การทำธุรกิจเพื่อสังคมมีกี่ประเภท และสร้างรายได้อย่างไรให้ยั่งยืน

การทำธุรกิจเพื่อสังคมมีกี่ประเภท และสร้างรายได้อย่างไรให้ยั่งยืน

By Krungsri Guru

ปัจจุบันนี้มีธุรกิจใหม่ที่กำลังมาแรงเรียกว่า “กิจการเพื่อสังคม” โดยมีการดำเนินงานสร้างรายได้ที่ช่วยดูแลสังคม สิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากการทำ CSR ของบริษัทหรือองค์กรใหญ่ ๆ ผู้ดำเนินธุรกิจแบบนี้จะสามารถสร้างและบริหารรายได้บริษัทให้ยั่งยืนได้อย่างไร มาดูกันครับ

เศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่

การทำธุรกิจแบบที่มีสำนึกรับผิดชอบต่อสังคมเป็นทางเลือกที่หลายต่อหลายหน่วยงานในภาคเอกชนหันมายึดถือเป็นแนวปฏิบัติขององค์กร กลายเป็นที่มาของการทำกิจกรรมเพื่อสังคมหรือ CSR ที่ได้รับการบรรจุอยู่ในแผนธุรกิจของบริษัทเสมอ

ผู้ประกอบการเพื่อสังคมคืออะไร?

ผู้ประกอบการเพื่อสังคมเป็นองค์กรธุรกิจที่แสวงหาผลกำไรเช่นกัน เพียงแต่ผลกำไรนั้นตั้งอยู่บนพื้นฐานและเป้าหมายในการพัฒนาสังคมในหลาย ๆ แง่มุมอย่างยั่งยืน ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม สาธารณสุข และการมีส่วนร่วมของชุมชนในพื้นที่ ธุรกิจเพื่อสังคมจะมีจุดประสงค์ชัดเจน เช่น เพื่อสร้างงานให้ชุมชน เพื่อฝึกทักษะให้คนในชุมชน เพื่อจัดหาทรัพยากร หรือบริการต่าง ๆ ให้คนในชุมชน เพื่อยกระดับการศึกษา หรือเพื่อคุ้มครองสิ่งแวดล้อมและสิทธิสัตว์ เป็นต้น โดยจะไม่มีการผูกขาดทางการค้าแต่อย่างใด ทำให้ผลประโยชน์สามารถถูกกระจายออกไปได้อย่างทั่วถึงทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นบริษัท ชุมชน และผู้บริโภค

ลักษณะเด่นของกิจการเพื่อสังคม

  • ดำเนินงานเพื่อผลประโยชน์ทางสิ่งแวดล้อมหรือสังคม มีแนวทางการหารายได้ด้วยตนเองเพื่อหล่อเลี้ยงการดำเนินงานอย่างยั่งยืน ที่มาของรายได้อาจจะอยู่ในรูปแบบการขายผลิตภัณฑ์ หรือบริการ มีการระดมทุนที่ให้ผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน สามารถทำการรณรงค์ขอรับการสนับสนุนหรือบริจาคเงินแบบให้เปล่าเหมือนองค์กรสาธารณประโยชน์ได้
  • เน้นใช้นวัตกรรมที่ช่วยแก้ปัญหา คิดค้นวิธีการใหม่ ๆ ที่สามารถช่วยแก้บัญหาการดำเนินงานได้อย่างได้ผล ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ สามารถต่อยอดได้
  • การดำเนินงานโดยอาศัยความร่วมมือของหลาย ๆ ฝ่ายเพื่อใช้ศักยภาพเฉพาะทางของหน่วยงานต่าง ๆ ในเครือข่ายองค์กรได้ เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาซับซ้อนได้นั่นเอง
(หาไอเดียนวัตกรรมทางการเงินอื่น ๆ)

ผู้ประกอบการเพื่อสังคมต่างกับองค์กรไม่แสวงหากำไรอย่างไร?

ผู้ประกอบการเพื่อสังคมเป็นองค์กรที่ทำธุรกิจโดยสร้างผลกำไร แต่ว่าผลกำไรนี้ไม่ได้นำมาแบ่งให้เฉพาะผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นการได้รับผลกำไรของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของธุรกิจทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นบริษัท คนงาน สังคม ชุมชน สิ่งแวดล้อม ผู้บริโภค ฯลฯ และมีการวัดผลจากหลายดัชนีด้วยกัน เช่น เป็นคุณภาพชีวิตและโครงสร้างสังคมที่ดีขึ้น
สิ่งสำคัญ คือ “การที่ชุมชน และบริษัทสามารถพึ่งพาตนเองได้” ไม่ต้องรอความช่วยเหลือจากองค์กรภายนอก หรือรัฐบาลแต่อย่างเดียว ทำให้สามารถยกระดับความเป็นอยู่การใช้ชีวิตของคนในชุมชนไปในทางที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนได้

สมการเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่

ปัจจุบันนี้ หลังจากธุรกิจเพื่อสังคม ธุรกิจสายพันธุ์ใหม่ที่เกิดขึ้นมาทำให้เกิดสมการทางเศรษฐกิจสายพันธุ์ใหม่ ได้แก่
 
กำไร = เงิน + ความสุขของทุก ๆ คน
ความมั่งคั่งไม่ได้ถูกจำกัดความหมายอยู่ที่ความร่ำรวยด้านเงินทองอีกต่อไป แต่อาจจะหมายถึงการได้อยู่ในชุมชน สังคมที่ดีก็ได้เช่นกัน ดังนั้นจากพฤติกรรมของนักลงทุนและผู้บริโภคในปัจจุบันต่างเน้นไปที่คุณภาพชีวิต และความพอใจในการใช้ชีวิต ความรับผิดชอบต่อสังคมได้ถูกนำมาใช้เป็นมาตรวัดการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือลงทุนกับบริษัทอื่น ๆ อีกด้วย
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow