Work-Life Balance ปรับแนวคิดเพื่อสมดุลชีวิตกับการทำงาน (ตอนที่ 1)

Work-Life Balance ปรับแนวคิดเพื่อสมดุลชีวิตกับการทำงาน (ตอนที่ 1)

By Krungsri Guru

หากเราแบ่งกิจกรรมหลัก ๆ ในชีวิตออกเป็นสองด้าน

  • หนึ่ง ชีวิตในด้านของการทำงาน ได้แก่ หน้าที่การงาน ความปรารถนา จุดมุ่งหมายในชีวิต
  • และสอง ด้านชีวิตส่วนตัว อันได้แก่ เวลาที่ใช้กับครอบครัว สุขภาพ ความบันเทิง เวลาว่าง
การให้ความสำคัญกับชีวิตด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไปอาจก่อให้เกิดความเครียดโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็นความเครียดจากการทำงานหนักเกินไป สุขภาพที่ถดถอย ความท้อแท้จากการไม่มีจุดมุ่งหมายในชีวิต หรือการขาดความก้าวหน้า หากคุณรู้สึกว่า ชีวิตยังขาดด้านใดด้านหนึ่ง ก็พอจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงชีวิตที่ขาดสมดุล วันนี้เรามีวิธีสร้างความสมดุลของชีวิตและการทำงานมาฝากกันครับ

1. รู้ลำดับความสำคัญในชีวิต

เพื่อที่จะใช้เป็นหลักเมื่อต้องตัดสินใจว่าควรจะทำอะไรก่อนหลัง เช่น บางคนอาจให้ความสำคัญกับงานมากกว่าครอบครัว ในขณะที่บางคนให้ความสำคัญกับครอบครัวมากกว่างาน

2. กำหนดเป้าหมายในชีวิต

ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงาน หรือด้านชีวิตส่วนตัวเพื่อไม่ให้เราเผลอใช้ชีวิตอย่างเลื่อนลอยจนเกินไป รวมทั้งวางแผนดูว่า เรามีขั้นตอนอย่างไรที่จะทำให้ถึงเป้าหมาย เช่น ตั้งใจทำธุรกิจขายของเล่นออนไลน์ โดยจะทำเว็บไซต์ และมีสินค้าลงขายชิ้นแรกให้ได้ภายใน 3 เดือน หรือตั้งใจว่าจะลดน้ำหนักให้ได้เดือนละ 1 กิโลกรัมเป็นระยะเวลา 6 เดือนเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น ลองอ่านบทความ การสร้างรายได้ทางอ้อมในยุคดิจิทัล เพิ่มเติมได้ครับ

3. ในด้านชีวิตการทำงาน ควรพูดคุยเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบกับเจ้านาย

รวมถึงเป้าหมายที่ต้องการจะทำให้สำเร็จในระหว่างปี ทั้งนี้ เพื่อความชัดเจนของการประเมินผลงาน หากมีความจำเป็นทางด้านครอบครัวที่อาจมีผลต่อการทำงาน ก็ควรชี้แจงล่วงหน้าและหาข้อตกลงร่วมกัน เช่น หากงานที่ทำมีความยืดหยุ่นในเวลาทำงาน เราอาจเสนอขอ work from home สำหรับบางวันในหนึ่งสัปดาห์ เป็นต้น

4. กำหนดเวลาสำหรับชีวิตส่วนตัวลงในตารางประจำวันด้วย

หลาย ๆ คนเห็นว่ากิจกรรมในครอบครัวเป็นสิ่งที่ “ไว้ค่อยทำวันหลังก็ได้” หลายครั้งจึงตัดสินใจผิดนัดการรับประทานอาหารกับที่บ้าน เพราะมีงานเร่งด่วนเข้ามา หรือแม้แต่เลื่อนทริปกับครอบครัวออกไป เพราะมีเจ้านายมาเยี่ยมจากต่างประเทศโดยไม่ได้บอกล่วงหน้า การผิดนัดนอกจากจะทำให้เกิดความรู้สึกไม่ดีกับคนในครอบครัวแล้ว เราเองก็ทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะรู้สึกกังวลตลอดเวลา สุดท้ายแล้วก็ไม่ได้ผลลัพธ์ที่ดีสักอย่าง ดังนั้นในกรณีนอกเวลางาน หรือได้มีการขอลางานล่วงหน้าไว้แล้ว หากมีงานเข้ามากะทันหัน อย่ารู้สึกผิดที่จะปฏิเสธ และอย่ากลัวที่จะถูกมองว่าไม่ทุ่มเทให้กับงาน เพราะทุกคนต่างต้องมีชีวิตส่วนตัวกันทั้งนั้น หากเราไม่ได้เบียดบังเวลางาน เราก็ไม่ควรให้งานมาเบียดบังเวลาส่วนตัวของเรา และเช่นเดียวกัน หากเราที่เป็นเจ้านายมีงานเร่งด่วนให้ลูกน้องที่อยู่ในช่วงวันลาทำ เราก็ควรให้ความเคารพกับเวลาส่วนตัวของเขาเหมือนกัน

5. เลิกงานแล้วก็ควรปล่อยวางจากงาน

บางคนนั่งเช็คอีเมลบริษัทตลอดเวลาแม้แต่นอกเวลางาน จนเลิกงานก็เอางานกลับไปที่บ้าน หลายครั้งที่เราต้องการแค่เปิดอีเมลมาดูเล่น ๆ แต่เนื้อหาในอีเมล กลับทำให้เราต้องมานอนคิดงานต่อ หรือแม้แต่ต้องเปิดคอมพิวเตอร์มานั่งทำงานกะดึก อย่างนี้เรียกว่าเแยกตัวเองออกจากงานไม่ได้ ลองฝึกดูนะครับ จบเวลางาน คือ จบ
ในตอนต่อไป ผมจะขอพูดถึงแนวคิดอีก 5 ข้อ ซึ่งผมอยากให้ผู้อ่านนำมาปรับใช้เพื่อชั่งน้ำหนักความสมดุลของการทำงาน และการใช้ชีวิต
เพราะในหนึ่งวันมีเวลาจำกัดเพียง 24 ชั่วโมง ทุก ๆ อย่างที่เราคิดจะใช้เวลาไปกับมัน จึงควรเป็นสิ่งที่เราตัดสินใจแล้วว่าเป็นสิ่งสำคัญ ถึงแม้ว่ามันจะมีสาระหรือไม่มีสาระบ้างก็ตาม วันนี้ลองหันกลับมามองดูตัวเองกันครับว่า เราจัดสมดุลระหว่างชีวิตการทำงาน และชีวิตส่วนตัวได้ดีแค่ไหน และที่สำคัญ เรามีความสุขกับชีวิตที่เป็นอยู่แล้วหรือยัง
ขอบคุณข้อมูลจาก: -
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Follow us on
ลงทะเบียนรับข่าวสาร
บริการส่งข้อมูลความรู้ ให้ลูกค้าธุรกิจผ่านอีเมล์
บริการจัดส่งบทวิเคราะห์และข้อมูลข่าวสารทางธุรกิจผ่านทาง E-mail
  • บทวิเคราะห์เศรษฐกิจรายสัปดาห์จากศูนย์วิจัยกรุงศรี
  • ผลการสำรวจดัชนีภาวะธุรกิจ SME รายไตรมาส โดยกรุงศรี
  • ข่าวสาร และกิจกรรมของธนาคาร
  • บริการทางการเงิน และโปรโมชั่นใหม่ๆ ของธนาคาร
Powered by
© 2567 ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
Follow