First Jobber ทำอย่างไรให้มีเงินเหลือใช้

First Jobber ทำอย่างไรให้มีเงินเหลือใช้

By Krungsri Plearn Plearn
หลังจากที่เราเรียนจบทุกคนก็ต้องมุ่งเข้าสู่วัยทำงานและแน่นอนว่า First Jobber จะต้องพบกับอะไรที่ท้าทายในชีวิตอยู่หลายอย่าง ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องการทำงาน และพัฒนาตัวเองเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องการบริหารเงินให้พอใช้ในแต่ละเดือน และสามารถแบ่งเงินออมบางส่วนมาต่อยอดการลงทุนเพื่อหารายได้เสริม สร้างความมั่นคงในชีวิตได้ หากคุณเป็นคนหนึ่งที่เป็น First Jobber พึ่งเริ่มทำงาน และกำลังดูว่าเราจะต้องทำอย่างไรให้มีเงินเหลือใช้ น้องเพลินเพลินจะพาทุกคนไปดูแนวทางการแบ่งเงินฉบับคนเริ่มทำงานเพื่อให้เราสามารถวางแผนชีวิตดี ๆ ในอนาคตได้
first jobber คืออะไร

รู้จัก First Jobber ว่าคืออะไร

First Jobber คือ กลุ่มคนที่พึ่งเรียนจบและก้าวสู่วัยทำงานในช่วง 4 ปีแรก พูดง่าย ๆ ก็คือกลุ่มน้อง ๆ ที่อายุประมาณ 22-26 ปี ที่กำลังเป็นน้องรักของพี่ ๆ ในทีมที่ออฟฟิศนั่นล่ะ เรียกได้ว่าเป็นวัยที่กำลังเรียนรู้และพัฒนาการทำงาน แต่อย่างไรก็ตาม การที่เราเป็น First Jobber ก็ต้องไม่ลืมว่า ในช่วงอายุนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่เราจะต้องเริ่มวางแผนการเงิน และการลงทุนของตัวเองให้สอดคล้องกับเป้าหมายในอนาคต ยิ่งเราวางแผนได้เร็วยิ่งได้เปรียบกว่าคนอื่น

ทำไม First Jobber จึงต้องเก็บเงินตั้งแต่อายุยังน้อย

ช่วงที่เริ่มทำงานนั้นจะเป็นช่วงที่ดีที่สุดในการเก็บเงิน และเหตุผลที่ First Jobber จะต้องแบ่งเงินมาลงทุนตั้งแต่อายุยังน้อย มีดังนี้
  1. มีเงินทำตามความฝัน : การวางแผนการเงินนั้นจะช่วยทำให้ First Jobber มีเงินและสามารถทำตามความฝันได้ ไม่ว่าจะเป็นความฝันที่อยากมีบ้านเป็นของตัวเอง มีรถที่ช่วยให้เราไปไหนได้อย่างสะดวกสบาย รวมไปถึงการมีเงินที่เราสามารถนำไปใช้จ่ายในเรื่องต่าง ๆ ตามไลฟ์สไตล์ของเราได้อย่างที่ต้องการ
  2. เตรียมรับภาระในอนาคต : ในช่วงที่เราอายุยังน้อย การดูแลครอบครัวยังเป็นหน้าที่ของพ่อแม่ แต่เมื่อเรามีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ เราก็จะต้องรับผิดชอบในภาระต่าง ๆ ของครอบครัว การเริ่มเก็บเงินตั้งแต่วัยที่เราเป็น First Jobber ก็จะช่วยให้เราสามารถมีเงินทุนในการนำไปใช้ดูแลพ่อแม่และลูกของเราที่จะเกิดมาในอนาคตได้อีกด้วย
  3. มีเงินสำรองไว้ใช้ในอนาคต : ไม่มีใครรู้หรอกว่าในวันพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร และชีวิตของเราทุกคนสามารถเจอเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันได้ตลอด การเก็บเงินสำรองเอาไว้ใช้ในยามฉุกเฉินก็เป็นสิ่งที่ First Jobber จะต้องเตรียมตัวเอาไว้เช่นกัน โดยเก็บเงินสำรองเอาไว้ซัก 6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน
  4. มีเงินเพื่อใช้ในยามเกษียณ : เราจะต้องไม่ลืมว่าในแต่ละวันที่ผ่านไป เราจะมีอายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และวันหนึ่งที่เราอายุ 60 ปีก็จะพบว่าตัวเองต้องเกษียณอายุงาน โอกาสในการทำงานเพื่อหารายได้ก็จะลดลง การเก็บเงินเพื่อเตรียมพร้อมในยามเกษียณจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ และเราควรจะเริ่มต้นวางแผนตั้งแต่สมัยเป็น First Jobber ซึ่งหากใครสามารถเก็บเงินได้อย่างรวดเร็วก็อาจจะเกษียณอายุเร็วกว่าคนอื่นได้อีกด้วย

เห็นไหมว่าการบริหารเงินและการลงทุนนั้นมีความสำคัญต่อชีวิตของเรามาก และเป็นสิ่งที่ First Jobber จะต้องเริ่มลงมือให้เร็วที่สุดและตั้งแต่อายุยังน้อย เพราะหากวางแผนช้าก็อาจจะทำให้เราไม่สามารถรับมือภาระต่าง ๆ ได้อย่างสะดวก
ทำอย่างไรให้ first jobber มีเงินเหลือใช้

ทำอย่างไรให้มีเงินเหลือใช้

หลายคนอาจจะทำงานมาเป็นปีแล้วแต่พบว่า ตัวเองยังไม่มีเงินเก็บเลย แต่จริง ๆ แล้วการเก็บเงินนั้นเป็นเรื่องที่เราทำได้ไม่ยาก โดยเราต้องเข้าใจก่อนว่าเงินออมนั้นเกิดมาจากรายรับที่มากกว่ารายจ่าย ซึ่งหากเราสามารถทำให้รายรับมากกว่ารายจ่ายได้ทุกเดือน ก็จะสามารถมีเงินเก็บได้อย่างไม่ยาก

Tips by น้องเพลินเพลิน : บริหารเงินเดือนฉบับ First Jobber มีเงินเก็บ ต่อยอดการลงทุนสร้างความมั่นคงในอนาคต

มาดูเทคนิคและแนวทางในการบริหารเงิน และต่อยอดการลงทุนกันดีกว่าว่าจะต้องทำอย่างไรกันบ้าง น้องเพลินเพลินก็อยากจะมาแชร์ 4 วิธีการใช้เงินเพื่อประโยชน์ในอนาคต ดังนี้

1) ใช้เงินเดือนให้คุ้มค่าที่สุด

First Jobber สามารถใช้สูตร 50-20-30 ได้ เมื่อเราได้รับเงินเดือนมาในวันที่เงินเดือนออก ให้เราแบ่งเงินออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
  • ส่วนที่ 1 : ค่าใช้จ่ายจำเป็น 50% เป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ทั้งค่าใช้จ่ายส่วนตัว ค่ากิน ค่าเดินทางไปทำงาน ค่าใช้จ่ายที่ต้องให้พ่อแม่ ค่าเช่าบ้าน ค่าโทรศัพท์ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่มีความจำเป็นในการใช้ชีวิตในแต่ละวัน
  • ส่วนที่ 2 : เงินสำหรับสร้างความสุข 20% เอาไว้ใช้ในการสังสรรค์ ทานปิ้งย่างชาบูกับเพื่อน ๆ ชอปปิง ซื้อของที่อยากได้ และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่ทำให้เรามีความสุขในการใช้ชีวิต รวมไปถึงการเข้าสังคมกับเพื่อน ๆ
  • ส่วนที่ 3 : เงินสำหรับเก็บออม 30% เป็นเงินที่เราจะเก็บเอาไว้ใช้ตามเป้าหมายทางการเงินที่วางไว้ เช่น เงินสำรองเผื่อฉุกเฉิน เงินเก็บสะสมไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณ เงินเก็บที่เราวางแผนเอาไว้ใช้เพื่อสร้างอนาคตกับครอบครัว

ตัวอย่างเช่น เรามีเงินเดือน 20,000 บาท ก็ให้แบ่งเงินเป็น 3 ส่วน คือ
  • ส่วนที่ 1 : 10,000 บาท นำไปเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
  • ส่วนที่ 2 : 4,000 บาท นำไปใช้จ่ายเพื่อความสุข
  • ส่วนที่ 3 : 6,000 บาท นำไปลงทุนในหุ้น กองทุนรวม และธุรกิจเพื่อความมั่งคั่ง

นอกจากนี้ อีกวิธีการเก็บเงินที่ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ นั่นคือ “การออมก่อนใช้” โดยเราจะกำหนดเงินเดือนที่เราต้องออม ซึ่งอาจจะกำหนดเป็นตัวเลขเลยก็ได้ เช่น เดือนละ 2,000 บาท หรือกำหนดเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายได้ เช่น เงินเดือน 10% ของรายได้ หากใครมีเงินเดือน 20,000 บาท ออม 10% ก็จะออม 2,000 บาทต่อเดือน ซึ่งการใช้เปอร์เซ็นต์ในการออมจะทำให้เราออมได้มากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อเรามีเงินเดือนมากขึ้น

2) ใช้สวัสดิการใกล้ตัว ได้ประโยชน์กว่าที่คิด

เมื่อเราก้าวสู่สังคมวัยทำงานในฐานะ First Jobber เราจะได้รับทั้งเงินเดือนและสวัสดิการต่าง ๆ จากทางบริษัท อย่าลืมตรวจสอบสวัสดิการกับทางบริษัทว่าเราได้รับอะไรบ้าง เช่น สิทธิ์ในการรักษาพยาบาลด้วยประกันกลุ่ม ซึ่งทำให้เราสามารถประหยัดเงินค่ารักษาพยาบาลได้มาก นอกจากนี้บางบริษัทยังมีสวัสดิการให้พนักงานได้งบประมาณเพื่อซื้อสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานและการดูแลสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นแว่นตา เสื้อผ้าออกกำลังกาย นอกจากนี้บางบริษัทยังมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่ทำให้เราสามารถสะสมเงินเอาไว้เพื่อใช้ในอนาคตอีกด้วย

3) ใช้เงินให้ถูกทางด้วยการวางแผนภาษี ชีวิต-สุขภาพและการเกษียณ

ในการวางแผนการเงินในขั้นตอนแรก First Jobber สามารถเริ่มต้นจากการสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของเรา เช่น การวางแผนภาษีที่เราสามารถนำค่าลดหย่อนต่าง ๆ จากการลงทุนในกองทุนต่าง ๆ ที่ได้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี ไม่ว่าจะเป็น SSF RMF และ TESG นอกจากนี้เรายังสามารถวางแผนชีวิตและสุขภาพจากการซื้อประกันเพื่อคุ้มครองความเสี่ยง และอย่าลืมวางแผนเก็บออมทุกเดือนเพื่อให้เรามีเงินใช้ในยามเกษียณด้วย

4) ใช้เงินทำงานความมั่งคั่งจะทวีคูณ

เมื่อเราสามารถสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตของเราแล้ว เราก็จะมาต่อยอดในการสร้างความมั่งคั่งจากการทำธุรกิจและการลงทุน แน่นอนว่าสมัยนี้การมีรายได้เพียงทางเดียวอาจจะมีความเสี่ยงในชีวิตและอาจจะไม่เพียงพอในอนาคต เราจึงต้องหารายได้ทางอื่นเพิ่มเติม โดยเราอาจจะเริ่มจากสิ่งที่เราสามารถทำได้ง่าย ๆ เช่น
  • ทำธุรกิจที่หารายได้เสริมแบบง่าย ๆ เช่น การขายของออนไลน์ โดยเลือกสิ่งที่เราสนใจและมีความสามารถที่จะเล่าให้คนอื่นฟังได้ว่าของที่เราขายมีจุดเด่นอย่างไร และช่วยแก้ปัญหาอย่างไรให้ลูกค้าได้บ้าง
  • นำเงินไปลงทุนในหุ้นเพื่อเป็นเจ้าของกิจการ โดยอาจจะใช้กลยุทธ์การลงทุนแบบทยอยซื้อหุ้นหรือกองทุนรวมแบบรายเดือน (DCA) เพื่อสะสมความมั่งคั่ง เมื่อเราสะสมหุ้นและกองทุนรวมที่มีการจ่ายเงินปันผลให้เราได้มาก เราก็จะได้เงินมาเรื่อย ๆ ไม่ต่างกับการสร้างเครื่องผลิตเงินให้กับตัวเองเลย
แนะนำกองทุนสำหรับ first jobber
น้องเพลินเพลิน by Krungsri ขอแนะนำกองทุนรวมที่เป็นดาวเด่นในเดือนสิงหาคม คือ KFSMART ซึ่งเป็นกองทุนที่มีความเสี่ยงระดับต่ำถึงปานกลาง เหมาะกับความเสี่ยงของกลุ่ม First Jobber ได้อย่างดี โดยมีรายละเอียดดังนี้
  • ธีมการลงทุน : สำหรับ First Jobber น้องเพลินเพลินแนะนำให้เน้นลงทุนในตราสารหนี้ภาครัฐ ตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินหรือบริษัทเอกชนในประเทศ ตราสารหนี้ที่ออกโดยสถาบันการเงินหรือบริษัทเอกชนต่างประเทศ ซึ่งมีอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหรือของผู้ออกตราสารอยู่ในอันดับที่สามารถลงทุนได้ (Investment Grade)
  • ระดับความเสี่ยง : 4 (เสี่ยงปานกลางค่อนข้างต่ำ) ซึ่งเป็นความเสี่ยงที่เหมาะสมกับ First Jobber เนื่องจากมีความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ
  • ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน ความเสี่ยง และศึกษาสิทธิประโยชน์ทางภาษีในคู่มือการลงทุนก่อนตัดสินใจลงทุน

และอย่าลืมว่า ก่อนที่เราจะตัดสินใจในการลงทุน จะต้องมีการวางแผนจัดพอร์ตเพื่อความเสี่ยงไปยังสินทรัพย์ต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น
  • ลงทุนในกองทุนหุ้น 20%
  • ลงทุนในกองตราสารหนี้ 50%
  • ลงทุนในทองคำ 10%
  • ลงทุนในเงินฝาก 10%

สรุปบทความเรื่องเป็น First Jobber ทำอย่างไรจึงจะมีเงินเก็บ

อย่าลืมว่าเมื่อเราเรียนจบและเข้ามาสู่วัยทำงานแล้ว นอกจากการบริหารเงินเดือนและการใช้สวัสดิการต่าง ๆ อย่างคุ้มค่าแล้ว การควบคุมรายจ่ายต่าง ๆ ให้เหมาะสมก็จะทำให้ First Jobber มีเงินเก็บที่มากขึ้น ซึ่งเงินเก็บเหล่านี้ก็สามารถนำไปต่อยอดการลงทุนเพื่อเพิ่มความมั่งคั่งให้กับชีวิตและสร้างอนาคตของเราให้สดใสและเป็นไปตามความฝันได้
 
อ้างอิง
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow