สัญญาณอันตราย ที่แสดงว่าคุณกำลังเสพติดการเป็นผู้ประกอบการ

สัญญาณอันตราย ที่แสดงว่าคุณกำลังเสพติดการเป็นผู้ประกอบการ

By Krungsri Guru

ความสุขจากการเห็นรายรับงอกเงยจากธุรกิจที่ตัวเองสร้าง ความสุขเมื่อเห็นปัญหาได้รับการแก้ไขด้วยการลงมือลงแรงด้วยตัวเอง ยิ่งทำ ยิ่งเห็นผล ยิ่งมีความสุข พอยิ่งมีความสุข ก็ยิ่งทำมากขึ้นไปอีก ซึ่งวัฏจักรเช่นนี้เองก่อให้เกิดอาการที่เรียกว่า “เสพติดการเป็นผู้ประกอบการ” ซึ่งหากคุณเป็นคนหนึ่งที่เป็นผู้ประกอบการ หรือหากคนใกล้ตัวคุณเป็นผู้ประกอบการแล้วล่ะก็ วันนี้ เรามาสำรวจดูกันครับว่า คุณมีสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังมีอาการเสพติดอยู่หรือไม่

พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง 


  • หมกมุ่น วัน ๆ เอาแต่คิดเรื่องธุรกิจที่ทำอยู่ ไม่ว่าจะนั่ง กิน เดิน นอน หายใจเข้า หายใจออก ไม่ว่าจะเป็นการคิดแก้ปัญหาที่ค้างคาอยู่ การคิดหาการต่อยอด หรือขยายธุรกิจ บ่อยครั้งก็เก็บเอาไปฝัน หากเป็นมาก อาจจะถึงขั้นนอนไม่หลับ เพราะยังคิดอยู่ตลอดเวลา
  • ถอยห่างจากสังคม ไม่ค่อยออกไปสังสรรค์ ไม่มีเวลาแม้แต่จะไปพักผ่อน ออกกำลังกาย หรือใช้เวลากับครอบครัว เพราะคุณจะรู้สึกผิดเมื่อไม่ได้ทำงาน และการหาความสุขใส่ตัวด้วยกิจกรรมที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจจึงเป็นเรื่องที่ผิดสำหรับคุณ
  • ลืมเรื่องต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับงาน เช่น ลืมวันเกิดตัวเอง วันเกิดลูก วันเกิดภรรยา วันครบรอบแต่งงาน ไม่ใช่ว่าจำไม่ได้นะครับ แต่คุณแค่อาจจะลืมไปเท่านั้นเอง
  • มักใช้เวลาทำงานมากกว่าที่ตั้งใจไว้ ไม่ใช่เพราะว่าคุณทำงานช้าลงนะครับ แต่อาจจะเป็นสภาวะที่เรียกว่า “ติดลม” เช่น คิดว่าจะนั่งวางแผนงานเรื่องนี้สัก 1 ชั่วโมงก่อนนอน ทำไปทำมา ยาวไปถึงเช้า

สุขภาพแย่ลง


เมื่อร่างกายขาดการพักผ่อน ขาดการออกกำลังกาย ทั้งยังผสมกับความเครียดที่เพิ่มขึ้นโดยที่คุณอาจจะไม่รู้ตัว ร่างกายของคุณก็จะเริ่มแสดงอาการเตือนให้คุณรู้ตัวครับว่า ใช้งานผมหนักเกินไปแล้ว เช่น ปวดหลัง ปวดตา ปวดไหล่ เป็นไมเกรน โรคกระเพาะอาหาร

สุขภาพทางการเงินแย่ลง


ผู้ประกอบการหลายคนที่จ้องแต่จะสร้างธุรกิจ มองแต่ผลตอบแทนที่ธุรกิจจะทำได้ในอนาคต จนไม่สนใจถึงจำนวนเงินลงทุนที่ต้องใช้ บางคนนำเงินออมมาลงทุนจนไม่ได้สนใจถึงชีวิตส่วนตัวในอนาคต หลายคนกู้เงินมาลงทุนจนไม่สามารถจะชำระคืนได้
ลองสังเกตพฤติกรรมของคนใกล้ตัวของคุณด้วยนะครับว่า เขากำลังเสพติดการเป็นผู้ประกอบการอยู่หรือเปล่า จะได้ช่วยกันเตือนให้รู้ตัว และทำการบำบัดกันแต่เนิ่น ๆ หรือหากคุณเองที่เป็นผู้ประกอบการ ก็ลองสังเกตดูว่า มีคนรอบข้างเริ่มเตือนให้คุณทำงานน้อยลงบ้างหรือยัง มาปรับ Work-Life Balance ของคุณเพื่อสมดุลชีวิตที่ดีขึ้นนะครับ
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2564 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow