การใช้ “ความคิด” สิ่งที่ควบคุมคำพูดและการกระทำให้ถูกทาง

การใช้ “ความคิด” สิ่งที่ควบคุมคำพูดและการกระทำให้ถูกทาง

By Krungsri Academy

คงไม่แปลกที่เวลาเราได้ยินหรืออยู่ในเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึกไม่พอใจแล้วเราจะแสดงอาการต่อต้านขึ้นมา ไม่ว่าจะด้วยสีหน้า ท่าทางหรือคำพูด แต่คุณสังเกตไหมว่า ทุกปัญหาตั้งแต่เรื่องเล็กไปจนถึงเรื่องใหญ่ ไม่ว่าจะเรื่องภายในครอบครัว เรื่องที่ทำงานหรือกระทั่งปัญหาที่เราเห็นอยู่ในข่าวทุกวันนี้ อาจเกิดจากความรุนแรงที่ไม่จำเป็น หรือไม่ก็ขาดสติยั้งคิดก่อนจะพูดหรือทำอะไรบางอย่างเพียงเพื่อต้องการตอบโต้นั่นเอง

คุณเคยได้ยินคำสอนของคานธีกันมั้ยคะ ที่ว่า
"จงระวังความคิด เพราะความคิดจะกลายเป็นคำพูด
จงระวังคำพูด เพราะคำพูดจะกลายเป็นการกระทำ
จงระวังการกระทำ เพราะการกระทำจะกลายเป็นนิสัย
จงระวังนิสัย เพราะนิสัยจะกลายเป็นบุคลิก
จงระวังบุคลิก เพราะบุคลิกจะกลายเป็นชะตากรรม"
ทั้งหมดที่ว่ามานี้ มีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดทั้งสิ้น ทุก ๆ คนรู้ว่า ต้องคิดให้ดีก่อนตัดสินใจพูดหรือทำ แน่นอนว่า ไม่มีใครอยากเสียใจในภายหลัง แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะรู้ทันความคิดกันล่ะ เราอยากให้คุณนึกถึงอย่างน้อย 2 ใน 5 แง่มุมนี้ ขณะที่คุณอยู่ในสถานการณ์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เมื่อเกิดความขัดแย้ง ลองบอกกับตัวเองตามนี้

1. สิ่งที่คุณพูดและกระทำบ่งบอกความเป็นตัวตนของคุณเอง

ถ้ามีใครมาพูดไม่ดีหรือทำในสิ่งแย่ ๆ กับคุณ สิ่งนั้นก็บ่งบอกถึงความเป็นตัวตนของคน ๆ นั้นเอง คุณไม่สามารถบังคับให้ทุกคนดีกับคุณได้ แต่คุณทำในส่วนของคุณให้ดีโดยการฝึกฝนและพัฒนาตนเอง ทุ่มเทกับการทำงาน สร้างมูลค่าให้กับตัวเองได้ในทุกวัน

2. เวลาของคุณมีค่า อย่าเอาทัศนคติติดลบหรือคำพูดร้ายมาบั่นทอนตัวเอง

เช่น การยึดติดกับความแค้นมีแต่จะทำให้ความคิดคุณจมลง อดีตคือสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว เรียนรู้ที่จะปล่อยวางจากเรื่องที่ไม่มีสาระ อย่าใช้ชีวิตอยู่แต่กับความทุกข์นานจนลืมไปว่าชีวิตต้องดำเนินต่อไปข้างหน้า

3. การโต้เถียงไม่มีวันสิ้นสุด ตราบใดที่จุดประสงค์ของมันไม่ได้เพื่อจะหาทางแก้ไขมาตั้งแต่แรก

เพราะงั้นแทนที่จะหาจุดอ่อนเพื่อตอกกลับไปมา ให้หันมาหาจุดลงตัวเพื่อยุติปัญหา นอกจากจะเป็นผลดีกับตัวคุณแล้วยังช่วยตัดปัญหาอื่น ๆ ที่จะตามมาด้วย

4. มองปัญหาในมุมกว้าง

ไม่ใช่แค่คุณที่เจอเรื่องแย่ ๆ แต่ละคนล้วนมีปัญหาหลากหลายที่ต้องรับมือ บางคนรับมือกับปัญหายาก ๆ ได้ เพราะเขาเข้าใจต้นเหตุของปัญหาเป็นพื้นฐาน รับรู้มุมมองอีกฝ่ายที่อยู่ตรงข้ามกันแล้วพยายามหันหน้าคุยกัน หลาย ๆ ครั้งสารที่รับมาไม่ตรงกันก็เป็นเหตุให้เข้าใจผิดกัน เพราะฉะนั้นการสื่อสารกันอย่างตรงไปตรงมา บนพื้นฐานของเหตุผลนั้นเป็นวิธีง่าย ๆ ที่ได้ผล

5. อย่าให้อารมณ์เพียงชั่ววูบ ทำให้คุณเสียใจกับผลของมันไปตลอด

ไคำพูดไม่อาจถอนคืนได้ การกระทำก็เช่นกัน คุณไม่สามารถย้อนกลับไปแก้ไขเรื่องราวในอดีตได้ ทางที่ดีคือทำปัจจุบันให้ดีที่สุด หยุดใช้อารมณ์และหันมาใช้ความคิดตรึกตรองให้ดีก่อนทุกครั้ง

ในทุกเหตุการณ์ คุณมีตัวเลือกเสมอ คุณสามารถที่จะตอบกลับอย่างชาญฉลาด หลีกเลี่ยงความรุนแรงได้ ขอแค่ให้คุณมีสติกับตัว คิดให้ดีทุกครั้งก่อนตัดสินใจพูดหรือทำอะไร แล้วก้าวต่อไป คุณสามารถเรียนรู้ข้อผิดพลาดจากผู้อื่นเพื่อนำไปปรับปรุงและหลีกเลี่ยงปัญหาที่อาจจะเกิดตามมาได้
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow