SMEs ยุค Social Network ปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอด

SMEs ยุค Social Network ปรับตัวอย่างไรให้อยู่รอด

By Krungsri Guru

คงเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า ปัจจุบันนี้ Social Network ได้มีอิทธิพลต่อคนส่วนใหญ่เป็นอย่างมาก ตั้งแต่ตื่นยันเข้านอน แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้น SMEs ในยุคนี้จึงต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอดและใช้ช่องทาง Social Network ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการแสวงหาโอกาส เช่น

  • ใช้เทคนิคการสื่อสารข้อมูลที่กระชับ ได้ใจความ หรือวลีเด็ด
  • ใช้กลยุทธ์การตลาดแบบ Viral Marketing ที่เน้นการจดจำในแบรนด์สินค้านั้น ๆ และเกิดการบอกต่อพูดถึงในวงกว้าง
  • ใช้การโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์
โอกาสของ SMEs ยังไม่หมดอยู่แค่นี้ หากมีศักยภาพในการแสวงหาโอกาสทางธุรกิจเพิ่มก็จะช่วยสร้างมูลค่าได้มากขึ้นตามไปด้วย เช่น ในยุคปัจจุบันนี้แนวโน้มการใช้ Social Network เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากการเปลี่ยนระบบทีวีแอนะล็อกไปสู่ระบบทีวีดิจิทัล ซึ่งทำให้ผู้คนในสังคมสามารถรับรู้ข้อมูลและติดต่อสื่อสารกันได้หลากหลายหน้าจอ ทั้งสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก โทรทัศน์ เป็นต้น อีกทั้งยังได้เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าและบริการอีกด้วย โดย SMEs ในยุคดิจิทัลนี้ควรปรับตัวประกอบธุรกิจ ดังนี้
 
1
ใช้เทคนิคสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่เข้าใจง่าย ได้ใจความ หรืออาจทำข้อมูลในรูปแบบ Infographic ที่รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้ในรูปเดียว ก็จะช่วยตอบสนองต่อการตัดสินใจของผู้บริโภคได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น
 
 
2
การผลิตสื่อโฆษณาเพื่อเผยแพร่ทางโทรทัศน์อาจจะเปลี่ยนไปบ้าง แต่ก็ยังเป็นที่ต้องการอยู่ไม่น้อย ควรดึงผู้บริโภค เช่น โฆษณาที่เน้นถึงแบรนด์ ถ่ายทอดเรื่องราวสั้น ๆ แต่เป็นที่จดจำ การใช้เทคนิคทางภาพถ่ายและเสียงที่ดึงดูดผู้บริโภคให้ซื้อสินค้านั้น ๆ เป็นต้น
 
3
การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์อีกอย่างหนึ่งก็คือ การสร้าง Official Fanpage หรือ Official Account ทั้งใน Facebook, Instagram หรือสื่อ Social Network ต่าง ๆ เป็นต้น โดยสื่อสารข้อมูลโต้ตอบผ่านกันอย่างต่อเนื่องและรวดเร็ว ไม่เพิกเฉยต่อคำติชมและร้องเรียน อีกทั้งยังสามารถสร้าง Viral Marketing ที่ทำให้ผู้บริโภครับรู้และจดจำแบรนด์สินค้า ให้พูดถึงและสามารถแชร์กันได้อย่างรวดเร็ว
 
4
ไม่ใช่เฉพาะแต่ผู้มีชื่อเสียงเท่านั้นที่จะเป็นพรีเซนเตอร์โฆษณาสินค้า ลูกค้าหรือผู้ซื้อสินค้าก็มีส่วนที่ช่วยโปรโมทสินค้าไปในตัวได้เช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น รีวิวสินค้า ทำให้มีส่วนช่วยในการตัดสินใจซื้อสินค้านั้นมากขึ้น แต่ทั้งนี้ตัวสินค้าเองต้องดีจริงด้วย เป็นการใช้กลยุทธ์บอกต่อหรือ Word of Mouth ไปในตัว เพื่อให้ผู้ใช้สินค้ามีการแนะนำสินค้าอย่างต่อเนื่อง และขยายวงกว้างมากที่สุด
 
5
ลูกค้าส่วนใหญ่นิยมหาข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว เข้าถึงข้อมูลได้อย่างหลากหลาย จึงส่งผลให้มีความนิยมหาข้อมูลและซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น ดังนั้น SMEs ควรใช้ช่องทางนี้โฆษณา พร้อมบรรยายข้อมูลให้ครบถ้วนให้ลูกค้าสามารถตัดสินใจและเลือกซื้อสินค้า เพื่อให้เกิดความเชื่อถือในแบรนด์นั้นและกลับมาซื้อสินค้ากับทางแบรนด์อีก
อย่างไรก็ตามการใช้ Social Network ในการปรับตัวและแสวงหาโอกาสนั้น SMEs จำเป็นต้องมีการควบคุมสินค้าและการบริการให้มีคุณภาพควบคู่ไปด้วย ซึ่งหากมีความผิดพลาดหรือความไม่พอใจในตัวสินค้า ข้อมูลในด้านลบต่าง ๆ ก็จะถูกเผยแพร่อย่างรวดเร็วเช่นกัน ดังที่ได้เห็นข้อมูลต่าง ๆ บน Social Network กันอยู่ทุกวันนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow