหมู่ของประชาชน และคนทำธุรกิจที่คาดการณ์ว่าต่อไปในอนาคตประเทศไทยจะเป็นสังคมไร้เงินสด และธุรกิจต้องปรับตัวรับมือกับการเข้าสู่การเป็นเศรษฐกิจดิจิทัล ที่การใช้เงินสดของผู้คนจะลดลงเรื่อย ๆ
ตามรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องพฤติกรรมการชำระเงินของคนไทย ระบุว่าการจ่ายและรับเงินผ่าน e-Payment ของคนไทยมีอัตราเพิ่มขึ้น โดยมีจำนวนการทำธุรกรรมผ่านอินเทอร์เน็ต และ Mobile Banking ที่ขยายตัวสูงกว่า 72% ส่วนการใช้งานผ่านพร้อมเพย์มีจำนวนสูงถึง 16.3 ล้านรายการต่อวัน (ข้อมูล ณ เดือนเมษายน 2563) และคาดการณ์ว่าธุรกรรม e-Payment จะยังคงเติบโตแบบก้าวกระโดดต่อไป เมื่อเห็นแนวโน้มของช่องทางการชำระเงินออนไลน์ในประเทศไทยแบบนี้แล้ว ผู้ประกอบการไม่ควรรอช้าที่จะนำการชำระเงินรูปแบบนี้มาใช้กับธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลดีกับธุรกิจดังต่อไปนี้

เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ

แน่นอนว่าที่ผ่านมา คนไทยเริ่มมีการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านระบบออนไลน์กันมาบ้างแล้ว เช่น การจ่ายเงินหรือรับเงินผ่าน e-Payment กันมากขึ้น รวมไปถึงการโอนเงินข้ามบัญชี การเติมเงินโทรศัพท์ การใช้จ่ายในเรื่องสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ดังนั้น ผู้ประกอบการหายกังวลในเรื่องความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการโอนเงินต่าง ๆ ได้เลย
หากพูดถึงมุมมองของการทำธุรกิจ การจ่ายเงินและรับเงินผ่าน e-Payment ก็มีข้อดีอยู่ไม่น้อย ทั้งในเรื่องความรวดเร็วที่จะได้รับเงินโดยไม่ต้องรอนาน เช่นเดียวกับผู้ประกอบการ หากนำช่องทางจ่ายเงินสำหรับธุรกิจออนไลน์รูปแบบต่าง ๆ มาใช้ ก็จะเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้าสามารถโอนเงินได้ทุกที่ ทุกเวลาไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนบนโลกนี้ ซึ่งเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจ ขยายฐานลูกค้า โดยไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง

มั่นใจในความปลอดภัย

การทำธุรกรรมผ่าน e-Payment จะสร้างความมั่นใจในเรื่องของความปลอดภัยให้ทั้งผู้ประกอบการและลูกค้า เพราะข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การโอนเงิน หรือชำระเงิน มีหลักฐานสามารถตรวจสอบได้ ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกโจรกรรมข้อมูลแต่อย่างใด
ที่ผ่านมาจะเห็นว่าหน่วยงานของภาครัฐฯ เริ่มมีการรณรงค์ให้ประชาชนหันมาใช้การทำธุรกรรมออนไลน์กันมากขึ้น เพื่อเป็นการประหยัดต้นทุนในการพิมพ์ธนบัตร ค่าใช้จ่ายในการเคลื่อนย้าย รวมถึงความปลอดภัยที่อาจจะเกิดอาชญากรรมแบบคาดไม่ถึง

ผู้ประกอบการบริหารได้คล่องตัว

ในอนาคตข้างหน้า ผู้ประกอบการอาจจะไม่มีความจำเป็นที่ต้องใช้เงินสดอีกต่อไป เพราะธุรกรรมทุกอย่างถูกดำเนินการผ่านช่องทางการจ่ายเงินสำหรับธุรกิจออนไลน์ทั้งหมด ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการหมุนเวียนของเงินในระบบเศรษฐกิจที่มีความคล่องตัวและสะดวกรวดเร็วขึ้น ไม่ต้องกังวลว่าเงินจะไปตกหล่นที่ไหน อีกทั้งยังส่งผลดีในเรื่องของการบริหารธุรกิจ เพราะการชำระเงินผ่าน e-Payment จะง่ายต่อการจัดทำบัญชี เพิ่มความโปร่งใสในการจ่ายเงิน และการชำระภาษี
เห็นแบบนี้ ผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจออนไลน์ก็ควรใช้ประโยชน์ของการจ่ายเงินผ่าน e-Payment ด้วยการเพิ่มช่องทางการชำระเงินสำหรับธุรกิจออนไลน์ให้ครอบคลุม ได้แก่ เลขบัญชีธนาคาร บัตรเครดิต-บัตรเดบิต พร้อมเพย์ เพื่อให้ลูกค้ามีทางเลือกในการชำระเงินที่ความหลากหลาย สร้างกระแสเงินสดให้ไหลเวียนในธุรกิจได้อย่างคล่องตัวนั่นเอง
ติดตามเทคนิคการปรับตัวของธุรกิจ SME ไดที่นี่ คลิกเลย
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow