ยุค 2016 วางสัดส่วนการตลาดออฟไลน์-ออนไลน์อย่างไรดี

ยุค 2016 วางสัดส่วนการตลาดออฟไลน์-ออนไลน์อย่างไรดี

By Krungsri Guru

ว่าด้วยเรื่องการทำการตลาดในยุค 2016 หลายคนอาจมีคำถามที่ยังคาใจว่าเราควรลงทุนสำหรับงบการตลาดหรือแบ่งสัดส่วนการทำการตลาดระหว่างออฟไลน์และออนไลน์อย่างไรดีจึงจะประสบความสำเร็จ และเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคมากที่สุด ในยุคที่สื่อออนไลน์เข้ามามีบทบาทต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้นนั้น แบรนด์ต่าง ๆ จึงหันมาสนใจและทำการตลาดบนสื่อออนไลน์เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่ออฟไลน์ยังคงมีความสำคัญอยู่ไม่น้อยเช่นกัน โดยการแบ่งสัดส่วนระหว่างออฟไลน์และออนไลน์ขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญต่าง ๆ ดังนี้

 

ประเภทของสินค้าและธุรกิจ



การวางสัดส่วนระหว่างการทำตลาดออฟไลน์และออนไลน์อย่างไรนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้าและธุรกิจด้วย หากเป็นธุรกิจ B2B การทำการตลาดออนไลน์อาจเป็นส่วนช่วยเสริม ทั้งนี้จะต้องอาศัยการทำการตลาดออฟไลน์เป็นส่วนหลักในการเข้าหาลูกค้า เช่น สินค้าประเภทสารเคมี ส่วนประกอบในเครื่องสำอาง จะต้องใช้ทีมเซลส์และการตลาดออฟไลน์ในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายซึ่งก็คือโรงงานผู้ผลิตเครื่องสำอาง มากกว่าการใช้การตลาดแบบออนไลน์ ในขณะที่สินค้า B2C เช่น ครีมทาผิว หรือเครื่องสำอางต่าง ๆ การทำการตลาดออนไลน์ที่เพิ่มมากขึ้นจะสามารถเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคได้มากขึ้น เป็นต้น
 

พฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย



ทุกวันนี้พฤติกรรมของผู้บริโภคเริ่มมีการใช้สื่อออนไลน์ค่อนข้างมาก อาจเรียกได้ว่าสื่อออนไลน์กลายมาเป็นส่วนสำคัญในชีวิตเลยก็ว่าได้ เห็นได้จากการเปลี่ยนพฤติกรรมจากการอ่านหนังสือที่เป็นกระดาษมาเป็นหนังสือดิจิทัล หรือการใช้โซเชียลเน็ตเวิร์กที่เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตามพฤติกรรมการใช้สื่อออนไลน์ที่เปลี่ยนไปนั้นจะขึ้นอยู่กับช่วงอายุและการเข้าถึงของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน โดยวัยรุ่นและวัยทำงานจะมีพฤติกรรมการเสพสื่อออนไลน์และสื่อโซเชียลมีเดียมากกว่าวัยผู้ใหญ่ หรือผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัดอาจมีการเสพสื่อออนไลน์น้อยกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ แต่สื่อโทรทัศน์และสื่อออฟไลน์จะเป็นสื่อหลักที่สามารถเข้าถึงผู้บริโภคในต่างจังหวัดได้มากกว่า เป็นต้น เราจึงต้องเข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายให้ดีเสียก่อน
 

อุปกรณ์สื่อสารของผู้บริโภค



โทรศัพท์มือถือ หรือสมาร์ทโฟน หรืออวัยวะชิ้นที่ 33 ของ “สังคมก้มหน้า” ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป จากการซื้อของที่ร้าน เป็นกดซื้อ-ขายผ่านหน้าจอ คลิกซื้อได้ทันที ดังนั้นมือถือจึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อผู้บริโภค เพราะโทรศัพท์มือถือกลายเป็นอุปกรณ์เชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ เข้าไว้ด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นทั้งการใช้ชีวิตประจำวัน การเข้าสังคม ความบันเทิง หรือแม้กระทั่งติดต่อธุรกิจ “มือถือ” จึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่นักการตลาดไม่ควรมองข้าม
 

การสร้างความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์



ในขณะที่เราใช้สื่อออนไลน์เพื่อเพิ่มการเข้าถึงผู้บริโภคที่มีพฤติกรรมเปลี่ยนไปใช้สื่อออนไลน์มากขึ้น การใช้สื่อออฟไลน์ถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถสร้างความน่าเชื่อถือและเพิ่มการรับรู้ของผู้บริโภคได้ด้วยเช่นกัน โดยสื่อออฟไลน์จะเป็นการเพิ่มการมองเห็นที่จับต้องได้ให้กับสินค้านั้น ๆ เพิ่มมากขึ้น

การทำการตลาดในยุคนี้ ต้องรู้จักผสมผสานระหว่างสื่อ “ออฟไลน์” และ “ออนไลน์” เข้าด้วยกัน ในการช่วยสร้างกระแสและทำให้คนเห็นแบรนด์หรือตัวสินค้ามากขึ้น ทั้งนี้การแบ่งสัดส่วนต้องขึ้นอยู่กับตัวของธุรกิจและปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค เทคโนโลยี และสื่อที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคด้วยเช่นกัน ลองศึกษาข้อมูลต่าง ๆ ที่มีประโยชน์ต่อธุรกิจและ SME ได้ที่เว็บไซต์ของธนาคารกรุงศรีดูนะครับ หวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow